งานทำบุญบ้าน
คุณอุมิยา พงษานุกุลเวช ภูเก็ต


อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก
อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 83110
ภูเก็ต ถือเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองภูเก็ตชีวประวัติของท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร สองวีรสตรีเมืองถลาง ได้มีการบันทึก และเล่าสืบต่อกันมา ในสมัยตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างทัพของท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร ที่นำบรรพชนผู้กล้าออกมาร่วมกันปกป้องเมืองถลางจากทัพพม่า จนได้รับชัยชนะไว้ให้อนุชนรุ่นหลังสืบมาจนถึงทุกวันนี้ พื้นที่สมรภูมิสงครามนี้ในอดีตคนภูเก็ตเรียกกันว่า โคกชนะพม่า บ้างก็เรียกว่า ทุ่งถลางชนะศึก แต่ต่อมาจังหวัดได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “อนุสรณ์สถานเมืองถลาง”


วัดม่วงโกมารภัจจ์
หมู่บ้านเหรียง ตำบล/แขวงเทพกระษัตรี อำเภอ/เขตถลาง ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 83110
วัดม่วงโกมารภัจจ์ เป็นวัดร้างอยู่ในความดูแลของวัดพระนางสร้าง มีพระพุทธรูปปูนปั้นครึ่งท่อนเศียรชำรุด ชาวบ้านเชื่อว่าวิญญาณของพระภิกษุ สมัยราชกาลที่ 5 ซึ่งมามรณะภาพที่วัดแห่งนี้ยังคงสถิตคอยดูแลปกป้องวัด และมีวิญญาณของหลวงปู่ทอง สถิตอยู่ที่พระพุทธรูปครึ่งองค์ ใกล้พระพุทธรูปเคยมีต้นทึงและต้นทัง ซึ่งลายแทงวัดม่วงโกมารภัจจ์กล่าวถึงมีความว่า “ระหว่างต้นทึงต้นทัง เป็นที่ฝังสมบัติ”
ชาวบ้านยังเชื่ออีกว่า วัดม่วงโกมารภัจจ์เคยเป็นวัดก่อนสมัยท้าวเทพกระษัตรี (ท่านผู้หญิงจัน) และท้าวศรีสุนทร (คุณมุก) ก่อนสงครามศึกถลาง พ.ศ. 2328 เจ้าเมืองถลางได้ใช้ลานวัดม่วงโกมารภัจจ์ เป็นสถานที่ฝึกซ้อมทหาร ฝึกการเคี่ยวน้ำมัน ลงยันต์ทหาร ฝึกซ้อมรำกริช ฝึกผสมดินปืน มีบ่อน้ำ 2 บ่อ บ่อหนึ่งแช่ว่านยาสมุนไพรให้ทหารอาบน้ำเพื่อการอยู่ยงคงกระพัน วัดม่วงโกมารภัจจ์จึงถือเป็นวัดที่มีความสำคัญและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดภูเก็ต


วัดพระทอง (วัดพระผุด) จังหวัดภูเก็ต
วัดพระทอง ( วัดพระผุด ) อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 20 กิโลเมตร จากตัวเมืองภูเก็ตเลยที่ว่าการอำเภอถลาง ไปเล็กน้อยจะมีทางแยกขวามือเข้าวัดพระทอง วัดนี้มีพระพุทธรูปผุด ขึ้นจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ เมื่อคราวศึกพระเจ้าปะดุง ยกพลมาตีเมืองถลาง พ.ศ. 2328 ทหารพม่าพยายามขุด พระผุดเพื่อนำกลับไปพม่า แต่ขุดลงไปคราวใด ก็มีฝูงแตนไล่ต่อย จนต้องละความพยายาม ต่อมาชาวบ้าน ได้นำทองหุ้มพระพุทธรูป ที่ผุดจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ ดังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน ตำนาน สมัยก่อน มีเด็กผู้ชายคนนึง จูงควายไปกลางทุ่ง ตามคำสั่งพ่อแม่ ไปเจอกับหลักอยู่หลักหนึ่ง โดยหารู้ไม่ว่า เป็นหลักอะไร แต่ก็นำควายมา ผูกไว้กับหลักนั้น และไปวิ่งเล่นตามประสา ตกเย็นกลับถึงบ้าน เด็กก็ล้มเจ็บไข้และตายไป ส่วนควายก็ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ พ่อของเด็กฝันถึงสาเหตุที่ลูกชายและควายตาย เพราะลูกชายไปผูกเชือกล่ามควายไว้กับพระเกตุมาลา รุ่งขึ้นจึงไปดู ก็ตรงกับที่ฝัน เจ้าเมืองถลางสั่งให้ขุด แต่เกิดความมหัศจรรย์ มีตัวต่อแตนออกมาอาละวาด เจ้าเมืองจึงสั่งให้ทำหลังคา กันแดดและฝน ประชาชนเรียกว่า " พระผุด"


สำนักสงฆ์บนเกาะแก้วพิสดารภูเก็ต  
  “ เกาะแก้วพิสดาร ”   เป็นเกาะเล็กๆ ที่อยู่ทางใต้ของเกาะภูเก็ต ตรงข้ามกับแหลมพรหมเทพ อยู่ห่างจากแหลมพรหมเทพ ประมาณ 3 กิโลเมตรเท่านั้น อยู่ที่พื้นที่หมู่ที่ 2 ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์เกาะแก้วพิสดาร การเดินทางไปยังเกาะแก้วพิสดารสามารถเดินทางไปได้ง่าย โดยขึ้นเรือหางยาวที่บริเวณท่าเรือหาดราไวย์ ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 5-10นาที ค่าโดยสารเป็นแบบเช่าเหมาลำราคาประมาณ 700-800บาท (ราคาต่อรองได้ หากไปไหว้พระ)   “ เกาะแก้วพิสดาร ”  มีหาดทรายและธรรมชาติใต้น้ำสวยงามมากบนเกาะมีรอยพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานอยู่ด้วย

สะพานสารสิน  เป็น สะพาน ที่เชื่อมระหว่าง จังหวัดพังงา กับ จังหวัดภูเก็ต  เป็นสะพานแรกที่มีการสร้างเพื่อข้ามจากจังหวัดพังงาไปภูเก็ต เชื่อมต่อ ระหว่างบ้านท่าฉัตรไชยและบ้านท่านุ่นของจังหวัด พังงา โดย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402  มีความยาวทั้งหมด 660 เมตร เปิดใช้เมื่อ  7 กรกฎาคม  พ.ศ. 2510

สะพานแห่งนี้ตั้งชื่อตาม นามสกุล ของ นาย พจน์ สารสิน  ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ  เริ่มสร้างครั้งแรกตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2494  โดยเปิดให้บริษัทรับเหมาก่อสร้าง แต่ปรากฏว่าการก่อสร้างในระยะเริ่มต้นมีปัญหาเพราะความไม่ชำนาญการ ต่อมาในปี  พ.ศ. 2508  จึงได้เริ่มลงมือก่อสร้างอีกครั้งโดยบริษัท Cristiani & Nelson (Thailand) Ltd. จนสำเร็จสามารถเปิดใช้การได้ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 ใช้งบประมาณทั้งหมด 28,770,000 บาท

สะพานสารสิน มีความยาวทั้งหมด 660 เมตรเป็นทางผิวคอนกรีต 360 เมตร ตัวสะพานคอนกรีตอัดแรงยาว 300 เมตร กว้าง 11 เมตร เป็นทางรถวิ่งกว้าง 8 เมตร ทางเท้าข้างละ 1.5 เมตร รับผิดชอบดูแลโดย  กรมทางหลวง  กระทรวงคมนาคม


“วัดมหาธาตุวชิรมงคล” งามตระการตา มิ่งมงคลคู่ จ.กระบี่ ใต้พระบารมี “ในหลวง ร.๑๐”
วัดมหาธาตุวชิรมงคล ตั้งอยู่ที่บ้านบางโทง ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2483 ในที่ดินบริจาคของนายเปล้า ทองศิริ นายมั่น เพ่งกิจ และนายน่วม ดำพันธ์ บนพื้นที่กว่า 100 ไร่ บริเวณรอบวัดเป็นสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของกระบี่

วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร   หรือ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
ตั้งอยู่   ถนนราชดำเนิน   ตำบลในเมือง   อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช   จังหวัดนครศรีธรรมราช
  เป็น พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร

สวนโมกขพลาราม  หรือชื่อเรียกทางการว่า  วัดธารน้ำไหล 
จัดตั้งโดย  พุทธทาสภิกขุ  ตั้งที่เขาพุทธทอง ริมทางหลวงหมายเลข 41
บริเวณกิโลเมตรที่ 134  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  เพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก
  ปัจจุบันมี  พระภาวนาโพธิคุณ(โพธิ์ จนฺทสโร)  เป็นเจ้าอาวาส

วัดเทสก์ธรรมนาวา หรือ วัดท่าไทร
ตั้งอยู่ที่บ้านท่าแตง ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา
เป็นวัดที่โดดเด่นด้วยอุโบสถ ไม้สักหลังงาม ริมทะเล
บริเวณหาดชายทะเลท่าไทรท่ามกลางป่าสนชายฝั่งทะเลในบรรยากาศร่มรื่น


อุมิยา พงษานุกุลเวช