ตัณหาสูตร
[ ๖๒ ] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เงื่อนต้นแห่งภวตัณหา ย่อมไม่ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้
ภวตัณหาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี
เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำอย่างนี้ว่า
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ภวตัณหา มีข้อนี้เป็นปัจจัย จึงปรากฏ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมกล่าว ภวตัณหา ว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไร เป็นอาหาร ของภวตัณหา ควรกล่าวว่า อวิชชา
แม้อวิชชา เราก็กล่าว ว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไร เป็นอาหารของ อวิชชา ควรกล่าวว่านิวรณ์ ๕
แม้นิวรณ์ ๕ เรา ก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไร เป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓
แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไร เป็นอาหารของทุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์
|
|
|
|
แม้การไม่สำรวม อินทรีย์
เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไร เป็นอาหารของการ ไม่สำรวมอินทรีย์
ควรกล่าวว่า ความไม่มีสติ สัมปชัญญะ
แม้ความ ไม่มีสติ สัมปชัญญะ
เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไร เป็นอาหารของ ความไม่มีสติ สัมปชัญญะ
ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจ โดยไม่แยบคาย
แม้การทำไว้ในใจ โดยไม่แยบคาย
เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไร เป็นอาหาร ของการทำไว้ในใจ โดยไม่แยบคาย
ควรกล่าวว่า ความไม่มีศรัทธา
แม้ความไม่มีศรัทธา
เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรกล่าวว่า การไม่ฟังสัทธรรม
แม้การไม่ฟังสัทธรรม
เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไร เป็นอาหาร ของการไม่ฟังสัทธรรม
ควรกล่าวว่า การไม่คบสัตบุรุษ
|
|
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ดังนี้
การไม่คบสัตบุรุษ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรม ให้บริบูรณ์
การไม่ฟังสัทธรรม ที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธา ให้บริบูรณ์
ความไม่มีศรัทธา ที่บริบูรณ์
ย่อมยัง การทำไว้ในใจ โดยไม่แยบคาย ให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจ โดยไม่แยบคาย ที่บริบูรณ์
ย่อมยังความ ไม่มีสติ สัมปชัญญะ ให้บริบูรณ์
ความไม่มีสติ สัมปชัญญะ ที่บริบูรณ์
ย่อมยัง การไม่สำรวมอินทรีย์ ให้บริบูรณ์
การไม่สำรวมอินทรีย์ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์
นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชา ให้บริบูรณ์
อวิชชา ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง ภวตัณหา ให้บริบูรณ์
ภวตัณหานี้ มีอาหารอย่างนี้ และ บริบูรณ์อย่างนี้ ฯ
|
|
|
|
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือน เมื่อฝนเม็ดหยาบตกลง เบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆอยู่ น้ำนั้น ไหลไปตามที่ลุ่ม
ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม
ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม
ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อมยังบึง ให้เต็ม
บึงที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำน้อย ให้เต็ม
แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ ให้เต็ม
แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาคร ให้เต็ม
มหาสมุทรสาครนี้ มีอาหาร อย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่คบสัตบุรุษ ที่บริบูรณ์
ย่อมยัง การไม่ฟังสัทธรรม ให้บริบูรณ์ ...
...อวิชชา ที่บริบูรณ์ ย่อมยังภวตัณหาให้บริบูรณ์
ภวตัณหานี้ มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
|
|
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าววิชชา และ วิมุตติ ว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไร เป็นอาหารของวิชชา และ วิมุตติ
ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗
แม้โพชฌงค์ ๗
เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไร เป็นอาหาร ของโพชฌงค์ ๗
ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔
แม้สติปัฏฐาน ๔
เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไร เป็นอาหาร ของสติปัฏฐาน ๔
ควรกล่าวว่า สุจริต ๓
แม้สุจริต ๓
เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไร เป็นอาหารของสุจริต ๓
ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์
แม้การสำรวมอินทรีย์
เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไร เป็นอาหาร ของการสำรวมอินทรีย์
ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ
แม้สติสัมปชัญญะ
เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไร เป็นอาหารของ สติสัมปชัญญะ
ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
แม้การทำไว้ในใจ โดยแยบคาย
เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไร เป็นอาหาร ของการทำไว้ ในใจโดยแยบคาย
ควรกล่าวว่า ศรัทธา
แม้ศรัทธา
เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไร เป็นอาหาร ของศรัทธา
ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม
แม้การฟังสัทธรรม
เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไร เป็นอาหาร ของการฟังสัทธรรม
ควรกล่าวว่า การคบหาสัปบุรุษ
|
|
|
|
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้
การคบสัปบุรุษ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังการฟังสัทธรรม ให้บริบูรณ์
การฟังสัทธรรม ที่บริบูรณ์
ย่อมยังการทำไว้ ในใจโดยแยบคาย ให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ที่บริบูรณ์
ย่อมยัง สติ สัมปชัญญะ ให้บริบูรณ์
สติสัมปชัญญะ ที่บริบูรณ์
ย่อมยัง การสำรวมอินทรีย์ ให้บริบูรณ์
การสำรวมอินทรีย์ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังสติ ปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชา และ วิมุตติให้บริบูรณ์
วิชชา และ วิมุตตินี้ มีอาหารอย่างนี้ และ บริบูรณ์ อย่างนี้ ฯ
|
|
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือน เมื่อฝนเม็ดหยาบ ตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม
ย่อมยังซอกเขา ลำธาร และ ห้วยให้เต็ม
ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนอง ให้เต็ม
หนองที่เต็ม ย่อมยังบึง ให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อย ให้เต็ม
แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ ให้เต็ม
แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาคร ให้เต็ม
มหาสมุทรสาครนี้ มีอาหารอย่างนี้ และ เต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์
ย่อมยังการฟังสัทธรรม ให้บริบูรณ์ ... โพชฌงค์ ๗ที่บริบูรณ์
ย่อมยังวิชชา และ วิมุตติให้บริบูรณ์
วิชชา และ วิมุตตินี้ มีอาหารอย่างนี้
และ บริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้น เหมือนกันแล ฯ
จบสูตร |
|
|
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก- เอกาทสกนิบาต
หน้าที่ ๑๐๕/ ๓๓๓ หัวข้อที่ ๖๒
|
|