พิธีรักษาอุโบสถ

พิธีรักษาอุโบสถ

อุโบสถ แปลว่า การเข้าถึง หมายถึง การเข้าไปอยู่รักษาศึล ๘ อย่างเคร่งครัด
เป็นวัตรปฏิบัติของอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธา ใคร่ฝึกพัฒนาจิตใจของตนให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป

อุโบสถมี ๓ อย่าง คือ

    ๑. ปกติอุโบสถ การักษาเพียงหนึ่งวันและคืนหนึ่ง

    ๒.ปฏิชาครอุโบสถ คือ การรักษาอย่างพิเศษ ครั้งละ ๓ วัน คือ วันรับศีล ๑ วัน
วันรักษา ๑ วัน และวันส่ง ๑ วัน

    ๓. ปาฏิหาริกปักขอุโบสถ คือการอยู่จำอุโบสถเป็นเวลา ๓ เดือนภายในพรรษา
หรือ ๔ เดือน ตลอดฤดูฝน เป็นอุโบสถที่กำหนดไว้ประจำแต่ละปี แต่ปัจจุบันเนื่องจากผู้จำอุโบสถ
มีกิจธุระมาก จึงไม่ค่อยมีผู้ถืออุโบสถชนิดนี้

    ผู้ตั้งใจจะรักษาอุโบสถชนิดใด พึงเตรียมตัวให้พร้อมแล้วไปวัดเพื่อสมาทานอุโบสถและรักษา
หรือจะเปล่งวาจาอธิษฐานอุโบสถด้วยตนเองก็ได้ว่า

   " อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง
    อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ"

แปลว่า ข้าพเจ้าขอสมาทานอุโบสถที่พระพุทธเจ้าบัญญัตไว้
พร้อมทั้งองค์ ๘ นี้ เพื่อรักษาให้ดี มิให้ขาดให้ทำลาย ตลอดคืนนี้และวันนี้

คำอาราธนาศีล ๘
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ

ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ

ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ

(หมายเหตุ ถ้าคนเดียว เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง, ยาจามะ เป็น ยาจามิ)

นมการคาถา
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ ธังมัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ ธัมธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

( พระท่านว่า) ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ( รับว่า) อามะ ภันเต.

คำสมาทานศีล ๘
๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ

๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ

๓. อะพ๎รัห๎มะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ

๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ

๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ

๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ

๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะ-
ธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ

๘. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ

อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ รัตติง
อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ

(หยุดเพียงเท่านี้) ตอนนี้ พระสงฆ์จะว่า

อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ อุโปสะถะวะเสนะ
มะนะสิกะริต๎วา สาธุกัง อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ ฯ

(รับพร้อมกันว่า) อามะ ภันเต (พระสงฆ์ว่าต่อ)

สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัส๎มา สีลัง วิโสธะเย ฯ
(รับพร้อมกันว่า) อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิฯ ( ๓ ครั้ง)

........................................................................................
อุโบสถศีล ๘ ข้อความหมายดังนี้


๑.เว้นจากการฆ่าสัตว์

๒.เว้นจากลักฉ้อสิ่งที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้

๓.เว้นจากประพฤติกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์

๔.เว้นจากเจรจาคำเท็จล่อลวงผู้อื่น

๕.เว้นจากดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

๖.เว้นจากบริโภคอาหาร ตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์เที่ยงแล้วไปจนถึงเวลาอรุณขึ้นมาใหม่

๗.เว้นจากฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่างๆ ที่เป็นข้าศึกแก่บุญกุศลทั้งสิ้น และทัดทรงประดับตกแต่ง
   ร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับเครื่องทาเครื่องย้อม ผัดผิวทำให้วิจิตรงดงามต่างๆ
   อันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี

๘.เว้นจากนั่งนอนเหนือเตียงตั่งม้าที่มีเท้าสูงเกินประมาณ และที่นั่งที่นอนใหญ่ ภายในมีนุ่นและสำลี
   เครื่องปูลาดที่วิจิตรด้วยเงินและทองต่างๆ

    
พระพุทธสุภาษิต
ตสฺมา หิ นารี จ นโร สีลวา
อฏฺฐงฺคุเปตํ อุปวสฺสุโปสถํ
ปุญญานิ กตาน สุขุทฺริยานิ
อนินฺทิตา สคฺคมุเปนฺติ ฐานํ

เพราะฉะนั้น หญิงและชายผู้มีศีล
รักษาอุโบสถ ประกอบด้วยองค์ ๘
ทำบุญอันมีสุขเป็นกำไร จึงไม่ถูกติเตียน
ย่อมเข้าถึงสถาน สวรรค์.

( พุทฺธ) องฺ. ติก. ๒๐/ ๒๗๖.

เรื่องอุโบสถกรรม
พระบรมศาสดา ทรงปรารภอุโบสถกรรมของพวกอุบาสิกา
มีนางวิสาขาเป็นต้น ในวันอุโบสถวันหนึ่ง นางวิสาขาถามบรรดา
อุบาสิกาเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายรักษาอุโบสถเพื่อประโยชน์อะไร ?
พวกอุบาสิกาแก่ตอบว่า เพื่อทิพยสมบัติ พวกอุบาสิกาปานกลาง
ตอบว่า เพื่อไม่ให้สามีมีภรรยาอื่นอีก พวกอุบาสิการุ่นตองว่า เพื่อ
ได้บุตรหัวปีเป็นชาย พวกอุบาสิกาเด็กตอบว่า เพื่อมีสามีแต่รุ่น
นางวิสาขาได้สดับถ้อยคำของอุบาสิกาเหล่านั้นแล้ว จึงพาตัวไปเฝ้า
ทูลความนั้นแด่พระศาสดาโดยลำดับ พระองค์จึงทรงแสดงธรรมมีกถา แล้วจึงตรัสพระคาถานี้

ยถา ทณฺเฑน โคปาโล
คาโว ปาเชติ โคจรํ,
เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ
อายุํ ปาเชนฺติ ปาณินํ.

คนเลี้ยงโค ย่อมต้อนฝูงโค
ไปสู่ที่หากิน ด้วยอาชญา ฉันใด
ความแก่และความตายย่อมขับต้อน
อายุของสัตว์ทั้งหลายไป ฉันนั้น.

วิธีบวชชีพราหมณ์ การสมาทานศีลด้วยตนเอง คำลาสิกขาแม่ชี พราหมณ์