ธัมมปริยายะถาคา
( นำ) หันทะ มะยัง ธัมมะปะริยายะคาถาโย ภะณามะ เส ฯ
( รับ) สัพเพ สัตตา มะริสสันติ มะระณันตัง หิ ชีวิตัง
- สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นจักต้องตาย, เพราะชีวิตนี้มีความตายเป็นที่สุดรอบ
ชะรังปิ ปัต๎วา มะระณัง เอวัง ธัมมา หิ ปาณิโณ
- แม้จะอยู่ได้ถึงชราก็ต้องตาย, เพราะสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นอย่างนี้ตามธรรมดา
ยะมะกัง นามะรูปัญจะ อุโภ อัญโญญะนิสสิตา
- ก็นามและรูปคือกายกับใจ, ย่อมอาศัยกันอยู่เป็นของคู่กัน
เอกัส๎มิง ภิชชะมานัส๎มิง อุโภ ภิชชันติ ปัจจะยาติ
- เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแตกสลาย , ทั้งสองฝ่ายก็สลายไปด้วยกัน
ยะถาปิ อัญญะตะรัง พีชัง เขตเต วุตตัง วิรูหะติ
- เปรียบเหมือนพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง, ที่หว่านลงแล้ว ในพื้นแผ่นดินย่อมงอกขึ้นได้ ,
ปะฐะวีระสัญจะ อาคัมมะ สิเนหัญจะ ตะทูภะยัง
- เพราะอาศัยรสแห่งแผ่นดิน, และเชื้อในยางแห่งพืชนั้นๆ
เอวัง ขันธา จะ ธาตุโย ฉะ จะ อายะตะนา อิเม
- ขันธ์ทั้ง ๕ และธาตุทั้งหลาย, พร้อมทั้งอายตนะทั้ง ๖ นี้ก็เหมือนกัน
เหตุง ปะฏิจจะ สัมภูตา เหตุภังคา นิรุชฌะเร
- อาศัยเหตุจึงเกิดขึ้นได้, เมื่อเหตุนั้นแตกสลายก็ย่อมดับไป
ยะถา หิ อังคะสัมภารา โหติ สัทโท ระโถ อิติ
- เปรียบเหมือนการประกอบชิ้นส่วนของรถเข้าด้วยกัน, คำเรียกว่ารถก็มีขึ้นได้
เอวัง ขันเธสุ สันเตสุ โหติ สัตโตติ สัมมะติ
- เมื่อขันธ์ทั้ง๕ ยังมีอยู่ก็เหมือนกัน, คำสมมติว่าคนและสัตว์ก็มีขึ้นได้
อุโภ ปุญญัญจะ ปาปัญจะ ยัง มัจโจ กุรุเต อิธะ
- เมื่อผู้ที่ตายไป, ทำบุญและบาปใดๆ ในโลกนี้แล้ว
ตัญหิ ตัสสะ สะกัง โหติ ตัญจะ อาทายะ คัจฉะติ
- บุญและบาปนั้นแล, ย่อมเป็นของๆ เขาผู้นั้นโดยแท้,
เขาย่อมได้รับบุญและบาปนั้นแน่นอน
ตัญจัสสะ อะนุคัง โหติ ฉายาวะ อะนุปายินี
- บุญและบาปนั้นย่อมติดตามเขาไป, เหมือนเงาตามตัวเขาไปฉะนั้น
สัทธายะ สีเลนะ จะ โย ปะวัฑฒะติ
- ผู้ใดเจริญด้วยศีลและมีศรัทธา
ปัญญายะ จาเคนะ สุเตนะ จูภะยัง
- เป็นผู้มีปัญญา, สดับศึกษาในการเสียสละ
โส ตาทิโส สัปปุริโส วิจักขะโน
- บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษ , เป็นผู้เฉียบแหลมเช่นนั้น
อาทียะติ สาระมิทเธวะ อัตตะโน
- ย่อมเป็นผู้ถือเอาประโยชน์แห่งตน , ในโลกนี้ไว้ได้โดยแท้
อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว
- พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ, ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง
นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา
- เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น,
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
เอวัมภูเตสุเป๎ยเตสุ สาธุ ตัตถาชฌุเปกขะนา
- เมื่อสังขารเหล่านั้นต้องเป็นอย่างนี้แน่นอน, การวางเฉย
ในสังขารเสียได้ย่อมเป็นการดี,
อะปิ เตสัง นิโรธายะ ปะฏิปัตต๎ยาติสาธุกา
- อนึ่ง การปฏิบัติเพื่อดับสังขารเสียได้ , ยิ่งเป็นการดี
สัพพัง สัมปาทะนียัญหิ อัปปะมาเทนะ สัพพะทาติ
- กิจทั้งสิ้นนี้จะพึงบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้, ด้วยความไม่ประมาททุกเมื่อเท่านั้นแล, ดังนี้
|