ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างไร?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมกลืนกินซึ่งอาหาร
มิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อจะมัวเมา
มิใช่เพื่อประเทืองผิวมิใช่เพื่อจะตกแต่ง
เพียงเพื่อร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้
เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปเพื่อกำจัดความลำบาก
เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยหวังว่า
จักกำจัดเวทนาเก่าและจักไม่ยังเวทนาใหม่ให้บังเกิดขึ้น
ความเป็นไป ความที่ร่างกายไม่มีโทษ
และความอยู่สำราญจักมีแก่เรา ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างไร?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมชำระจิต ให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้น
ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเครื่องกั้น
ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง
ตลอดปฐมยามแห่งราตรี
ย่อมสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า
มีสติสัมปชัญญะ มนสิการความสำคัญในอันจะลุกขึ้น
ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
ลุกขึ้นแล้ว
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเครื่องกั้น
ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง
ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
ภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเสื่อมรอบ
ชื่อว่า ย่อมประพฤติใกล้นิพพานทีเดียว ฯ
ภิกษุผู้ดำรงอยู่ในศีล
สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ
และย่อมประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องตื่นอยู่
ภิกษุผู้มีปรกติพากเพียรอยู่อย่างนี้
ไม่เกียจคร้านตลอดวันและคืน
บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อถึงความเกษมจากโยคะ
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาทหรือ มีปรกติเห็นภัยในความประมาท
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม
ชื่อว่าประพฤติใกล้ นิพพานทีเดียว ฯ
จบสูตร |