วันอาสาฬหบูชา,วันเข้าพรรษา
ภาคเช้า ชาวพุทธศาสนิกชนทั่วไป สมาทานศีล ทำบุญตักบาตรพระสงฆ์
ภาคบ่าย พระสงฆ์ลงอุโบสถ คือฟังพระภิกขุปาฏิโมกข์
ภาคเย็น สมาทานศีล ๘ สวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา เวียนเทียน
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ เดือน ๘,วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘
ระหว่างวันที่ ๒๗-๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑
ณ วัดป่ามหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม


พระครูภาวนาสุตาภรณ์ (พระมหาประเทือง พุทธรักขิโต)
เจ้าอาวาสวัดป่ามหาชัย เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด(นครพนม)แห่งที่ ๒


สน.ผล สังข์สน


นายคัธนาม อินราช ไวยาวัจกรวัดป่ามหาชัย


นางดำรง รุณวงค์ ทำบุญอุทิศให้ นาวาตรีสมาน กุนัน (จ่าแซม)


กิจกรรมภาคบ่ายวันอาสาฬหบูชา
คณะสงฆ์วัดป่ามหาชัย ได้ร่วมทำสังฆกรรม ฟังพระภิกขุปาฏิโมกข์
ร่วมกับคณะสงฆ์ศิษยานุศิษย์พระสุนทรธรรมากร(หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ)
ณ อุโบสถ วัดธาตุมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม
พระสงฆ์จำนวน ๔๘ รูป


กราบคารวะสรีระสังขาร
พระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ)
อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอปลาปาก อดีตเจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัย


กราบคารวะ พระครูสุนทรชยาภิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัย


คณะอุบาสกอุบาสิกา นายไพโรจน์ มิควาฬ, นางปทิตตา มิควาฬ,
นายสุรเชษฐ์ ชาธิพา, นางนราทิพย์ ชาธิพา ,นางอุมิยา พงษานุกุลเวช


อุโบสถ วัดป่ามหาชัย คืนวันอาสาฬหบูชา

การเวียนเทียน   คือ การเดินเวียนรอบ ปูชนียสถาน สำคัญ
เช่น อุโบสถวิหาร หรือพระพุทธรูปเพื่อระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในวันสำคัญ
โดยใช้เทียนธูปและดอกไม้เป็นเครื่องสักการบูชา ถือไว้ในมือแล้วเดินเวียน ๓ รอบ
ขณะที่เดินรอบนั้นพึงตั้งจิตให้สงบ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ
ด้วยการสวดบท "อิติปิโส" ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการสวด   “สวากขาโต”  
และระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวด   “สุปะฏิปันโน”   จนกว่าจะเวียนจบ ๓ รอบ

พิธีการเวียนรอบ ปูชนียวัตถุ  หรือ ปูชนียสถาน 

เพื่อเป็นการแสดงความเคารพนั้น ไทยได้รับคตินี้มาจากอินเดียพร้อมกับพระพุทธศาสนา
โดยปรากฏหลักฐานการแสดงความเคารพโดยการเวียนเทียนในพระไตรปิฎก
ซึ่งใช้คำว่าเวียนประทักษิณาวัตร คือเวียนขวา ๓ รอบ
เป็นเครื่องหมายถึงการแสดงออกซึ่งการเคารพบูชาต่อสิ่งนั้นๆ อย่างสูงสุด
ไทยได้รับคตินิยมนี้มาและปรับประยุกต์ให้เข้ากับพื้นฐานทางวัฒนธรรมของไทย
โดยนำมาใช้เป็นการแสดงความบูชาต่อพระรัตนตรัยมาตั้งแต่โบราณ
มีหลักฐานปรากฏเป็น "ฐานประทักษิณ" สำหรับการกระทำพิธีเวียนเทียน

ในโบราณสถานทางศาสนา มาตั้งแต่สมัยทวารวดี รวมทั้งปรากฏข้อความในพงศาวดารว่า
มีการกระทำพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนาสืบมาจนถึงปัจจุบัน