ประวัติวัดป่ามหาชัย  

ภาพประกอบ หนองดินดับ หรือ หนองขี้หมาจอก
    ประวัดป่ามหาชัย (โดยสังเขป)
    บริเวณที่สร้างวัดป่าแห่งนี้ แต่ก่อนเป็นป่ารกรัฏ ไม่มีถนนตัดผ่าน มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่ง
ชาวบ้านเรียกว่า “หนองดินดับ” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “หนองขี้หมาจอก”
เพราะมีสุนัขจิ้งจอกอาศัยอยู่มาก เป็นสถานที่น่ากลัว แม้แต่ตอนกลางวัน
ชาวบ้านก็ไม่กล้าเข้ามาในสถานที่หนองน้ำนี้มากนัก หนองน้ำนี้
มีบริเวณกว้างเป็นปริมณฑล มีน้ำตลอดปีแต่ไม่ลึก

      หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า ในขณะดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลมหาชัย
และเป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัยอยู่นั้น เมื่อไปประชุมด้วยกิจของคณะสงฆ์ที่ตัวอำเภอ
จะต้องเดินผ่านไปเพราะไม่มีทางรถ ในการเดินไปประชุมที่อำเภอปลาปากนั้น
จะต้องเดินผ่านบริเวณหนองขี้หมาจอกนี้ทุกครั้ง เมื่อเดินมาถึงบริเวณนี้ครั้งใด
จิตหลวงปู่ก็จะแวะชมสถานที่แห่งนี้ทุกครั้ง และมีความรู้สึกแช่มชื่นบากเบินใจตลอดทุกครั้ง
เหมือนกับว่าสถานที่แห่งนี้จะเป็นที่กำเนิดพระอริยสงฆ์

วัดป่ามหาชัย
หลายเดือนผ่านมา หลวงปู่ได้บอกให้ลูกศิษย์ของท่าน
ที่เป็นพระภิกษุสามเณรและฆราวาสให้ไปลองนั่งสมาธิบริเวณนั้นดู
พอลูกศิษย์ทั้งหลายไปถึงที่นั้น ขณะที่พระอาทิตย์กำลังจะตกดิน
พวกลูกศิษย์ก็ได้พบงูใหญ่สีดำตัวหนึ่ง ขณะเลื้อยขึ้นจากหนองน้ำนั้น
แล้วก็เลื้อยเข้าป่าทางทิศตะวันออก

    พอรุ่งเช้า ลูกศิษย์ทั้งหลาย ก็พากันกลับวัดเล่าเรื่องงูใหญ่สีดำให้หลวงปู่ฟัง

หลวงปู่ได้เกิดความรู้สึกว่า สถานที่แห่งนี้เคยเป็นสถานที่พญานาคเคยอยู่อาศัย
จึงคิดจะสร้างวัดขึ้นมา
  
     วันต่อมา หลวงปู่ได้สอบถามชาวบ้านถึงที่ดินบริเวณนี้
ก็ได้ทราบว่าเป็นที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ของชาวบ้านวังม่วง
หลวงปู่ได้ให้โยมไปเชิญผู้ใหญ่บ้านวังม่วงมาพบ เพื่อปรารภเรื่องที่ดิน
ที่จะสร้างวัด โยมผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านวังม่วงเห็นสมควรด้วย
ก็เลยอนุโมทนายกที่ดินผืนนี้ให้กับหลวงปู่สร้างวัดขึ้นมา

     ได้นำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมสภาตำบลโดยกำหนดบริเวณวัดเป็นเนื้อที่ ๔๗ ไร่ (ปัจจุบัน ๘๐ไร่)
่และมีมติกันว่า ให้ชาวบ้านทุกหมู่บ้านในตำบลมหาชัย สร้างกุฏิถวายหมู่บ้านละ ๑ หลัง
มติที่ประชุมลงวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๗ และกุฏิหลังแรกที่สร้างขึ้น
วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๗ โดยคณะศรัทธาชาวบ้านถาวร โดยการนำของนายคันธนา อินราช
ตั้งชื่อกุฏิหลังนี้ว่า “กุฏิถาวรราษฎร์เนรมิต” เพราะสร้างเสร็จภายในวันเดียว

      ต่อจากนั้นกุฏิแต่ละหมู่บ้านต่างๆที่อยู่ในเขตตำบลมหาชัยบ้านมหาชัยบ้านดอนกลาง
บ้านทันสมัยบ้านวังม่วงบ้านหนองบัวบ้านห้วยไหล่ได้สร้างถวายหลวงปู่จนครบทุกหมู่บ้าน
ต่อมามีญาติโยมจากหมู่บ้านต่างๆก็ได้มาสร้างกุฏิถวาย
    หลวงปู่ได้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดป่าอรัญญคาม” ซึ่งแปลว่า “วัดที่มีหมู่บ้านและป่าล้อมรอบ”
คือวัดแห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างกลางแต่ละหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านห่างจากวัดประมาณ ๓ กิโลเมตร
    เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ หลวงปู่ได้นำพาศิษยานุศิษย์ ทั้งบรรพชิตและฆราวาส ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน
โดยกำหนดเอา ขึ้น ๑๐ ค่ำเดือน ๒ ของทุกปี รวมเวลา ๑๕ คืน ๑๕ วัน

