บทสวด สาธยาย มหาสติปัฏฐาน ๔ แปล
บทสวด มหาสติปัฏฐาน ๔ หรือ มหาสติปัฏฐานสูตร
(หันทะ มะยัง มะหาสะติปัฏฐานะธัมมะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ)
เอกายะโน อะยัง ภิกขะเว มัคโค
- ภิกษุทั้งหลาย! หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
สัตตานัง วิสุทธิยา
- เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
โสกะปะริเทวานัง สะมะติกกะมายะ
- เพื่อล่วงซึ่งความโศกและปริเทวะ
ทุกขะโทมะนัสสานัง อัฏฐังคะมายะ
- เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
ญายัสสะ อะธิคะมายะ
- เพื่อการบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ
- เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
ยะทิทัง จัตตาโร สะติปัฏฐานา
- หนทางนี้ คือสติปัฏฐาน ๔
กะตะมา จัตตาโร
- สติปัฏฐาน ๔ คืออะไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา
- มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
- นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา
- มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
- นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา
- มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
- นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา
- มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
- นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
๑.อานาปานะปัพพะ (กำหนดรู้ลมหายใจ)
(หันทะ มะยัง อานาปานะปัพพะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ)
กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระโต วา
- ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
นิสีทะติ ปัลลังกัง อาภุชิต๎วา
- นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ
อุชุกายัง ปะณิธายะ ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปต๎วา
- ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
โสสะโต วา อัสสะสะติสะโตปัสสะสะติ
- เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
ทีฆัง วา อัสสะสันโต ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
- เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
ทีฆัง วา ปัสสะสันโต ทีฆัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
- เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
รัสสัง วา อัสสะสันโต รัสสัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
- เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
รัสสัง วา ปัสสะสันโต รัสสัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
- เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
- ย่อมศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า
สัพพะกายะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
- ย่อมศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก
ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
- ย่อมศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับ หายใจเข้า
ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
- ย่อมศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับ หายใจออก
เสยยะถาปิ ภิกขะเว ทักโข ภะมะกาโร วา ภะมะการันเตวาสี วา
- ภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนนายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน
ทีฆัง วา อัญฉันโต ทีฆัง อัญฉามีติ ปะชานาติ
- เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักเชือกกลึงยาว
รัสสัง วา อัญฉันโต รัสสัง อัญฉามีติ ปะชานาติ
- เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักเชือกกลึงสั้น
เอวะเมวะ โข ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ทีฆัง วา อัสสะสันโต ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
- เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
ทีฆัง วา ปัสสะสันโต ทีฆัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
- เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
รัสสัง วา อัสสะสันโต รัสสัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
- เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
รัสสัง วา ปัสสะสันโต รัสสัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
- เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
- ย่อมศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า
สัพพะกายะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
- ย่อมศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก
ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
- ย่อมศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับ หายใจเข้า
ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
- ย่อมศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับ หายใจออก
อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง
พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง
อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง
วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง
สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง
อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
- อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ
- เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
- เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้
นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
- ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
๒.อิริยาปะถะปัพพะ (กำหนดรู้อิริยาบถใหญ่)
(หันทะ มะยัง อิริยาปะถะปัพพะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ)
ปุนะ จะ ปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! อีกข้อหนึ่ง
คัจฉันโต วา คัจฉามีติ ปะชานาติ
- ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่า เราเดินอยู่
ฐิโต วา ฐิโตมหีติ ปะชานาติ
- เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า เรายืนอยู่
นิสินโน วา นิสินโนมหีติ ปะชานาติ
- เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า เรานั่งอยู่
สะยาโน วา สะยาโนมหีติ ปะชานาติ
- เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า เรานอนอยู่
ยะถา ยะถา วา ปะนัสสะกาโย ปะณิหิโต โหติ
- เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ
ตะถา ตะถา นัมปะชานาติ
- ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ
อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง
พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง
อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง
วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง
สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง
อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
- อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ
- เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
- เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้
นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
- ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
๓.สัมปะชัญญะปัพพะ (กำหนดรู้อิริยาบถย่อย)
(หันทะ มะยัง สัมปะชัญญะปัพพะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ)
ปุนะ จะ ปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! อีกข้อหนึ่ง
อะภิกกันเต ปะฏิกกันเต สัมปะชานะการี โหติ
- ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัว ในการก้าวไป ถอยกลับ
อาโลกิเต วิโลกิเต สัมปะชานะการี โหติ
- ทำความรู้สึกตัว ในการแลดู การเหลียว
สัมมิญชิเต ปะสาริเต สัมปะชานะการี โหติ
- ทำความรู้สึกตัว ในการคู้เข้า เหยียดออก
สังฆาฏิปัตตะจีวะระธาระเณ สัมปะชานะการี โหติ
- ทำความรู้สึกตัว ในการทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร
อะสิเต ปิเต ขายิเต สายิเต สัมปะชานะการี โหติ
- ทำความรู้สึกตัว ในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มรส
อุจจาระปัสสาวะกัมเม สัมปะชานะการี โหติ
- ทำความรู้สึกตัว ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
คะเต ฐิเต นิสินเน สุตเต ชาคะริเต ภาสิเต ตุณ๎หีภาเว สัมปะชานะการี โหติ
- ทำความรู้สึกตัว ในการก้าวไป หยุดอยู่ นั่งอยู่ การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง
อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง
พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง
อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง
วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง
สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง
อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
- อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ
- เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
- เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้
นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
- ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
๔.ปะฏิกูละมะนะสิการะปัพพะ (กำหนดรู้ปฏิกูลในกาย ๓๑ อย่าง)
(หันทะ มะยัง ปะฏิกูละมะนะสิการะปัพพะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ)
