รัตนสูตร  

รัตนสูตร   เป็น พระสูตร ใน พระสุตตันตปิฎก   หมวด ขุททกนิกาย   ขุททกปาฐะ   และยังปรากฏในหมวดสุตตนิบาต เป็นพระคาถาจำนวน 17 บท
แต่ปรากฏในพากย์ภาษาสันสกฤตจำนวน 19 บท ดังที่มีอยู่ในคัมภีร์ มหาวัสตุอวทาน ของนิกาย โลโกตตรวาท   และนิกาย มหาสังฆิกะ  
พระสูตรนี้พรรณนาคุณของ พระรัตนตรัย   และป่าวประกาศความยิ่งใหญ่ และคุณลักษณะของพระอริยะเจ้า มีพระโสดาบัน เป็นอาทิ
จุดประสงค์ของการประกาศพระสูตรนี้ก็เพื่อโปรดชาวเมืองเวสาลีให้รอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลวงทั้งปวงที่กำลังรุมเร้าเมืองแห่งนี้
และเพื่อยังให้ชาวเมืองทั้งหลายได้มีดวงตาเห็นธรรม

รัตนสูตร หรือรัตนปริตร จัดเป็นหนึ่งในพระ ปริตร   หรือพระคาถาพรรณนาอานุภาพของพระ รัตนตรัย  
โดยได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในพระคาถาหลักของคัมภีร์จตุภาณะวารปาลี
หรือตำรารวบรวมพระปริตรที่เป็นที่นิยมสวดสาธยายกันในศรีลังกา รวบรวมขึ้นในช่วงยุคกลางของประวัติศาสตร์พุทธศาสนา
หรือในยุคที่พระพุทธศาสนากำลังรุ่งเรืองในลังกา นอกจากนี้ ยังมี อรรถกถา อธิบายพระปริตรนี้ในคัมภีร์ ปรมัตถโชติกา  
อรรกถาขุททกนิกาย

ครั้งหนึ่งกรุง เวสาลี นั้นเกิด ทุพภิกขภัย  ฝนแล้งข้าวกล้าตายเกลื่อนกลาด จนชาวเมืองมากมายต้องล้มตาย
ต้องนำศพไปทิ้งนอกเมือง ครั้นพวกอมนุษย์ได้กลิ่นคนตายก็พากันเข้าพระนคร รบกวนมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ต่าง ๆ นา ๆ
แต่นั้นผู้คนก็ล้มตายเพิ่มมากขึ้น ทั้งเพราะความอดอยาก ทั้งเพราะความปฏิกูลจนเกิด อหิวาตกโรค  และทั้งจากอมนุษย์เบียดเบียน
ชาวเมืองจึงพากันไปกราบทูลพระราชาว่า แต่ก่อนนี้ นับได้ 7 ชั่วราชสกุล ไม่เคยเกิดภัยเช่นนี้เลย
ชะรอยพระองค์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม ครั้นพระราชาทรงเรียกพระประยุรญาติเจ้าเจ้าลิจฉวีมาประชุมโดยพร้อมกัน เพื่อพิจารณาว่า
พระองค์ได้ตั้งอยู่ในความบกพร่องหรือไม่ แต่ไม่ปรากฏว่าพระราชาทรงมิได้กระทบกพร่องแต่อย่างใด
จึงมีการถกเถียงกันถึงหนทางที่จะปัดเป่าภยันตรายที่เกิดขึ้น สุดท้าย
บรรดาเจ้าลิจฉวีจึงตกลงให้เชิญเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาโปรด

เมื่อเจ้าลิจฉวีจากนครเวสาลีได้เข้าเฝ้าและการาบทูลความเป็นไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาว่า
เมื่อตรัสรัตนสูตรในกรุงเวสาลี การอารักขาจักแผ่ไปแสนโกฏิจักรวาล จบสูตร สัตว์ 84,000 จักตรัสรู้ธรรม แล้วจึงทรงรับนิมนต์
นับเป็นประโยชน์ถึง 2 ทาง จึงทรงรับนิมนต์ไป ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสาร ผู้ทรงอุปฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบเช่นนั้น
ก็โปรดให้รีบแต่งทางเสด็จพระพุทธดำเนินระยะทางจากกรุงราชคฤห์ถึงแม่น้ำคงคา อันเป็นพรมแดนแห่งแคว้นทั้งสองนั้น 5 โยชน์
รับสั่งให้ปราบพื้นถมดิน ทำทางให้เรียบ ให้ปลูกที่ประทับแรมทุกโยชน์ เตรียมให้เสด็จวันละโยชน์
แล้วทูลเชิญเสด็จพระสังฆาสัมพุทธเจ้าเสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุ 500 รูป มีการส่งเสด็จอย่างเอิกเกริกมโหฬาร 

ครั้นเมื่อเสด็จถึงเขตแดนนครเวสลี ลำดับนั้น พอพระผู้มีพระภาคเจ้ายกพระบาทแรกวางลงริมฝั่งแม่น้ำคงคา
ฝนโบกขรพรรษก็โปรยเม็ดลงมา ซากศพทั้งปวงถูกน้ำพัดส่งลงสู่แม่น้ำคงคา พื้นดินก็สะอาดสะอ้าน
และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลี ท้าวสักกะจอมทวยเทพ อันหมู่เทพห้อมล้อมก็เสด็จมาถึง
ยังผลให้อมุษย์ทั้งหลายต้องหลบลี้หนีไปจากเมืองเวสาลีเป็นอันมาก

