พระพุทธศาสนสุภาษิตทั่วไป


พระพุทธศาสนสุภาษิต

มนต์ทั้งหลายการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน
เรือนมีความไม่ขยันปัดกวาดเป็นมลทิน
ความเกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ
ความประมาทเป็นมลทินของผูู้รักษา

อสชฺฌายมลา มนฺตา อนุฏฺฐานมลา ฆรา
มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ ปมาโท รกฺขโต มลํ ฯ


ธ. ขุ.๒๕/๔๗/๒๘

พวกเกวียน พวกโคต่าง..เป็นมิตรของคนเดินทาง
มารดา..เป็นมิตรใน เรือนของตน
สหาย...เป็นมิตรของคนผู้มีธุระเกิดขึ้นเนืองๆ
บุญที่ตนทำเอง....เป็นมิตรติดตามไปถึงภพหน้า

สตฺโถ ปสวโต มิตฺตํ
มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร
สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ
สยํ กตานิ ปุญฺญานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกนฺติ ฯ

สคาถ. สํ. ๑๕/๔๓/๑๖๓

ความคิดย่อมนำโลกไป    ความคิดทำให้โลกดิ้นรน
บุคคลทั้งหลาย ตกอยู่ในอำนาจของความคิดอย่างเดียว

จิตฺเตน  นียติ  โลโก          จิตฺเตน  ปริกสฺสติ
จิตฺตสฺส  เอกธมฺมสฺส       สพฺเพว  วสมนฺวคู.

(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๕๔.

ตายอย่างชอบธรรม......ดีกว่า
อยู่อย่างไม่ชอบธรรม...จะมีค่าอะไร

มรณํ ธมฺมิกํ เสยฺโย ยญฺเจ ชีเว อธมฺมิกํ

เถร.ขุ. ๒๖/๓๖๕/๓๘๓

คนมีสติ...เท่ากับมีสิ่งนำโชคตลอดเวลาฯ
คนมีสติ...ย่อมดีขึ้นทุกวันฯ

สติมโต สทา ภทฺทํ ฯ
สติมโต สุเว เสยฺโย ฯ

สคาถ. สํ. ๑๕/๓๐๖/๘๑๒

สิ่งทั้งปวงมีใจเป็นผู้นำ มีใจเป็นใหญ่ ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ
ถ้าคนเรามีใจบริสุทธิ์ การพูด การกระทำก็พลอยบริสุทธิ์ไปด้วย
ด้วยการพูดและกระทำอันบริสุทธิ์นั้น ความสุขย่อมตามติด เปรียบเสมือนเงาตามตัว

มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ สุขมเนฺวติ ฉายา ว อนปายินี

ขุ. ธ. ๒๕/๑๕/๑๑

รูปกายของสัตว์..ย่อมร่วงโรยไป
แต่ชื่อและโคตร...ไม่เสื่อมสลาย

รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ

สคาถ. สํ. ๑๕/๕๙/๒๐๙

คฤหัสถ์ชาวบ้าน เกียจคร้าน ไม่ดี
บรรพชิตไม่สำรวม ไม่ดี
ผู้ครองแผ่นดินไม่ใคร่ครวญก่อนทำ ไม่ดี
บัณฑิตมักโกรธ ไม่ดีฯ

อลโส คิหี กามโภคี น สาธุ
อสญฺญโต ปพฺพชิโต น สาธุ
ราชา น สาธุ อนิสมฺมการี
โย ปณฺฑิโต โกธโน ตํ น สาธุ ฯ

ชา. ขุ. ๒๗/๑๕๐/๖๒๗

ชนเหล่าใด จักสำรวมจิต
อันไปในที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไป
หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย
ชนเหล่านั้น จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร

จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ ฯ
ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ ฯ


ธ. ขุ. ๒๕/๑๔/๑๓

นักปราชญ์ ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยาก
ห้ามได้โดยยาก ให้ตรงดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น

ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ
อุชุํ กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชนํ


ธ. ขุ. ๒๕/๑๔/๑๓

จิตนี้ อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกามคุณเพียงดังน้ำ
ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อจะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน
ดุจปลาอันชาวประมง ยกขึ้นแล้วจากที่อยู่คือน้ำโยนไปแล้วบนบก ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น