ปุนะ จะ ปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ - ภิกษุทั้งหลาย! อีกข้อหนึ่ง
อิมะเมวะ กายัง - ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้แล
อุทธัง ปาทะตะลา - เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา
อะโธ เกสะมัตถะกา - เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป
ตะจะปะริยันตัง - มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ
ปูรันนานัปปะการัสสะ อะสุจิโน ปัจจะเวกขะติ - เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ
อัตถิ อิมัส๎มิง กาเย - มีอยู่ในกายนี้
เกสา - คือผมทั้งหลาย โลมา - คือขนทั้งหลาย
นะขา - คือเล็บทั้งหลาย ทันตา - คือฟันทั้งหลาย
ตะโจ - หนัง มังสัง - เนื้อ
นะหารู - เอ็นทั้งหลาย อัฏฐี - กระดูกทั้งหลาย
อัฏฐิมิญชัง - เยื่อในกระดูก วักกัง - ม้าม
หะทะยัง - หัวใจ ยะกะนัง - ตับ
กิโลมะกัง - พังผืด ปิหะกัง - ไต
ปัปผาสัง - ปอด อันตัง - ไส้ใหญ่
อันตะคุณัง - ไส้น้อย อุทะริยัง - อาหารใหม่
กะรีสัง - อาหารเก่า ปิตตัง - น้ำดี
เสมหัง - น้ำเสลด ปุพโพ - น้ำหนอง
โลหิตัง - น้ำเลือด เสโท - น้ำเหงื่อ
เมโท - น้ำมันข้น อัสสุ - น้ำตา
วะสา - น้ำมันเหลว เขโฬ - น้ำลาย
สิงฆาณิกา - น้ำมูก ละสิกา - น้ำมันไขข้อ
มุตตันติ - น้ำมูตรดังนี้
เสยยะถาปิ ภิกขะเว อุภะโต มุขา มูโตฬี
- ภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนไถ้ มีปากสองข้าง
ปูรานานาวิหิตัสสะ ธัญญัสสะ เสยยะถีทัง
- เต็มด้วยธัญญชาติต่างชนิด คือ
สาลีนัง วีหีนัง มุคคานัง
- ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว
มาสานัง ติลานัง ตัณฑุลานัง
- ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร
ตะเมนัง จักขุมา ปุริโส มุญจิต๎วา ปัจจะเวกเขยยะ
- บุรุษผู้มีตาดี แก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า
อิเม สาลี อิเม วีหี อิเม มุคคา
- นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว
อิเม มาสา อิเม ติลา อิเม ตัณฑุลาติ
- นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร
เอวะเมวะ โข ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! ฉันใดก็ฉันนั้น
อิมะเมวะ กายัง
- ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้แล
อุทธัง ปาทะตะลา
- เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา
อะโธ เกสะมัตถะกา
- เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป
ตะจะปะริยันตัง
- มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ
ปูรันนานัปปะการัสสะ อะสุจิโน ปัจจะเวกขะติ
- เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ
อัตถิ อิมัส๎มิง กาเย
- มีอยู่ในกายนี้
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ
- ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
มังสัง นะหารู อัฏฐี อัฏฐิมิญชัง วักกัง
- เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม
หะทะยัง ยะกะนัง กิโลมะกัง ปิหะกัง ปัปผาสัง
- หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด
อันตัง อันตะคุณัง อุทะริยัง กะรีสัง
- ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า
ปิตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท
- น้ำดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น
อัสสุ วะสา เขโฬ สิงฆาณิกา ละสิกา มุตตันติ
- น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตรดังนี้
อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง
พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง
อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง
วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง
สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง
อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
- อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ
- เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
- เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้
นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
- ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
๕.ธาตุมะนะสิการะปัพพะ (กำหนดรู้ธาตุ ๔ อย่าง)
(หันทะ มะยัง ธาตุมะนะสิการะปัพพะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ)
ปุนะ จะ ปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! อีกข้อหนึ่ง
อิมะเมวะ กายัง ยะถาฐิตัง ยะถาปะณิหิตัง
- ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล อันตั้งอยู่ ดำรงอยู่ตามปกติ
ธาตุโส ปัจจะเวกขะติ
- โดยความเป็นธาตุว่า
อัตถิ อิมัส๎มิง กาเย
- ในร่างกายนี้มี
ปะฐะวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตูติ
- ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมดังนี้
เสยยะถาปิ ภิกขะเว ทักโข โคฆาตะโก วา
- ภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนคนฆ่าโค
โคฆาตะกันเตวาสี วา คาวิง วะธิต๎วา
- หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าแม่โคแล้ว
จาตุมมะหาปะเถ วิละโส ปะฏิวิภะชิต๎วา นิสินโน อัสสะ
- แบ่งออกเป็นส่วนๆ นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง
เอวะเมวะ โข ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! ฉันใด ก็ฉันนั้น
อิมะเมวะ กายัง ยะถาฐิตัง ยะถาปะณิหิตัง ธาตุโส ปัจจะเวกขะติ
- ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล อันตั้งอยู่ ดำรงอยู่ตามปกติ โดยความเป็นธาตุว่า
อัตถิ อิมัส๎มิง กาเย
- ในร่างกายนี้มี
ปะฐะวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตูติ
- ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมดังนี้
อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง
พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง
อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง
วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง
สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง
อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
- อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ
- เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
- เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้
นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
- ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
๖.นะวะสีวถิกาปัพพะ (กำหนดรู้ซากศพทั้ง ๙)
(หันทะ มะยัง นะวะสีวะถิกาปัพพะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ)
© ปุนะ จะ ปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! อีกข้อหนึ่ง
เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง
- ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
เอกาหะมะตัง วา ทะวีหะมะตัง วา ตีหะมะตัง วา
- ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง
อุทธุมาตะกัง วินีละกัง วิปุพพะกะชาตัง
- ที่ขึ้นพองมีสีเขียว มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด
โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ
- เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า
อะยัมปิ โข กาโย
- ถึงร่างกายอันนี้เล่า
เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ
- ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้....ฯลฯ
© ปุนะ จะ ปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! อีกข้อหนึ่ง
เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง
- ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
กาเกหิ วา ขัชชะมานัง คิชเฌหิ วา ขัชชะมานัง
- อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง อันฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง
กุละเลหิ วา ขัชชะมานัง สุวาเณหิ วา ขัชชะมานัง
- อันฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง อันหมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง
สิงคาเลหิ วา ขัชชะมานัง วิวิเธหิ วา ปาณะกะชาเตหิ ขัชชะมานัง
- อันหมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง อันหมู่สัตว์ตัวเล็กตัวน้อยกัดกินอยู่บ้าง
โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ
- เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า
อะยัมปิ โข กาโย
- ถึงร่างกายอันนี้เล่า
เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ
- ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้......ฯลฯ
© ปุนะ จะ ปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! อีกข้อหนึ่ง
เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง
- ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
อัฏฐิสังขะลิกัง สะมังสะโลหิตัง นะหารุสัมพันธัง
- เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่
โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ
- เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า
อะยัมปิ โข กาโย
- ถึงร่างกายอันนี้เล่า
เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ
- ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้.....ฯลฯ
© ปุนะ จะ ปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! อีกข้อหนึ่ง
เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง
- ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
