ที่มาของ กฐิน


กฐิน

กฐิน   ( บาลี: กฐิน) เป็นศัพท์ใน พระวินัยปิฎก เถรวาท  
เป็นชื่อเรียกผ้า ไตรจีวร ที่ พระพุทธเจ้า ทรงอนุญาต
ให้ ภิกษุ ผู้อยู่ จำพรรษา ครบ ๓ เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้  

โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน
จัดเป็น สังฆกรรม ประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติ
เถรวาท ที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้
ได้นับแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึง
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เท่านั้น


ภาพวาด วิถีชีวิตการทำบุญของชาวชนบท

โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์
และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด ๑  
ดังนั้นกฐินจึงจัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยจำเพาะ
ซึ่งนอกจากในพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้ว กฐินยังมีในฝ่าย มหายาน
บางนิกายอีกด้วย แต่จะมีข้อกำหนดแตกต่างจากพระวินัย เถรวาท
การได้มาของผ้าไตร จีวร อันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้
พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน   ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธี
การถวายผ้ากฐิน หรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้น และด้วยการที่การถวายผ้ากฐินนั้น
จัดเป็น สังฆทาน   คือถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์  
ยกให้   แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติ   ( ญัตติทุติยกรรมวาจา) และ กาลทาน  
ที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอน คณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี
จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นบุญประเพณีนิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ประเทศไทย

ประเพณีการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์
โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี
ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์
ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ
เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน

กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง ๑ เดือน
คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ( วันเพ็ญเดือน ๑๒)
ระยะเวลานี้เรียกว่า   กฐินกาล   คือระยะเวลา   ทอดกฐิน   หรือ   เทศกาลทอดกฐิน


ภาพวาด ชาวอีสานแห่งผ้ากฐิน

ความหมายและความสำคัญของการถวายกฐิน
ความหมายของกฐิน
กฐิน   เป็นศัพท์ บาลี   แปลตามศัพท์ว่า ไม้สะดึง   คือ "กรอบไม้" หรือ "ไม้แบบ"
สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็น จีวร ในสมัยโบราณ ซึ่งผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า  
ผ้ากฐิน   ( ผ้าเย็บจากไม้แบบ)

กฐิน อาจจำแนกตามความหมายเพื่อความเข้าใจง่ายได้ดังนี้
๑.กฐิน   เป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับทำจีวร ดังกล่าวข้างต้น
๒.กฐิน   เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน (โดยได้มาจากการใช้ไม้แม่แบบขึงเย็บ)
๓.กฐิน   เป็นชื่อของงานบุญประเพณีถวายผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆืเพื่อกรานกฐิน
๔.กฐิน   เป็นชื่อของสังฆกรรมการกรานกฐินของพระสงฆ์

ความสำคัญพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่น
การถวายกฐินนั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งทำให้การถวายกฐินมีความความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่นดังนี้

๑.จำกัดประเภททาน   คือ   ต้องถวายเป็น สังฆทาน เท่านั้น
จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้

๒.จำกัดเวลา   คือกฐินเป็น กาลทาน อย่างหนึ่ง (ตามพระบรมพุทธานุญาต)
ดังนั้นจึงจำกัดเวลาว่าต้องถวายภายในระยะเวลา ๑ เดือน นับแต่ วันออกพรรษา   เป็นต้นไป

๓.จำกัดงาน   คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน

๔.จำกัดไทยธรรม   คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่พระวินัยกำหนดไว้

๕.จำกัดผู้รับ   คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา
และจำนวนไม่น้อยกว่า ๕ รูป

๖.จำกัดคราว   คือ วัด ๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ ๑ ครั้งเท่านั้น

๗.เป็นพระบรมพุทธานุญาต   ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต
เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง  
นับเป็นพระประสงค์โดยตรง

ทีมา
http://th.wikipedia.org/wiki/กฐิน

คำอุปโลกน์กฐิน , แบบสวดกรรมวาจาให้ผ้ากฐิน, คำอธิษฐานผ้ากฐิน
เกร็ดในงานถวายผ้ากฐินในประเทศไทย
ชนิดของกฐินในประเทศไทย
ประวัติความเป็นมาของกฐิน