วาริโชว ถเล ขิตฺโต โอกโมกตอุพฺภโต
ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ มารเธยฺยํ ปหาตเว ฯ


ธ. ขุ. ๒๕/๑๔/๑๓

การฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปใน
อารมณ์อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดี
เพราะว่าจิตที่บุคคล ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้

ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ ฯ


ธ. ขุ. ๒๕/๑๔/๑๓

นักปราชญ์พึงรักษาจิต ที่เห็นได้แสนยากละเอียดอ่อน
มีปกติตกไปตามความใคร่
เพราะว่าจิตที่บุคคลคุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้

สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ
จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ ฯ


ธ. ขุ. ๒๕/๑๔/๑๓

ส่วนผู้ใด..ถึงจะตกแต่งกาย
สวมใส่อาภรณ์ แต่หากประพฤติธรรม
เป็นผู้สงบ ฝึกอบรมตนแน่วแน่
เป็นผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ
เลิกละการเบียดเบียนปวงสัตว์ทั้งหมดแล้ว
ผู้นั้นแล จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ
หรือเป็นพระภิกษุ ก็ได้ทั้งสิ้น

อลงฺกโต เจปิ สมํ จเรยฺย
สนฺโต ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจารี
สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ
โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ ฯ

ขุ. ธ. ๒๕/๓๓/๒๐

ผู้ใดเป็นพาล รู้ตัวว่าเป็นพาล
ยังนับว่า..เป็นบัณฑิตได้บ้าง
ส่วนผู้ใดเป็นพาล แต่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต
ผู้นั้นแล...เรียกว่า "เป็นพาลแท้ๆ"

โย พาโล มญฺญติ พาลฺยํ
ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
พาโล จ ปณฺฑิตมานี
ส เว พาโลติ วุจฺจติ ฯ

ขุ. ธ. ๒๕/๒๓/๑๕

คนเรานี้ ! ถ้ามีอันทำชั่วลงไป
ก็อย่าพึงทำความชั่วนั้นซ้ำเข้าอีก
อย่าพึงสร้างความพอใจในความชั่วนั้น
การสั่งสมความชั่ว..เป็นการก่อความทุกข์

ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา
น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ
น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ
ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโยฯ

ขุ. ธ. ๒๕/๓๐/๑๙

จะตาย...ก็ไปคนเดียว
จะเกิด...ก็เกิดมาคนเดียว
ความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลาย
ก็เพียงแค่...ได้มาพบปะเกี่ยวข้องกันเท่านั้นฯ

เอโกว มจฺโจ อจฺเจติ
เอโกว ชายเต กุเล
สํโยคปรมาเตฺวว
สมฺโภคา สพฺพปาณินํ ฯ

ขุ. ชา. ๒๗/๓๑๘/๑๕๗๓

คนมีปัญญา..ถึงเผชิญอยู่กับความทุกข์
ก็ไม่ยอมสิ้นหวัง..ที่จะได้..ประสบความสุข

ทุกฺขูปนีโตปิ นโร สปญฺโญ
อาสํ น ฉินฺเทยฺย สุขาคม
าย

ขุ. ชา. ๒๗/๓๖๒/๑๘๕๘

อันความรู้...ควรเรียนทุกอย่าง ไม่ว่าต่ำ สูง หรือปานกลาง
ควรรู้ความหมาย เข้าใจทั้งหมด แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกอย่าง
วันหนึ่งจะถึงเวลาที่ความรู้นั้น..นำมาซึ่งประโยชน์

สพฺพํ สุตมธีเยถ หีนมุกฺกฏฺฐมชฺฌิมํ
สพฺพสฺส อตฺถํ ชาเนยฺย น จ สพฺพํ ปโยชเย
โหติ ตาทิสโก กาโล ยตฺถ อตฺถาวหํ สุตํฯ


ขุ. ชา. ๒๗/๑๘๔/๘๑๗

กรรมใด ทำไว้ ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ
กรรมนั่นแหละ เป็นสมบัติของเขา ซึ่งเขาจะพาเอาไป

