พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ทรงโปรดเกล้าพระราชทานผ้าพระกฐิน ให้ ส.ส.นพ.อลงกต มณีกาศ
เพื่อทอดถวาย ณ วัดป่ามหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

ความหมายและความสำคัญของการถวายกฐิน
ความหมายของกฐิน
กฐิน   เป็นศัพท์ บาลี   แปลตามศัพท์ว่า ไม้สะดึง   คือ "กรอบไม้" หรือ "ไม้แบบ"
สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็น จีวร ในสมัยโบราณ ซึ่งผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า  
ผ้ากฐิน   ( ผ้าเย็บจากไม้แบบ)

กฐิน อาจจำแนกตามความหมายเพื่อความเข้าใจง่ายได้ดังนี้
๑.กฐิน   เป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับทำจีวร ดังกล่าวข้างต้น
๒.กฐิน   เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน (โดยได้มาจากการใช้ไม้แม่แบบขึงเย็บ)
๓.กฐิน   เป็นชื่อของงานบุญประเพณีถวายผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆืเพื่อกรานกฐิน
๔.กฐิน   เป็นชื่อของสังฆกรรมการกรานกฐินของพระสงฆ์

ความสำคัญพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่น
การถวายกฐินนั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งทำให้การถวายกฐินมีความความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่นดังนี้

๑.จำกัดประเภททาน   คือ   ต้องถวายเป็น สังฆทาน เท่านั้น
จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้

๒.จำกัดเวลา   คือกฐินเป็น กาลทาน อย่างหนึ่ง (ตามพระบรมพุทธานุญาต)
ดังนั้นจึงจำกัดเวลาว่าต้องถวายภายในระยะเวลา ๑ เดือน นับแต่ วันออกพรรษา   เป็นต้นไป

๓.จำกัดงาน   คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน

๔.จำกัดไทยธรรม   คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่พระวินัยกำหนดไว้

๕.จำกัดผู้รับ   คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา
และจำนวนไม่น้อยกว่า ๕ รูป

๖.จำกัดคราว   คือ วัด ๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ ๑ ครั้งเท่านั้น

๗.เป็นพระบรมพุทธานุญาต   ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต
เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง  
นับเป็นพระประสงค์โดยตรง

ความเป็นมาของกฐิน
ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ ๓๐ รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
ณ   วัดเชตวันมหาวิหาร   เมือง สาวัตถี   แต่ยังไม่ทันถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึง วันเข้าพรรษา เสียก่อน
พระสงฆ์ทั้ง ๓๐ รูป จึงต้องจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาแล้ว
ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความยากลำบากเพราะ ฝน ยังตกชุกอยู่

เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตวัน พระพทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง
เมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถรับผ้ากฐินได้
และภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ ๕ ประการ ภายในเวลาอานิสงส์กฐิน
(นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ ) คือ