อัฏฐิสังขะลิกัง นิมมังสะโลหิตะมักขิตัง นะหารุสัมพันธัง
- เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อแต่ยังเปื้อนเลือดอยู่ ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่
โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ
- เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า
อะยัมปิ โข กาโย
- ถึงร่างกายอันนี้เล่า
เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ
- ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้.....ฯลฯ
© ปุนะ จะ ปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! อีกข้อหนึ่ง
เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง
- ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
อัฏฐิสังขะลิกัง อะปะคะตะมังสะโลหิตัง นะหารุสัมพันธัง
- เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่
โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ
- เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า
อะยัมปิ โข กาโย
- ถึงร่างกายอันนี้เล่า
เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ
- ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้....ฯลฯ
© ปุนะ จะ ปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! อีกข้อหนึ่ง
เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง
- ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
อัฏฐิกานิ อะปะคะตะนะหารุสัมพันธานิ
- เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว
ทิสาวิทิสา วิกขิตตานิ
- เรี่ยรายไปในทิศน้อยทิศใหญ่คือ
อัญเญนะ หัตถัฏฐิกัง อัญเญนะ ปาทัฏฐิกัง
- กระดูกมือไปทาง กระดูกเท้าไปทาง
อัญเญนะ ชังฆัฏฐิกัง อัญเญนะ อูรัฏฐิกัง
- กระดูกแข้งไปทาง กระดูกขาไปทาง
อัญเญนะ กะกิฏฐิกัง อัญเญนะ ปิฏฐิกัณฏะกัฏฐิกัง
- กระดูกสะเอวไปทาง กระดูกสันหลังไปทาง
อัญเญนะ ผาสุกัฏฐิกัง อัญเญนะ อุรัฏฐิกัง
- กระดูกซี่โครงไปทาง กระดูกหน้าอกไปทาง
อัญเญนะ พาหุฏฐิกัง อัญเญนะ อังสัฏฐิกัง
- กระดูกแขนไปทาง กระดูกไหล่ไปทาง
อัญเญนะ คีวัฏฐิกัง อัญเญนะ หะนุฏฐิกัง
- กระดูกคอไปทาง กระดูกคางไปทาง
อัญเญนะ ทันตัฏฐิกัง อัญเญนะ สีสะกะฏาหัง
- กระดูกฟันไปทาง กะโหลกศรีษะไปทาง
โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ
- เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า
อะยัมปิ โข กาโย
- ถึงร่างกายอันนี้เล่า
เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ
- ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้.....ฯลฯ
© ปุนะ จะ ปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! อีกข้อหนึ่ง
เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง
- ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
อัฏฐิกานิ เสตานิ สังขะวัณณุปะนิกานิ
- เป็นกระดูก มีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์
โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ
- เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า
อะยัมปิ โข กาโย
- ถึงร่างกายอันนี้เล่า
เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ
- ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้.....ฯลฯ
© ปุนะ จะ ปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! อีกข้อหนึ่ง
เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง
- ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
อัฏฐิกานิ ปุญชะกิตานิ เตโรวัสสิกานิ
- เป็นกระดูก กองเรี่ยรายอยู่ นานเกินปีหนึ่งขึ้นไป
โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ
- เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า
อะยัมปิ โข กาโย
- ถึงร่างกายอันนี้เล่า
เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ
- ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้.....ฯลฯ
© ปุนะ จะ ปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! อีกข้อหนึ่ง
เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง
- ภิกษุเหมือนกับว่า พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
อัฏฐิกานิ ปูตีนิ จุณณะกะชาตานิ
- เป็นกระดูก ผุเป็นจุณแล้ว
โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ
- เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า
อะยัมปิ โข กาโย
- ถึงร่างกายอันนี้เล่า
เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโตติ
- ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้
อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง
พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง
อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง
วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง
สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง
อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
- อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ
- เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
- เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้
นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
- ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (เห็นเวทนาโดยลักษณะ ๙ อย่าง)
(หันทะ มะยัง เวทะนานุปัสสะนาปาฐัง ภะณามะ เสฯ)
กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
© สุขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน
- เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นสุขอยู่
สุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ
- ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาอันเป็นสุขอยู่
© ทุกขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน
- เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์อยู่
ทุกขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ
- ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์อยู่
© อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน
- เมื่อเสวยเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขอยู่
อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ
- ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขอยู่
© สามิสัง วา สุขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน
- เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นสุข มีอามิสอยู่
สามิสัง สุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ
- ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาอันเป็นสุข มีอามิสอยู่
© นิรามิสัง วา สุขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน
- เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นสุข ไม่มีอามิสอยู่
นิรามิสัง สุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ
- ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาอันเป็นสุข ไม่มีอามิสอยู่
© สามิสัง วา ทุกขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน
- เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ มีอามิสอยู่
สามิสัง ทุกขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ
- ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ มีอามิสอยู่
© นิรามิสัง วา ทุกขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน
- เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ ไม่มีอามิสอยู่
นิรามิสัง ทุกขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ
- ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ ไม่มีอามิสอยู่
© สามิสัง วา อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน
- เมื่อเสวยเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข มีอามิสอยู่
สามิสัง อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ
- ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข มีอามิสอยู่
© นิรามิสัง วา อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน
- เมื่อเสวยเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ไม่มีอามิสอยู่
นิรามิสัง อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ
- ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ไม่มีอามิสอยู่
อิติ อัชฌัตตัง วา เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
- ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ภายในบ้าง
พะหิทธา วา เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ภายนอกบ้าง
อัชฌัตตะพะหิทธา วา เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งภายในและภายนอกบ้าง
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา เวทะนาสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในเวทนาบ้าง
วะยะธัมมานุปัสสี วา เวทะนาสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในเวทนาบ้าง
สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา เวทะนาสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในเวทนาบ้าง
อัตถิ เวทะนาติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
- อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ
- เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
- เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้
นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
- ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
เอวัง โข ภิกขะเว ภิกขุ เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (เห็นจิตโดยลักษณะ ๑๖ อย่าง)
(หันทะ มะยัง จิตตานุปัสสะนาปาฐัง ภะณามะ เสฯ)
กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สะราคัง วา จิตตัง สะราคัง จิตตันติ ปะชานาติ
- จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ
วีคะราคัง วา จิตตัง วีตะราคัง จิตตันติ ปะชานาติ
- หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ
สะโทสัง วา จิตตัง สะโทสัง จิตตันติ ปะชานาติ
- จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ
วีตะโทสัง วา จิตตัง วีตะโทสัง จิตตันติ ปะชานาติ
- หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ
สะโมหัง วา จิตตัง สะโมหัง จิตตันติ ปะชานาติ
- จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ
วีตะโมหัง วา จิตตัง วีตะโมหัง จิตตันติ ปะชานาติ
- หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ
สังขิตตัง วา จิตตัง สังขิตตัง จิตตันติ ปะชานาติ
- จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่
วิกขิตตัง วา จิตตัง วิกขิตตัง จิตตันติ ปะชานาติ
- หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน
มะหัคคะตัง วา จิตตัง มะหัคคะตัง จิตตันติ ปะชานาติ
- จิตเป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต ( จิตที่เข้าถึงความเป็นใหญ่ )
อะมะหัคคะตัง วา จิตตัง อะมะหัคคะตัง จิตตันติ ปะชานาติ
- หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต
สะอุตตะรัง วา จิตตัง สะอุตตะรัง จิตตันติ ปะชานาติ
- จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
อะนุตตะรัง วา จิตตัง อะนุตตะรัง จิตตันติ ปะชานาติ
- หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
สะมาหิตัง วา จิตตัง สะมาหิตัง จิตตันติ ปะชานาติ
- จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสมาธิ
อะสะมาหิตัง วา จิตตัง อะสะมาหิตัง จิตตันติ ปะชานาติ
- หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นสมาธิ
วิมุตตัง วา จิตตัง วิมุตตัง จิตตันติ ปะชานาติ
- จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น
อะวิมุตตัง วา จิตตัง อะวิมุตตัง จิตตันติ ปะชานาติ
- หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่หลุดพ้น
อิติ อัชฌัตตัง วา จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
- ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต ภายในบ้าง
พะหิทธา วา จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นจิตในจิต ภายนอกบ้าง
อัชฌัตตะพะหิทธา วา จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นจิตในจิต ทั้งภายในและภายนอกบ้าง
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา จิตตัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในจิตบ้าง
วะยะธัมมานุปัสสี วา จิตตัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในจิตบ้าง
สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา จิตตัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในจิตบ้าง
อัตถิ จิตตันติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
- อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ
- เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
- เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้
นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
- ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
เอวัง โข ภิกขะเว ภิกขุ จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (เห็นธรรมโดยลักษณะ ๕ อย่าง)
๑.นิวะระณะปัพพะ (กำหนดรู้นิวรณ์ ๕ อย่าง)
(หันทะ มะยัง นิวะระณะปัพพะปาฐัง ภะณามะ เสฯ)
กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ ปัญจะสุ นีวะระเณสุ
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ คือนิวรณ์ ๕ อย่าง
กะกัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
ปัญจะสุ นีวะระเณสุ
- คือนิวรณ์ ๕ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
© สันตัง วา อัชฌัตตัง กามะฉันทัง
- เมื่อความพอใจในกาม มีอยู่ภายในจิต
อัตถิ เม อัชฌัตตัง กามะฉันโทติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ความพอใจในกาม มีอยู่ภายในจิตของเรา
อะสันตัง วา อัชฌัตตัง กามะฉันทัง
- เมื่อความพอใจในกาม ไม่มีอยู่ภายในจิต
นัตถิ เม อัชฌัตตัง กามะฉันโทติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ความพอใจในกาม ไม่มีอยู่ภายในจิตของเรา
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ กามะฉันทัสสะ อุปปาโท โหติ
- อนึ่ง เมื่อความพอใจในกามที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ กามะฉันทัสสะ ปะหานัง โหติ
- เมื่อความพอใจในกามที่เกิด จะละเสียได้ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ ปะหีนัสสะ กามะฉันทัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ
- หรือความพอใจในกามที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย...ฯลฯ
© สันตัง วา อัชฌัตตัง พะยาปาทัง
- เมื่อความพยาบาท มีอยู่ภายในจิต
อัตถิ เม อัชฌัตตัง พะยาปาโทติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ความพยาบาท มีอยู่ภายในจิตของเรา
อะสันตัง วา อัชฌัตตัง พะยาปาทัง
- เมื่อความพยาบาท ไม่มีอยู่ภายในจิต
นัตถิ เม อัชฌัตตัง พะยาปาโทติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ความพยาบาท ไม่มีอยู่ภายในจิตของเรา
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ พะยาปาทัสสะ อุปปาโท โหติ
- อนึ่ง เมื่อความพยาบาทที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ พะยาปาทัสสะ ปะหานัง โหติ
- เมื่อความพยาบาทที่เกิด จะละเสียได้ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ ปะหีนัสสะ พะยาปาทัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ
- หรือความพยาบาทที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย....ฯลฯ
© สันตัง วา อัชฌัตตัง ถีนะมิทธัง
- เมื่อความหดหู่และเคลิบเคลิ้ม มีอยู่ภายในจิต
อัตถิ เม อัชฌัตตัง ถีนะมิทธันติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ความหดหู่และเคลิบเคลิ้ม มีอยู่ภายในจิตของเรา
อะสันตัง วา อัชฌัตตัง ถีนะมิทธัง
- เมื่อความหดหู่และเคลิบเคลิ้ม ไม่มีอยู่ภายในจิต
นัตถิ เม อัชฌัตตัง ถีนะมิทธันติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ความหดหู่และเคลิบเคลิ้ม ไม่มีอยู่ภายในจิตของเรา
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ ถีนะมิทธัสสะ อุปปาโท โหติ
- อนึ่ง เมื่อความหดหู่และเคลิบเคลิ้มที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ ถีนะมิทธัสสะ ปะหานัง โหติ
- เมื่อความหดหู่และเคลิบเคลิ้มที่เกิด จะละเสียได้ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ ปะหีนัสสะ ถีนะมิทธัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ
- หรือความหดหู่และเคลิบเคลิ้มที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย....ฯลฯ
© สันตัง วา อัชฌัตตัง อุทธัจจะกุกกุจจัง
- เมื่อความฟุ้งซ่านรำคาญ มีอยู่ภายในจิต
อัตถิ เม อัชฌัตตัง อุทธัจจะกุกกุจจันติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ความฟุ้งซ่านรำคาญ มีอยู่ภายในจิตของเรา
อะสันตัง วา อัชฌัตตัง อุทธัจจะกุกกุจจัง
- เมื่อความฟุ้งซ่านรำคาญ ไม่มีอยู่ภายในจิต
นัตถิ เม อัชฌัตตัง อุทธัจจะกุกกุจจันติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ความฟุ้งซ่านรำคาญ ไม่มีอยู่ภายในจิตของเรา
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ อุทธัจจะกุกกุจจัสสะ อุปปาโท โหติ
- อนึ่ง เมื่อความฟุ้งซ่านรำคาญที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ อุทธัจจะกุกกุจจัสสะ ปะหานัง โหติ
- เมื่อความฟุ้งซ่านรำคาญที่เกิด จะละเสียได้ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ ปะหีนัสสะ อุทธัจจะกุกกุจจัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ
- หรือความฟุ้งซ่านรำคาญที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย....ฯลฯ
© สันตัง วา อัชฌัตตัง วิจิกิจฉัง
- เมื่อความลังเลสงสัย มีอยู่ภายในจิต
อัตถิ เม อัชฌัตตัง วิจิกิจฉันติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ความลังเลสงสัย มีอยู่ภายในจิตของเรา
อะสันตัง วา อัชฌัตตัง วิจิกิจฉัง
- เมื่อความลังเลสงสัย ไม่มีอยู่ภายในจิต
นัตถิ เม อัชฌัตตัง วิจิกิจฉันติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ความลังเลสงสัย ไม่มีอยู่ภายในจิตของเรา
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ วิจิกิจฉัสสะ อุปปาโท โหติ
- อนึ่ง เมื่อความลังเลสงสัยที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ วิจิกิจฉัสสะ ปะหานัง โหติ
- เมื่อความลังเลสงสัยที่เกิด จะละเสียได้ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ ปะหีนัสสะ วิจิกิจฉัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ
- หรือความลังเลสงสัยที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อิติ อัชฌัตตัง วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายในบ้าง
พะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายนอกบ้าง
อัชฌัตตะพะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในและภายนอกบ้าง
