ที่มาของ บุญข้าวจี่


บุญข้าวจี่
ทำบุญข้าวจี่   วันเพ็ญเดือน ๓ เป็น วันมาฆบูชา  
รุ่งขึ้นวันแรม๑ ค่ำก็ถวายข้าวจี่ เรียกว่าวันทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชานั่นเอง

ข้าวจี่คือเอา ข้าวเหนียว ปั้นเป็นก้อนเอาไม้เสียบย่างไฟเหมือนไก่ย่าง
เมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ซึ่งตีไว้แล้วทาแล้วย่างซ้ำอีกกลายเป็นไข่เคลือบข้าวเหนียว
เสร็จแล้วถอดไม้ออกแล้วเอาน้ำอ้อยหรือน้ำตาลที่เป็นก้อนยัดใส่แทนกลายเป็นข้าวเหนียวยัดไส้
แล้วถวายพระเณรฉันตอนเช้า ส่วนมากชาวบ้านจะรีบทำแต่เช้ามืด

ภาพวาด วิถีชีวิตการทำบุญของชาวชนบท

พอสว่างก็ลง ศาลาการเปรียญ  ( ชาวบ้านเรียกหัวแจก) นิมนต์พระเณรสวดแล้วฉัน
เป็นทั้งงานบุญและงานรื่นเริงประจำแต่ละหมู่บ้าน เพราะได้ทำข้าวจี่ไปถวายพระ
หลังจากพระฉันแล้วก็เลี้ยงกันเองสนุกสนาน มีคำพังเพยอีสานว่า

" เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นเข้าจี่ เข้าจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจัวน้อยเช็ดน้ำตา"

เดือนนี้ชาวนาส่วนใหญ่ถือกันตั้งแต่โบราณมาว่าเป็นเดือนสู่ขวัญข้าว
คือมีการถวาย ข้าวเปลือก พระและนิยมทำบุญบ้าน สวดมนต์เสร็จพิธีสงฆ์ แล้วก็สู่ขวัญข้าว
ตามธรรมเนียม พราหมณ์   บางบ้านก็ทำเล็กน้อยพอเป็นพิธี คือเอาข้าวไปถวายสงฆ์แล้วทำพิธีตุ้มปากเล้า
เล็กน้อยเป็นการบูชาคุณของข้าวในเล้าหรือยุ้ง

" เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันทำเข้าจี่ ไปถวายสงฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ"

ทั้งนี้ประเพณีบุญข้าวจี่จัดขึ้นโดยทั่วไปในภาคอีสาน
โดยเฉพาะบริเวณแถบ อ.พังโคน และ อ.สว่างแดนดิน   จังหวัดสกลนคร  
โดยจะมีการทำบุญและกิจกรรมการละเล่นต่างๆในงาน


ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/ บุญข้าวจี่