    หลักปฏิบัติกรรมฐาน ยึดตามแนว หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
คือ กำหนด ภาวนา พุทโธ  มีพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบสิกา ในเขตตำบลมหาชัย
เข้าร่วมปฏิบัติธรรม เมื่อคนมาปฏิบัติธรรม เห็นผลแห่งการปฏิบัติ ก็บอกต่อไปกันไป
ในปีต่อมา ก็มีพระภิกษุสามเณร อุบาสก-อุบาสิกา ในเขตอำเภอ ในจังหวัด
ต่างจังหวัด ทั่วประเทศ
     หลวงปู่ได้สร้างแนวคิดแนวทางปฏิบัติแก่พระสงฆ์ในจังหวัดนครพนม
เริ่มมีการจัดการปฏิบัติธรรมในหลายที่และคนก็สนใจการปฏิบัติธรรมมากขึ้นตามลำดับ

   จาริกเผยแผ่ธรรมนำปฏิบัติ 
     หลวงปู่ได้พาศิษยานุศิษย์ จัดปฏิบัติธรรมสัญจรหลายที่
เช่น วัดสร้างพระอินทร์ อำเภอนาแก, ป่าช้าบ้านพุ่มแก อำเภอนาแก,
วัดโฆสมังคลาราม ตำบลโคกสว่าง อำเภอปลาปาก

   เป็นพระอาจารย์ใหญ่สายกรรมฐาน
     หลายวัดเริ่มมีการจัดงานปฏิบัติธรรมกรรมฐานขึ้น และได้นิมนต์
หลวงปู่ไปบรรยายธรรม สอนกรรมฐาน     

     เมื่อวันที่ ๑๕ เดือน กันยายน พ.ศ.๒๕๓๗
หลวงปู่ได้ทำหนังสือขออนุญาตสร้างวัด ได้รับความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม
และกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนามีนามว่า “วัดป่ามหาชัย”
ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๘


ภาพงานปฏิบัติธรรม วัดป่ามหาชัย

งานปฏิบัติธรรม วัดป่ามหาชัย

พระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ)

 สร้างวัด เพื่อสร้างคน
   ประชาชนจำนวนมาก หลั่งไหลเข้าปฏิบัติธรรม จึงได้จัดวันนัดหมายของผู้ใผ่ธรรม
ให้เป็นที่รู้จักง่าย เป็นวันที่ ๑- ๑๐ มราคม ของทุกปี

  เมื่อมีผู้คนสนใจการปฏิบัติธรรมมากขึ้น สถานที่ไม่เพียงพอต่อนักปฏิบัติ
จึงสร้างศาลาปฏิบัติธรรมหลังใหม่ เรียกในปัจจุบัน ว่า "ศาลาอุโบสถ"
เพราะเป็นศาลาและอุโบสถในหลังเดียวกัน
ใช้เป็น ที่ฉันภัตตาหารพระภิกษุสามเณร ใช้ทำสังฆกรรม
เช่นการบวชพระ ฟังพระปฏิโมกข์ สวดญัตติกฐิน เป็นต้น
และใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมปฏิบัติธรรม

      ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๓๙
กว้าง ๒๑ เมตร ยาว ๒๖ เมตรบรรจุคนได้ ๓๐๐ คน

     มหาเถรสมาคม ประกาศให้ วัดป่ามหาชัย ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
เป็น"สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด(นครพนม)แห่งที่ ๒
และเมื่อวันที่ ๒๒ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๓


ภาพการก่อสร้างศาลาอุโบสถ วัดป่ามหาชัย
รอยจารึกแห่งความดี ปณิธานแห่งความจริง
    

นักปฏิบัติธรรม

ปฏิบัติธรรม วัดป่ามหาชัย

งานปฏิบัติธรรมวัดป่ามหาชัย
ลานธรรมชาติ
 ในขณะได้ทำการก่อสร้างศาลอุุโบสถ หลวงปู่ท่านก็ให้คณะศิษยานุศิษย์ ช่วยกันสร้าง
ลานธรรม ธรรมชาติ เพื่อใช้ปฏิบัติธรรม(ปัจจุบัน คือ สถานที่สร้างอัฐิธาตุเจดีย์)
๏ การมรณภาพ
พระเดชพระคุณพระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) ได้ละสังขารอย่างสงบในกุฏิจำพรรษา ด้วยโรคชราภาพ ประกอบกับมีโรคประจำตัวหลายอย่างแทรกซ้อน หลังจากอาพาธมานานหลายปี เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖ เวลาประมาณ ๐๑.๕๙ น. ณ วัดธาตุมหาชัย สิริรวมอายุได้ ๘๙ พรรษา ๕๙ สร้างความสลดโศกเศร้าให้แก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่ใกล้ชิด ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่เลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่เป็นอย่างยิ่ง วันนี้...หลวงปู่คำพันธ์ พันธุ์ไม้มีแก่นในตัว ไม่โอ้อวด ไม่ยึดติด ท่านสิ้นใจ แต่ไม่สิ้นธรรม

