ประเพณีก่อเจดีย์ทราย
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย เป็นประเพณีสำคัญประเพณีหนึ่ง
ในช่วงเทศกาลของ ชาวไทย ประเพณีนี้มีที่มาจากหลักฐานใน พระไตรปิฎก
ที่กล่าวพรรณาถึงอานิสงส์ที่พระโพธิสัตว์ก่อพระเจดีย์ทรายเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
ในประเทศไทยนั้น ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายถือว่าเป็นประเพณีหนึ่ง
ที่มีที่มาเกี่ยวข้องกับ พระพุทธศาสนา โดยตรง โดยคนไทยผูกโยงประเพณีนี้
เข้ากับคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนา มีการก่อพระเจดีย์ทรายถวายวัด
งานศิลปะที่แสดงถึง ประเพณีขนทรายเข้าวัด |
เพื่อนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไปมาคืนวัดในรูปพระเจดีย์ทราย
และเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์ และนอกจากประเพณีเพื่อเป็นพุทธบูชาแล้ว
ยังเป็นกุศโลบายของคนในอดีตให้มีการรวมตัวของคนในชุมชน
เพื่อร่วมกันจัดประเพณีรื่นเริงเป็นการสังสรรค์สร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย
ปัจจุบันประเพณีนี้พบเพียงในประเทศไทยและ ลาว เท่านั้น
โดยจัดในช่วงเทศกาลสำคัญเป็นการเฉลิมฉลองการเปลี่ยนศักราช
เช่นในวันตรุษและ วันสงกรานต์ เป็นต้น โดยในบางหมู่บ้านอาจเป็นประเพณีบุญคูนลาน
บุญขวัญข้าว (ก่อเจดีย์ข้าวถวายเป็นพุทธบูชา)
ก็อาจนับว่าเป็นประเพณีก่อเจดีย์ทรายได้เช่นเดียวกัน
เพราะไม่ได้สร้างเป็นพุทธศาสนสถานถาวรวัตถุใหญ่โต แต่เป็นเพียงเจดีย์ชั่วคราว
เพื่อมุ่งถวายเป็นพุทธบูชาในการประเพณีหนึ่ง ๆ เท่านั้น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
http://th.wikipedia.org/wiki/ ประเพณีก่อเจดีย์ทราย
|