บทสวดมนต์

บทสวด ถวายพรพระ (พระพุทธเจ้า)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ (ว่า ๓ หน)

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ-สัมปันโน สุคะโต
โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ค๎รีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

กัต๎วานะ กิฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พ๎รัห๎มัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิต๎วานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรต๎วา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล สัก๎ยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ต๎วัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ ฯ
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พ๎รัห๎มะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัต๎วานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ

บทสวด ถวายพรพระ แปล

๑) พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง     
ค๎รีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง 
ทานาทิ ธัมมะ วิธินา ชิต๎วา   มุนินโท,
พระจอมมุนีได้ชนะพญามาร , ผู้เนรมิตแขนมาก ตั้งพัน, 
ถืออาวุธครบมือ ขี่คชสารครีเมขละ, พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องก้องกึก
ด้วยธรรมวิธี มีทานบารมีเป็นต้น,

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ,   
ขอชัยมงคลทั้งหลาย  จงมีแก่ท่าน
ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น,

๒)มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง    
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตี  สุทันตะวิธินา ชิต๎วา มุนินโท,
พระจอมมุนีได้ชนะอาฬะวะกะยักษ์ ,  ผู้มีจิตกระด้าง
ปราศจากความอดทน,  มีฤทธิ์พิลึกยิ่งกว่าพญามาร,
เข้ามาต่อสู้ยิ่งนักจนตลอดรุ่ง, ด้วยวิธีทรมานเป็นอันดี คือ พระขันตี,

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ,
ขอชัยมงคลทั้งหลาย   จงมีแก่ท่าน
ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น,

๓) นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง 
ทาวัคคิ จักกะมะสะนีวะ  สุทารุณันตัง 
เมตตัมพุ  เสกะวิธินา ชิต๎วา  มุนินโท,

พระจอมมุนี ได้ชนะช้างตัวประเสริฐ ชื่อนาฬาคีรี,
เป็นช้างเมามันยิ่งนัก แสนที่จะทารุณประดุจเพลิงป่า , 
แลจักราวุธแลสายฟ้า, ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือพระเมตตา,

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ,
ขอชัยมงคลทั้งหลาย   จงมีแก่ท่าน
ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น,

๔) อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน
  ชิต๎วา มุนินโท,
พระจอมมุนีมีพระหฤทัย, ไปในที่จะกระทำอิทธิ ปาฏิหาริย์,
ได้ชนะโจรชื่อองคุลีมาล, ( ผู้มีพวง ดอกไม้ คือนิ้วมนุษย์)
แสนร้ายกาจ มีฝีมือ, ถือดาบเงื้อวิ่งไล่พระองค์ไป สิ้นทางสามโยชน์,

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ,
ขอชัยมงคลทั้งหลาย   จงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่ง
พระพุทธชัยมงคลนั้น ,

๕) กัต๎วานะ กัฏฐะมุทะรัง   อิวะคัพภินียา 
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง  ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิต๎วา มุนินโท,

พระจอมมุนีได้ชนะความกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา,
ทำอาการประดุจว่ามีครรภ์, เพราะทำไม้มีสัณฐานอันกลม,
ให้เป็นประดุจมีท้อง, ด้วยวิธีสมาธิอันงาม, คือความระงับพระหฤทัย,

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ,
ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน
ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น ,

๖) สัจจัง   วิหายะมะติ  สัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต  ชิต๎วามุนินโท,

พระจอมมุนีรุ่งเรืองแล้วด้วยประทีป คือ พระปัญญา,
ได้ชนะสัจจะกะนิครนถ์, ผู้มีอัชฌาสัยในที่ละเสียซึ่งความสัตย์,
มีใจในที่จะยกถ้อยคำของตนให้สูงดุจยกธง, เป็นผู้มืดมนยิ่งนัก
ด้วยเทศนาญาณวิธี, คือรู้อัชฌาสัยแล้วตรัสเทศนา,

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ,
ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน
ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น ,

๗.นันโทปะนันทะ  ภุชะคังวิพุธัง  มะหิทธิง 
ปุตเตนะเถระ  ภุชะเคนะ  ทะมาปะยันโต, 
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิต๎วา มุนินโท,
พระจอมมุนี ได้เอาชนะพญานาคราช ชื่อ นันโทปนันทะ
ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีบอกอุบายให้
พระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส แสดงฤทธิ์เนรมิตกายเป็นนาคราช
ไปทรมานพญานาค ชื่อ นันโทปนันทะ นั้น, 

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ,
ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน
ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น ,

๘) ทุคคาหะทิฐิ ภุชะเคนะ   สุทัฏฐะหัตถัง 
พรัหม๎มัง  วิสุทธิชุติ มิทธิพะกาภิธานัง 
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิต๎วา มุนินโท,
พระจอมมุนีได้ชนะพรหม   ผู้มีนามว่าท้าวพะกา,
ผู้มีฤทธิ์มีอันสำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์,
มีมืออันท้าวภุชงค์, คือทิฏฐิที่ตนถือผิดรึงรัดไว้แน่นแฟ้นแล้ว,
ด้วยวิธีวางยาอันพิเศษ คือ เทศนาญาณ,

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ,
ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน
ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น ,

เอตาปิ    พุทธะชะยะมังคะละอัฎฐะคาถา
โย   วาจะโน ทินะทิเนสะระเตมะตันที
หิต๎วา  นะเนกะวิวิธานิ  จุปัท๎วานิ, 
โมกขัง สุขัง อะทิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ.

นรชนใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน , สวดก็ดี ระลึกก็ดี,
ซึ่งพระพุทธชัยมงคลแปดคาถา, แม้เหล่านี้ทุกๆวัน,
นรชนนั้นพึงละเสียได้ ซึ่งอุปัทวันตรายทั้งหลาย,
มีประการต่างๆเป็นอเนกถึงวิโมกขศิวาลัย,   อันเป็นบรมสุข แล. 

ชะยะปะริตร

มะหาการุณิโก นาโถ ,
ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ประกอบแล้วด้วยมหากรุณา ,

หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรต๎วา ปาระมีสัพพา ,
ยังบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็มเพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ,

ปัตโต สัมโพธิมุตตะ มัง ,
ถึงแล้วซึ่งความตรัสรู้อันอุดม ,

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ,
ด้วยคำสัตย์นี้ ,

โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ,
ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน ,

ชะยันโต โพธิยา มูเล สัก๎ยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ต๎วัง วิชะโย โหหิ
   ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ,
พระพุทธเจ้าทรงผจญมาร ,  ณ โคนโพธิ์พฤกษ์,  ถึงความเป็นผู้ชนะแล้ว
ทรงบันเทิงอยู่ในอภิเษก แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง, 
ให้เจริญความยินดีแก่พวกศากยราช,  ว่าพระองค์ชนะมาร ณ อปราชิตบัลลังก์, 
อันเป็นชัยมงคลเหนือใบบัว,  คือปฐพีเป็นประธานฉันใด ขอท่านจงเป็นผู้ชนะฉันนั้น,

สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
สุกขะโณ สุมุหุตโต จะสุยิฏฐัง พรัหม๎จาริสุ
,
สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติชอบในเวลาใด , 
เวลานั้นชื่อว่าฤกษ์ดี,  มงคลดี สว่างดี,  รุ่งดี
แลขณะดี,  ครู่ดี บูชาแล้วดูดี,  ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย,

ปะทักขิณัง กายะ กัมมัง ,
กายกรรม เป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา ,

วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ,
วจีกรรม เป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา ,

ปะทักขิณัง มะโน กัมมัง ,
มโนกรรม เป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา ,

ปะณิธีเต ปะทักขิณา ,
ความปรารถนาของท่าน เป็นประทักษิณ ,  ส่วนเบื้องขวา,

ปะทักขิณานิ กัต๎วานะ ,
สัตว์ทั้งหลายทำกรรม อันเป็นประทักษิณ ส่วนเบื้องขวา ,

ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ.
ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลายอันเป็นประทักษิณ ส่วนเบื้องขวา.


คำอาราธนาพาหุง
( ๑) อุกาสะ อุกาสะ สาธุโน ภันเต ทุกขะตัง วะรัญจะ สัทธัมมะเทสะนัง ยาจามะฯ
อุกาสะ อุกาสะ วิปัตติ ปัตตัง ปะฏิคัณหาณัง อาปุจฉามะฯ

( ๒) โอกาสะ สันโน ภันเต ทักขันจะ วะรัญจะ สา ธัมมะเทสะนา ยาจามะ  
อะธิ ปัสสะติ โนทานัง อะนุตตะริสสามะ.

คำอาราธนาพาหุง (นิมนต์ให้พระสวดบาตร)
( นิยมใช้เฉพาะในภาคใต้)

อิมัง ปะฏิปัตตัง ปัตตะคุณัง ปัตตัง คัณหามะ
ทุติยัมปิ   อิมัง ปะฏิปัตตัง ปัตตะคุณัง ปัตตัง คัณหามะ
ตะติยัมปิ   อิมัง ปะฏิปัตตัง ปัตตะคุณัง ปัตตัง คัณหามะ

คำอธิษฐานก่อนตักบาตร
สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ อะนาคะเต กาเล.
ข้าวของข้าพเจ้า ขาวดังดอกบัว ยกขึ้นเหนือหัว ขอถวายพระพุทธ  
ขอบูชาพระธรรม น้อมนำถวายแด่พระสงฆ์ ด้วยจิตจำนง  
มุ่งตรงต่อพระนิพพาน ขอให้พบเมืองแก้ว ขอให้แคล้วบ่วงมาร
ในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ ฯ

คำถวายสังฆทาน ( สามัญ)

อิมานิ
มะนัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ
โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ภัตตานิ
สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร
กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ภัตตาหารกับ
ทั้งบริวารเหล่านี้ ขอข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้า
ทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

 กลับสู่หน้าหลัก