ยญฺจ กโรติ กาเยน วาจาย อุท เจตสา
ตํ หิ ตสฺส สกํ โหติ ตญฺจ อาทาย คจฺฉติฯ


สคาถ. สํ. ๑๕/๑๓๕/๓๙๒

กาลเวลาล่วงไป...วันคืนผ่านพ้นไป
วัยก็หมดไปทีละตอนๆ ตามลำดับ

อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย
วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติฯ

สคาถ. สํ. ๑๕/๘๙/๒๙๘

ทำกรรมใดแล้ว....ร้อนใจภายหลัง
กรรมที่ทำนั้นไม่ดี
ทำกรรมใดแล้ว...ไม่ร้อนใจภายหลัง
กรรมที่ทำนั้นแลดี

น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ
ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ
ยํ กตฺวา นานุตปฺปติฯ

ขุ. ธ. ๒๕/๒๓/๑๕

การที่ไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำง่าย
การใดเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย
การนั้นแหละ ทำได้ยากยิ่ง

สุกรานิ อสาธูนิ
อตฺตโน อหิตานิ จ
ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ
ตํ เว ปรมทุกฺกรํ

ขุ. ธ. ๒๕/๓๗/๒๓

ประโยชน์ได้ล่วงเลย......
คนโง่เขลาผู้มัวคอยฤกษ์อยู่ ...  
ประโยชน์ "เป็นฤกษ์" ของประโยชน์  
" ดวงดาวจักทำอะไรได้"

นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ  
อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา
อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ  
กึ กริสฺสนฺติ ตารกา.

ชา. ขุ. ๒๗/๑๖/๔๙

ความโศก...นำสิ่งล่วงแล้วคืนมาไม่ได้
ความโศก...ไม่อาจนำมาซึ่งความสุขในอนาคต

นาพฺภตีตหโร โสโก  
นานาคตสุขาวโห


ชา. ขุ.๒๗/๑๖๘/๗๒๓

ใครๆ จะเป็นคนเลว.........เพราะช าติกำเนิด ก็หาไม่
ใครๆ จะเป็นคนประเสริฐ..เพราะชาต ิกำเนิด ก็หาไม่

คนจะเลว..........ก็เพราะกา รกระทำ ความประพฤติ
คนจะประเสริฐ...ก็เพราะการก ระทำ ความประพฤติ

น ชจฺจา วสโล โหติ
น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ
กมฺมุนา วสโล โหติ
กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ

ม.ม ๑๓/๖๔๘/๗๐๗

" ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ
นินทา สรรเสริญ สุข และ ทุกข์
สิ่งเหล่านี้...เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์
ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน
อย่าเศร้าโศกเลย ท่านจะโศกเศร้าไปทำไม"

ลาโภ อลาโภ ยโส อยโส จ
นินฺทา ปสํสา จ สุขํ จ ทุกฺขํ
เอเต อนิจฺจา มนุเชสุ ธมฺมา
มา โสจิ กึ โสจสิ โปฏฺฐปาท

ชา. ขุ. ๑๙/๑๔๗/๖๑๕

ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้งอาศัย
เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั่วไป
ฉะนั้น ควรชำระศีลให้บริสุทธิ์

อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเ

ขุ. เถร. ๒๖/๓๕๘/๓๗๙

ท่านทั้งหลาย จงรีบขวนขวายในความดี
จงห้ามจิตเสียจากความชั่ว
เพราะเมื่อทำความดีช้า
ใจจะยินดีในความชั่วเสียก่อน

อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ
ปาปา จิตฺตํ นิวารเย
ทนฺธํ หิ กรโต ปุญญํ
ปาปสฺมึ รมตี มโนฯ


ธ. ขุ. ๒๕/๓๐/๑๙

หากบุคคลจะทำความชั่ว
ก็อย่าทำความชั่วนั้นบ่อยๆ
ไม่ควรทำความพอใจในความชั่วนั้น
เพราะการสั่งสมความชั่ว
เป็นเหตุให้เกิดทุกข์.

ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา
น ตํ กยิรา ปุนปฺปุนํ
น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ
ทุกฺโข ปาปสฺสฺส อุจฺจโยฯ


ธ. ขุ. ๒๕/๓๐/๑๙



พระพุทธศาสนสุภาษิต หมวดปัญญา และหมวดต่างๆ ที่น่าสนใจ พร้อมคำแปล ที่มาของสุภาษิต