ความเป็นมาของกฐิน
ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ ๓๐ รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมือง สาวัตถี แต่ยังไม่ทันถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึง วันเข้าพรรษา เสียก่อน
พระสงฆ์ทั้ง ๓๐ รูป จึงต้องจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาแล้ว
ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความยากลำบากเพราะ ฝน ยังตกชุกอยู่
เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตวัน พระพทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง
เมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถรับผ้ากฐินได้
และภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ ๕ ประการ ภายในเวลาอานิสงส์กฐิน
(นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ ) คือ
๑.ไปไหนไม่ต้องบอกลา
๒.ไม่ต้องถือ ไตรจีวร ไปครบสำรับสามผืน ๒
๓.ฉันคณโภชนะได้ (รับนิมนต์ที่เขานิมนต์โดยออกชื่อโภชนะฉันได้) ๓
๔.เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้โดยที่ยังมิได้วิกัปป์ และอธิษฐาน โดยไม่ต้องอาบัติ
๕.จีวรลาภอันเกิดขึ้น จักได้แก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว
ภาพวาด ชาวอีสานแห่งผ้ากฐิน
|
การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลกฐินในประเทศไทย
การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลกฐินในประเทศไทย
สันนิษฐานว่าเริ่มมีมาแต่แรกที่รับพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาในดินแดนประเทศไทย
ซึ่งอาจมีปฏิบัติประเพณีนี้มาตั้งแต่สมัยทวาราวดี
แต่มาปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าชาวไทยได้ถือปฏิบัติ
ในการบำเพ็ญกุศลในเทศกาลกฐินในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
ดังปรากฏความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ( ด้านที่ ๒ ) ดังนี้
... คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มันโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้
ทังชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทังหลายทังผู้ชายผู้ญีง
ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อโอกพรรษากรานกฐินเดือนณื่งจี่งแล้ว
เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐิน
โอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสูดญัตกฐินเถิงอไรญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียง เรียงกันแต่อไรญิกพู้นเท้าหัวลาน
ดมบังคมกลองด้วยเสียงพาทย์เสียงพีณ เสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว
ใครจักมักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากปตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ
เมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก ...
(คำอ่านศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ ๒)
ในศิลาจารึกดังกล่าว ปรากฏทั้งคำว่า กรานกฐิน , บริวารกฐิน (บริพานกฐิน) ,
สวดญัตติกฐิน (สูดญัตกฐิน) ซึ่งคำดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า
เทศกาลทอดกฐินมีคู่กับสังคมไทยทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชนมาช้านาน
ดังปรากฏว่าชาวพุทธในประเทศไทยให้ความสำคัญกับงานทอดกฐินที่จัดในวัดต่าง ๆ มาก
โดยถือว่าเป็นงานบุญสำคัญที่สุดงานหนึ่งในรอบปี บางวัดที่มีผู้ศรัทธามาก
อาจมีผู้จองเป็นเจ้าภาพทอดกฐินล่วงหน้ายาวเป็นสิบ ๆ ปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของชาวพุทธ
ในประเทศไทยที่ได้ร่วมใจกันสืบทอดประเพณีนี้มาจนปัจจุบัน
ทีมา
http://th.wikipedia.org/wiki/กฐิน
|