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในธรรมบ้าง
วะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในธรรมบ้าง
สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในธรรมบ้าง
อัตถิ ธัมมันติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
- อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ
- เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
- เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้
นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
- ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
เอวัมปิ โข ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ปัญจะสุ นีวะระเณสุ
- คือ นิวรณ์ ๕ อยู่
๒.ขันธะปัพพะ (กำหนดรู้ขันธ์ ๕ อย่าง)
(หันทะ มะยัง ขันธะปัพพะปาฐัง ภะณามะ เสฯ)
ปุนะ จะ ปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! อีกข้อหนึ่ง
ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
ปัญจะสุ อุปาทานักขันเธสุ
- คือ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า
กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
ปัญจะสุ อุปาทานักขันเธสุ
- คืออุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า
© อิติ รูปัง อิติ รูปัสสะ สะมุทะโย
- อย่างนี้! รูป อย่างนี้ ! ความเกิดขึ้นแห่งรูป
อิติ รูปัสสะ อัตถังคะโม
- อย่างนี้! ความดับแห่งรูป
© อิติ เวทะนา อิติ เวทะนายะ สะมุทะโย
- อย่างนี้! เวทนา อย่างนี้ ! ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
อิติ เวทะนายะ อัตถังคะโม
- อย่างนี้! ความดับแห่งเวทนา
© อิติ สัญญา อิติ สัญญายะ สะมุทะโย
- อย่างนี้! สัญญา อย่างนี้ ! ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา
อิติ สัญญายะ อัตถังคะโม
- อย่างนี้! ความดับแห่งสัญญา
© อิติ สังขารา อิติ สังขารานัง สะมุทะโย
- อย่างนี้! สังขาร อย่างนี้ ! ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
อิติ สังขารานัง อัตถังคะโม
- อย่างนี้! ความดับแห่งสังขาร
© อิติ วิญญาณัง อิติ วิญญาณัสสะ สะมุทะโย
- อย่างนี้! วิญญาณ อย่างนี้ ! ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
อิติ วิญญาณัสสะ อัตถังคะโมติ
- อย่างนี้! ความดับแห่งวิญญาณ
อิติ อัชฌัตตัง วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายในบ้าง
พะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายนอกบ้าง
อัชฌัตตะพะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในและภายนอกบ้าง
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในธรรมบ้าง
วะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในธรรมบ้าง
สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในธรรมบ้าง
อัตถิ ธัมมันติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
- อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ
- เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
- เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้
นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
- ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
เอวัมปิ โข ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ปัญจะสุ อุปาทานักขันเธสุ
- คือ อุปาทานขันธ์ทั้งห้าอยู่
๓. อายะตะนะปัพพะ (กำหนดรู้อายตนะภายใน-ภายนอก ๖ อย่าง)
(หันทะ มะยัง อายะตะนะปัพพะปาฐัง ภะณามะ เสฯ)
ปุนะ จะ ปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! อีกข้อหนึ่ง
ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
ฉะสุ อัชฌัตติกะพาหิเรสุ อายะตะเนสุ
- คือ อายตนะภายในและภายนอก ๖
กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
ฉะสุ อัชฌัตติกะพาหิเรสุ อายะตะเนสุ
- คือ อายตนะภายในและภายนอก ๖ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
© จักขุญจะ ปะชานาติ รูเป จะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จักนัยน์ตา ย่อมรู้จักรูป
ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ สัญโญชะนัง ตัญจะ ปะชานาติ จะ
- รู้จักนัยน์ตาและรูปทั้งสองนั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดแห่งสังโยชน์
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อุปปาโท โหติ
- อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ ปะหานัง โหติ
- สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ ปะหีนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ
- สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย...ฯลฯ
© โสตัญจะ ปะชานาติ สัทเท จะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จักหู ย่อมรู้จักเสียง
ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ สัญโญชะนัง ตัญจะ ปะชานาติ จะ
- รู้จักหูและเสียงทั้งสองนั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดแห่งสังโยชน์
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อุปปาโท โหติ
- อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ ปะหานัง โหติ
- สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ ปะหีนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ
- สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย...ฯลฯ
© ฆานัญจะ ปะชานาติ คันเธ จะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จักจมูก ย่อมรู้จักกลิ่น
ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ สัญโญชะนัง ตัญจะ ปะชานาติ จะ
- รู้จักจมูกและกลิ่นทั้งสองนั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดแห่งสังโยชน์
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อุปปาโท โหติ
- อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ ปะหานัง โหติ
- สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ ปะหีนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ
- สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย...ฯลฯ
© ชิวหิญจะ ปะชานาติ ระเส จะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จักลิ้น ย่อมรู้จักรส
ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ สัญโญชะนัง ตัญจะ ปะชานาติ จะ
- รู้จักลิ้นและรสทั้งสองนั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดแห่งสังโยชน์
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อุปปาโท โหติ
- อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ ปะหานัง โหติ
- สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ ปะหีนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ
- สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย...ฯลฯ
© กายัญจะ ปะชานาติ โผฏฐัพเพ จะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จักกาย ย่อมรู้จักสิ่งที่ถูกต้องด้วยกาย
ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ สัญโญชะนัง ตัญจะ ปะชานาติ จะ
- รู้จักกายและสิ่งที่ถูกต้องด้วยกายทั้งสองนั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดแห่งสังโยชน์
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อุปปาโท โหติ
- อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ ปะหานัง โหติ
- สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ ปะหีนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ
- สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย...ฯลฯ
© มะนัญจะ ปะชานาติ ธัมเม จะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จักใจ ย่อมรู้จักธรรมารมณ์
ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ สัญโญชะนัง ตัญจะ ปะชานาติ จะ
- รู้จักใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดแห่งสังโยชน์
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อุปปาโท โหติ
- อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ ปะหานัง โหติ
- สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ ปะหีนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ
- สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อิติ อัชฌัตตัง วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายในบ้าง
พะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายนอกบ้าง
อัชฌัตตะพะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในและภายนอกบ้าง
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในธรรมบ้าง
วะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในธรรมบ้าง
สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในธรรมบ้าง
อัตถิ ธัมมันติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
- อีกอย่าง หนึ่งสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ
- เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
- เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้
นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
- ไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก
เอวัมปิ โข ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ฉะสุ อัชฌัตติกะพาหิเรสุ อายะตะเนสุ
- คือ อายตนะภายในและภายนอก ๖ อยู่
๔.โพชฌังคะปัพพะ (กำหนดรู้องค์ธรรมแห่งการรู้แจ้ง ๗ ประการ)
(หันทะ มะยัง โพชฌังคะปัพพะปาฐัง ภะณามะ เสฯ)
ปุนะ จะ ปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! อีกข้อหนึ่ง
ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
สัตตะสุ โพชฌังเคสุ
- คือโพชฌงค์ ๗
กะถัญจะ ภิกขะเว ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
สัตตะสุ โพชฌังเคสุ
- คือโพชฌงค์ ๗ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
© สันตัง วา อัชฌัตตัง สะติสัมโพชฌังคัง
- เมื่อธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสติ มีอยู่ภายในจิต
อัตถิ เม อัชฌัตตัง สะติสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสติ มีอยู่ภายในจิตของเรา
อะสันตัง วา อัชฌัตตัง สะติสัมโพชฌังคัง
- อนึ่ง ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสติ ไม่มีอยู่ภายในจิต
นัตถิ เม อัชฌัตตัง สะติสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสติ ไม่มีอยู่ภายในจิตของเรา
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ สะติสัมโพชฌังคัสสะ อุปปาโท โหติ
- ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสติ ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ สะติสัมโพชฌังคัสสะ ภาวะนาปาริปูริ โหติ
- ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสติ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
© สันตัง วา อัชฌัตตัง ธัมมะวิจะยะสัมโพชฌังคัง
- เมื่อธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสอดส่องธรรม มีอยู่ภายในจิต
อัตถิ เม อัชฌัตตัง ธัมมะวิจะยะสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสอดส่องธรรม มีอยู่ภายในจิตของเรา
อะสันตัง วา อัชฌัตตัง ธัมมะวิจะยะสัมโพชฌังคัง
- อนึ่ง ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสอดส่องธรรม ไม่มีอยู่ภายในจิต
นัตถิ เม อัชฌัตตัง ธัมมะวิจะยะสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสอดส่องธรรม ไม่มีอยู่ภายในจิตของเรา
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ ธัมมะวิจะยะสัมโพชฌังคัสสะ อุปปาโท โหติ
- ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสอดส่องธรรม ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ ธัมมะวิจะยะสัมโพชฌังคัสสะ ภาวะนาปาริปูริ โหติ
- ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสอดส่องธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์
ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
© สันตัง วา อัชฌัตตัง วิริยะสัมโพชฌังคัง
- เมื่อธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร มีอยู่ภายในจิต
อัตถิ เม อัชฌัตตัง วิริยะสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร มีอยู่ภายในจิตของเรา
อะสันตัง วา อัชฌัตตัง วิริยะสัมโพชฌังคัง
- อนึ่ง ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร ไม่มีอยู่ภายในจิต
นัตถิ เม อัชฌัตตัง วิริยะสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร ไม่มีอยู่ภายในจิตของเรา
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ วิริยะสัมโพชฌังคัสสะ อุปปาโท โหติ
- ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ วิริยะสัมโพชฌังคัสสะ ภาวะนาปาริปูริ โหติ
- ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์
ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
© สันตัง วา อัชฌัตตัง ปีติสัมโพชฌังคัง
- เมื่อธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปีติ มีอยู่ภายในจิต
อัตถิ เม อัชฌัตตัง ปีติสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปีติ มีอยู่ภายในจิตของเรา
อะสันตัง วา อัชฌัตตัง ปีติสัมโพชฌังคัง
- อนึ่ง ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปีติ ไม่มีอยู่ภายในจิต
นัตถิ เม อัชฌัตตัง ปีติสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปีติ ไม่มีอยู่ภายในจิตของเรา
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ ปีติสัมโพชฌังคัสสะ อุปปาโท โหติ
- ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปีติ ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ ปีติสัมโพชฌังคัสสะ ภาวะนาปาริปูริ โหติ
- ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปีติ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
© สันตัง วา อัชฌัตตัง ปัสสัทธิสัมโพชฌังคัง
- เมื่อธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปัสสัทธิ มีอยู่ภายในจิต
อัตถิ เม อัชฌัตตัง ปัสสัทธิสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปัสสัทธิ มีอยู่ภายในจิตของเรา
อะสันตัง วา อัชฌัตตัง ปัสสัทธิสัมโพชฌังคัง
- อนึ่ง ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปัสสัทธิ ไม่มีอยู่ภายในจิต
นัตถิ เม อัชฌัตตัง ปัสสัทธิสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปัสสัทธิ ไม่มีอยู่ภายในจิตของเรา
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ ปัสสัทธิสัมโพชฌังคัสสะ อุปปาโท โหติ
- ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปัสสัทธิ ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ ปัสสัทธิสัมโพชฌังคัสสะ ภาวะนาปาริปูริ โหติ
- ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปัสสัทธิ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
© สันตัง วา อัชฌัตตัง สะมาธิสัมโพชฌังคัง
- เมื่อธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสมาธิ มีอยู่ภายในจิต
อัตถิ เม อัชฌัตตัง สะมาธิสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสมาธิ มีอยู่ภายในจิตของเรา
อะสันตัง วา อัชฌัตตัง สะมาธิสัมโพชฌังคัง
- อนึ่ง ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสมาธิ ไม่มีอยู่ภายในจิต
นัตถิ เม อัชฌัตตัง สะมาธิสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสมาธิ ไม่มีอยู่ภายในจิตของเรา
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ สะมาธิสัมโพชฌังคัสสะ อุปปาโท โหติ
- ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสมาธิ ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ สะมาธิสัมโพชฌังคัสสะ ภาวะนาปาริปูริ โหติ
- ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสมาธิ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
© สันตัง วา อัชฌัตตัง อุเปกขาสัมโพชฌังคัง
- เมื่อธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คืออุเบกขา มีอยู่ภายในจิต
อัตถิ เม อัชฌัตตัง อุเปกขาสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คืออุเบกขา มีอยู่ภายในจิตของเรา
อะสันตัง วา อัชฌัตตัง อุเปกขาสัมโพชฌังคัง
- อนึ่ง ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คืออุเบกขา ไม่มีอยู่ภายในจิต
นัตถิ เม อัชฌัตตัง อุเปกขาสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คืออุเบกขา ไม่มีอยู่ภายในจิตของเรา
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ อุเปกขาสัมโพชฌังคัสสะ อุปปาโท โหติ
- ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คืออุเบกขา ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ อุเปกขาสัมโพชฌังคัสสะ ภาวะนาปาริปูริ โหติ
- ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คืออุเบกขา ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อิติ อัชฌัตตัง วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายในบ้าง
พะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายนอกบ้าง
อัชฌัตตะพะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในและภายนอกบ้าง
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในธรรมบ้าง
วะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในธรรมบ้าง
สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในธรรมบ้าง
อัตถิ ธัมมันติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
- อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ
- เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
- เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้
นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
- ไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก
เอวัมปิ โข ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
สัตตะสุ โพชฌังเคสุ
- คือโพชฌงค์ ๗ อยู่ฯ
๕.๑. สัจจะปัพพะ (กำหนดรู้อริสัจ ๔ อย่าง)
(หันทะ มะยัง อะริยะสัจจะปัพพะปาฐัง ภะณามะ เสฯ)
ปุนะ จะ ปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! อีกข้อหนึ่ง
ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
- ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ คืออริยสัจ ๔
กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
- คืออริยสัจ ๔ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อิทัง ทุกขันติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้! ทุกข์
อะยัง ทุกขะสะมุทะโยติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้! เหตุให้เกิดทุกข์
อะยัง ทุกขะนิโรโธติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้! ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อะยัง ทุกขะนิโรคะคามินีปะฏิปะทาติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้! การปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
© กะตะมัญจะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
- ภิกษุทั้งหลาย! ทุกข์ในอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า?