พระครูภาวนาสุตาภรณ์ (ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัย)
    ได้รับการพิจารณา จากคณะศิษยานุศิษย์หลวงปู่ เป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม
ทั้งปริยัติและปฏิบัติ ทั้งอายุ-พรรษา ทั้งได้เคยรับใช้งานหลวงปู่เช่น เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัย
เป็นผู้ช่วยพระอุปัชฌาย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เป็นครูสอนบาลี-นักธรรม
เป็นผู้สร้างชื่อเสียง เรื่องพระมหาเปรียญธรรม ให้แก่วัดธาตุมหาชัย

วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๗ เจ้าคณะจังหวัด มีคำสั่งแต่งตั้ง
    ให้ พระมหาประเทือง พุทธรักขิโต อายุ ๓๑ ปี ๑๑ พรรษา น.ธ.เอก ป.ธ.๓
เป็น เจ้าอาวาสวัดป่ามหาชัย เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด

(ประวัติพระครูภาวนาสุตาภรณ์)


ศาลาอุโบสถ วัดป่ามหาชัย
 วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๘
     ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานวิสุงคามสีมา
ประกาศพระราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ ๑๗ เดือน มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๘
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก. ชวลิต ยุงใจยุทธ รองนายยกรัฐมนตรี

วันที่ ๑๓ เดือน กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓
    ประกาศสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
คัดเลือก สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน ๘๓ วัด
วัดป่ามหาชัย เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ดีเด่น
เฉลิมพระเกียรติ ๘๓ พรรษา
ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๓

อัฐิธาตุเจดีย์ หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ ณ วัดป่ามหาชัย

อัฐิธาตุเจดีย์
 
 อนุสรณ์สถานที่ระลึกถึง คุณงามความดี
พระเดชพระคุณพระสุนทรธรรมากร(หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ)
ผู้ก่อตั้งวัดป่ามหาชัย
ผู้เป็นแบบอย่างแห่งแนวทางการปฏิบัติ

ไม้จันทร์แม้จะแห้งยังไม่สิ้นกลิ่น   คนดีตัวตายชื่อเสียงยังอยู่คู่โลกา


หมายเหตุ เนื้อหา ประวัติวัดป่ามหาชัย ส่วนหนึ่งได้จากคำบอกเล่าของหลวงปู่


ประวัติ พระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ)
วัดธาตุมหาชัย ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
รวบรวมโดย พระครูภาวนาสุตาภรณ์ เจ้าอาวาส วัดป่ามหาชัย
๑.ชาติกำเนิด ๔.กำเนิดวัดป่ามหาชัย ๗.สัจจะแห่งชีวิต ๑๐.นิมิตประหลาด ๑๓.ผจญภัย
๒.สร้างธาตุมหาชัย ๕.การเผยแผ่ ๘.ความพลัดพราก ๑๑.หลงในรู้ ๑๔.กำหนดรู้
๓.พระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ๖.ปริศนาธรรม ๙.ธรรมโอสถ ๑๒.ชื่อมหาชัย ๑๕.พระบรมครู



ธรรมะคำสอน หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
อารมณ์กรรมฐาน ทางเดินของจิต การแสวงหาตน นักปราชญ์ของจิต ทาง ๗ สาย ธรรมะของหลวงปู่(๒)
กายสังขาร-จิตสังขาร เบญจขันธ์เป็นของหนัก เหตุให้ถึงธรรม อนัตตาเบญจขันธ์ เกร็ดธรรมะ

ประวัติเจ้าอาวาสวัดป่ามหาชัย กุฏิหลังแรกของวัด ประวัติผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่ามหาชัย
ภาพงานปฏิบัติธรรม พิธีวางศิลาฤกษ์ศาลาอุโบสถ ภาพเก่าศาลากุฏิสงฆ์
พระราชทานวิสุงคามสีมา เอกสารการขอตั้งวัด ตราตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
สำนักปฏิบัติธรรมดีเด่น แผนที่ตั้งวัดป่ามหาชัย อบรมปฏิบัติธรรม
ศาลากลางน้ำ พิธีบวงสรวงสร้างอัฐิธาตุเจดีย์ พิธีวางศิลาฤกษ์อัฐิธาตุเจดีย์
ภาพการก่อสร้างอัฐิธาตุเจดีย์    

ลำประวัติ วัดป่ามหาชัย
จัดทำโดย นายโชติอนันต์ แสนสุภา
ประมวลภาพ
หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
วัดธาตุมหาชัย
สารคดี ประวัติวัดป่ามหาชัย
และวัดส้างพระอินทร์
จัดทำขึ้นเมื่อ พ.ศ ๒๕๓๙