ชาติปิ ทุกขา
- แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกขา
- แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
มะระณัมปิ ทุกขัง
- แม้ความตายก็เป็นทุกข์
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
- แม้ความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกายความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
- ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
- ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
- มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
- ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์
© กะตะมา จะ ภิกขะเว ชาติ
- ภิกษุทั้งหลาย! ความเกิด เป็นอย่างไรเล่า?
ยา เตสัง เตสัง สัตตานิ ตัมหิ ตัมหิ สัตตะนิกาเย ชาติ สัญชาติ โอกกันติ,
นิพพัตติ อะภินิพพัตติ ขันธานัง ปาตุภาโว อายะตะนานัง ปะฏิลาโภ
- การเกิด การกำเนิด การก้าวลง การเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์
การได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ชาติ
- ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ความเกิด
© กะตะมา จะ ภิกขะเว ชะรา
- ภิกษุทั้งหลาย! ความแก่ เป็นอย่างไรเล่า?
ยา เตสัง เตสัง สัตตานัง ตัมหิ ตัมหิ สัตตะนิกาเย ชะรา ชีระณะตา,
ขัณฑิจจัง ปาลิจจัง วะลิตจะตา อายุโน สังหานิ อินทะริยานัง ปะริปาโก
- ความแก่ ภาวะของความแก่ มีฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว
ความเสื่อมรอบแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ชะรา
- ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ความแก่
© กะตะมัญจะ ภิกขะเว มะระณัง
- ภิกษุทั้งหลาย! ความตาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ยา เตสัง เตสัง สัตตานัง ตัมหา ตัมหา สัตตะนิกายา จุติ จะวะนะตา เภโท
อันตะระธานัง มัจจุมะระณัง, กาละกิริยา ขันธานัง เภโท กะเฬวะรัสสะ
นิกเขโป ชีวิตินทะริยัสสะ อุปัจเฉโท
- ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป การวายชีพ
ความตาย การทำกาละ ความแตกทำลายแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งซากศพไว้
ความขาดแห่งอินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ
อิทัง วุจจะติ ภิกขะเว มะระณัง
- ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ความตาย
© กะตะมา จะ ภิกขะเว โสโก
- ภิกษุทั้งหลาย! ความโศก เป็นอย่างไรเล่า?
โย โข ภิกขะเว อัญญะตะรัญญะตะเรนะ พังยะสะเนนะ สะมันนาคะตัสสะ
อัญญะตะรัญญะตะเรนะ ทุกขะธัมเมนะ, ผุฏฐัสสะโสโก โสจะนา โสจิตัตตัง
อันโต โสโก อันโต ปะริโสโก
- ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ ความผากภายใน ความแห้ง
ผากภายใน ของบุคคลผู้ถึงความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ถูกธรรมคือความทุกข์อย่างใดอย่าง
หนึ่งกระทบแล้ว
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว โสโก
- ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ความโศก
© กะตะมา จะ ภิกขะเว ปะริเทโว
- ภิกษุทั้งหลาย! ความร่ำไรรำพัน เป็นอย่างไรเล่า?
โย โข ภิกขะเว อัญญะตะรัญญะตะเรนะ พังยะสะเนนะ สะมันนาคะตัสสะ
อัญญะตะรัญญะตะเรนะ ทุกขะธัมเมนะ, ผุฏฐัสสะ อาเทโว ปะริเทโว
อาเทวะนาปะริเทวะนา อาเทวิตัตตัง ปะริเทวิตัตตัง
- ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน
ภาวะบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ถึงความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง กระทบแล้ว
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะริเทโว
- ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ความร่ำไรรำพัน
© กะตะมัญจะ ภิกขะเว ทุกขัง
- ภิกษุทั้งหลาย! ความทุกข์ทางกาย เป็นอย่างไรเล่า?
ยัง โข ภิกขะเว กายิกัง ทุกขัง กายิกัง อะสาตัง
- ภิกษุทั้งหลาย! ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย
กายะสัมผัสสะชัง ทุกขัง อะสาตัง เวทิยัง
- ความเสวยอารมณ์ไม่ดีที่เป็นทุกข์ เกิดแต่กายสัมผัส
อิทัง วุจจะติ ภิกขะเว ทุกขัง
- ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ความทุกข์ทางกาย
© กะตะมัญจะ ภิกขะเว โทมะนัสสัง
- ภิกษุทั้งหลาย! ความทุกข์ใจ เป็นอย่างไรเล่า?
ยัง โข ภิกขะเว เจตะสิกัง ทุกขัง เจตะสิกัง อะสาตัง
- ภิกษุทั้งหลาย! ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต
เจโตสัมผัสสะชัง ทุกขัง อะสาตัง เวทะยิตัง
- ความเสวยอารมณ์ไม่ดีที่เป็นทุกข์ เกิดแต่ความกระทบทางใจ
อิทัง วุจจะติ ภิกขะเว โทมะนัสสัง
- ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ความทุกข์ใจ
© กะตะโม จะ ภิกขะเว อุปายาโส
- ภิกษุทั้งหลาย! ความคับแค้นใจ เป็นอย่างไรเล่า?
โย โข ภิกขะเว อัญญะตะรัญญะตะเรนะ พังยะสะเนนะ สะมันนาคะตัสสะ
อัญญะตะรัญญะตะเรนะ ทุกขะธัมเมนะ, ผุฏฐัสสะ อายาโส อุปายาโส
อายาสิตัตตัง อุปายาสิตัตตัง
- ภิกษุทั้งหลาย! ความแค้นความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น
ของบุคคลผู้ถึงความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว อุปายาโส
- ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ความคับแค้นใจ
© กะตะโม จะ ภิกขะเว อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
- ภิกษุทั้งหลาย! ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ยัสสะ เต โหนติ อะนิฏฐา อะกันตา อะมะนาปา รูปา สัทธา คันธา ระสา โผฏฐัพพา
- ภิกษุทั้งหลาย! ในโลกนี้อารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่ถูกต้องกาย
อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจแก่ผู้ใด
เย วา ปะนัสสะ เต โหนติ อะนัตถะกามา อะหิตะกามา อะผาสุกามา
อะโยคักเขมะกามา
- หรือชนเหล่าใดเป็นผู้ไม่หวังประโยชน์ ไม่หวังความเกื้อกูล ไม่หวังความผาสุกไม่หวังความเกษมจากโยคะ
ยา เตหิ สังคะติ สะมาคะโต สะโมธานัง มิสสี ภาโว
- การไปด้วยกัน การมาด้วยกัน การอยู่ร่วมกัน ความคลุกคลีกัน ด้วยอารมณ์หรือบุคคลเหล่านั้น
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
- ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
กะตะโม จะ ภิกขะเว ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
- ภิกษุทั้งหลาย! ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ยัสสะ เต โหนติ อิฏฐากันตา มะนาปา รูปา สัททา คันธา
ระสา โผฏฐัพพา
- ภิกษุทั้งหลาย! ในโลกนี้อารมณ์คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่ถูกต้องกาย อันเป็นที่ปรารถนา ที่รักใคร่ ที่พอใจของผู้ใด
เย วา ปะนัสสะ เต โหนติ อัตถะกามา หิตะกามา ผาสุกามา โยคักเขมะกามา
- หรือชนเหล่าใด เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความผาสุก
หวังความเกษมจากโยคะ
มาตา วา ปิตา วา ภาตา วา ภะคินี วา มิตตา วา อะมัจจา วา ญาติสาโลหิตา วา
- คือมารดาบิดา พี่น้องชายพี่น้องหญิง มิตรอำมาตย์ ญาติสายโลหิตก็ตาม
ยา เตหิ อะสังคะติ อะสะมาคะโม อะสะโมธานัง อะมิสสี ภาโว
- การไม่ได้ไปร่วม การไม่ได้มาร่วม การไม่ได้อยู่ร่วม การไม่ได้คลุกคลีกัน
ด้วยอารมณ์หรือบุคคลเหล่านั้น
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
- ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
© กะตะมัญจะ ภิกขะเว ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
- ภิกษุทั้งหลาย! ความที่สัตว์ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า?
ชาติ ธัมมานัง ภิกขะเว สัตตานัง เอวัง อิจฉา อุปปัชชะติ
- ภิกษุทั้งหลาย! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่หมู่สัตว์ ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า
อะโห วะตะ มะยัง นะ ชาติ ธัมมา อัสสามะ
- โอหนอ! ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา
นะ จะ วะตะ โน ชาติ อาคัจเฉยยาติ
- และขอความเกิด ไม่พึงมาถึงเราทั้งหลายหนอ
นะ โข ปะเนตัง อิจฉายะ ปัตตัพพัง
- ก็ข้อนี้! สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
อิทัมปิ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
- แม้นี้! ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
ชะราธัมมานัง ภิกขะเว สัตตานัง เอวัง อิจฉา อุปปัชชะติ
- ภิกษุทั้งหลาย! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่หมู่สัตว์ ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า
อะโห วะตะ มะยัง นะ ชะราธัมมา อัสสามะ
- โอหนอ! ขอเราไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา
นะ จะ วะตะ โน ชะรา อาคัจเฉยยาติ
- และขอความแก่ไม่พึงมาถึงเราทั้งหลายหนอ
นะ โข ปะเนตัง อิจฉายะ ปัตตัพพัง
- ก็ข้อนี้! สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
อิทัมปิ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
- แม้นี้! ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
พะยาธิธัมมานัง ภิกขะเว สัตตานัง เอวัง อิจฉา อุปปัชชะติ
- ภิกษุทั้งหลาย! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่หมู่สัตว์ ผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า
อะโห วะตะ มะยัง นะ พะยาธิธัมมา อัสสามะ
- โอหนอ! ขอเราไม่พึงมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
นะ จะ วะตะโน พะยาธิธัมมา อาคัจเฉยยาติ
- และขอความเจ็บไข้ไม่พึงมาถึงเราทั้งหลายหนอ
นะ โข ปะเนตัง อิจฉายะ ปัตตัพพัง
- ก็ข้อนี้! สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
อิทัมปิ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
- แม้นี้! ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
มะระณะธัมมานัง ภิกขะเว สัตตานัง เอวัง อิจฉา อุปปัชชะติ
- ภิกษุทั้งหลาย! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่หมู่สัตว์ ผู้มีความตายเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า
อะโห วะตะ มะยัง นะ มะระณะธัมมา อัสสามะ
- โอหนอ! ขอเราไม่พึงมีความตายเป็นธรรมดา
นะ จะ วะตะ โน มะระณะธัมมา อาคัจเฉยยาติ
- และขอความตายไม่พึงมาถึงเราทั้งหลายหนอ
นะ โข ปะเนตัง อิจฉายะ ปัตตัพพัง
- ก็ข้อนี้! สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
อิทัมปิ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
- แม้นี้! ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสะธัมมานัง ภิกขะเว สัตตานัง
เอวัง อิจฉา อุปปัชชะติ
- ภิกษุทั้งหลาย! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่หมู่สัตว์ ผู้มีความโศกความร่ำไรรำพัน
ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า
อะโห วะตะ มะยัง นะ โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสะธัมมา อัสสามะ
- โอหนอ! ขอเราไม่พึงมีความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย
ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจเป็นธรรมดา
นะ จะ วะตะ โน โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา อาคัจเฉยยาติ
- และขอความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกายความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจ ไม่พึงมาถึงเราทั้งหลายหนอ
นะ โข ปะเนตัง อิจฉายะ ปัตตัพพัง
- ก็ข้อนี้! สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
อิทัมปิ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
- แม้นี้! ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
กะตะมา จะ ภิกขะเว สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
- ภิกษุทั้งหลาย! ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า?
เสยยะถีทัง
- ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
รูปูปาทานักขันโธ
- ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป
เวทะนูปาทานักขันโธ
- ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา
สัญญูปาทานักขันโธ
- ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา
สังขารูปาทานักขันโธ
- ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร
วิญญาณูปาทานักขันโธ
- ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ
อิเม วุจจันติ ภิกขะเว สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
- ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกโดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์
อิเม วุจจะติ ภิกขะเว ทุกขัง
- ภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ทุกข์ในอริยสัจ
มีต่อ....
|