ลำดับต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนใกล้ประตูพระนครทรงเรียกท่านพระอานนท์มา สั่งว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้
ถือเครื่องประกอบพลีกรรม เที่ยวเดินไประหว่างปราการ 3 ชั้นแห่งกรุงเวสาลีกับพวกเจ้าลิจฉวีราชกุมาร ทำพระปริตร
แล้วได้ตรัสรัตนสูตร พอพระเถระกล่าวว่า ยงฺกิ ญฺจิ เท่านั้น พวกอมนุษย์ที่อาศัยกองขยะและที่ฝาเรือนเป็นต้น
ซึ่งยังไม่หนีไปในตอนแรก ก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง 4 ประตูทั้งหลายก็ไม่มีที่ว่าง อมนุษย์บางพวก
เมื่อไม่ได้ที่ว่างที่ประตูทั้งหลาย ก็ทลายกำแพงเมืองหนีไป

พอพวกอมนุษย์พากันไปแล้ว ที่เนื้อตัวของพวกมนุษย์ทั้งหลาย โรคก็สงบไป
พวกมนุษย์ทั้งหลายก็พากันออกมาบูชาพระเถระด้วยดอกไม้ของหอมเป็นต้นทุกอย่าง มหาชนเอาของหอมทุกอย่างฉาบทาสัณฐาคารที่ประชุม
ท่ามกลางพระนคร ทำเพดานขจิตด้วยรัตนะ ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง ปูพุทธอาสน์ลง ณ
ที่นั้นแล้วนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามา

ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ รัตนสูตร


รตนสูตร
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
อะโถปิ สักกัจะ สุณันตุ ภาสิตัง
ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ

ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา
จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ
โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ
คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา
นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ
ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ
สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ
จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะตัง
กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห
ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร
อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง
วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง
เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา
นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ความหมาย
รัตนสูตร ในขุททกป
าฐะ
[ ๗] ภูตเหล่าใด ประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดา เหล่าใดประชุม
กันแล้วในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดีและจงฟังภาษิตโดย
เคารพ ดูกรภูตทั้งปวง เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ขอจง
แผ่เมตตาจิตในหมู่มนุษย์ มนุษย์เหล่าใด นำพลีกรรมไปทั้งกลางวันทั้งกลางคืน เพราะเหตุนั้นแล
ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทรักษามนุษย์เหล่านั้น ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้
หรือในโลกอื่นหรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้น เสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย
พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระศากยมุนีมีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใดเป็นที่สิ้นกิเลส
เป็นที่สำรอกกิเลส เป็นอมฤตธรรม อันประณีต ธรรมชาติอะไรๆเสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี
ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิใด ว่าเป็น
ธรรมอันสะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวซึ่งสมาธิใด ว่าให้ผลในลำดับ
สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

บุคคล ๘จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้น
ควรแก่ทักษิณาทาน เป็นสาวกของพระตถาคต ทานที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้น
ย่อมมีผลมาก สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีตด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระอริยบุคคลเหล่าใด ในศาสนาของพระโคดม ประกอบดีแล้ว
[ ด้วยกายประโยคและวจีประโยคอันบริสุทธิ์] มีใจมั่นคงเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย [ ในกายและชีวิต]
พระอริยบุคคลเหล่านั้นบรรลุอรหัตผลที่ควรบรรลุหยั่งลงสู่อมตนิพพาน ได้ซึ่งความดับกิเลสโดย
เปล่า เสวยผลอยู่ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

เสาเขื่อนที่ฝังลงดินไม่หวั่นไหวเพราะ ลมทั้งสี่ทิศ ฉันใด ผู้ใดพิจารณาเห็นอริยสัจทั้งหลาย
เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นสัตบุรุษ ผู้ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรมมีอุปมาฉันนั้น สังฆรัตนะนี้
เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระอริยบุคคลเหล่าใด ทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจทั้งหลาย อันพระศาสดาทรงแสดงดีแล้ว
ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง พระอริยบุคคลเหล่านั้น ยังเป็นผู้ ประมาทอย่างแรงกล้าอยู่ก็จริง
ถึงกระนั้น ท่านย่อมไม่ยึดถือเอาภพที่ ๘ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่สัตว์เหล่านี้

สักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา หรือแม้สีลัพพตปรามาส อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรมเหล่านั้น
อันพระอริยบุคคลนั้นละได้แล้วพร้อมด้วยความถึงพร้อมแห่งการเห็น[ นิพพาน] ทีเดียว
อนึ่ง พระอริยบุคคลเป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ ทั้งไม่ควรเพื่อจะทำอภิฐานทั้ง ๖ [ คือ อนันตริยกรรม ๕
และการเข้ารีด] สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระอริยบุคคลนั้นยัง ทำบาปกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ ก็จริง ถึงกระนั้น
ท่านไม่ควร เพื่อจะปกปิดบาปกรรมอันนั้น ความที่บุคคลผู้มีธรรมเครื่องถึงนิพพาน
อันตนเห็นแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อปกปิดบาปกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว สังฆรัตนะแม้นี้
เป็นรัตนะอันประณีตด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พุ่มไม้ในป่ามียอดอันบานแล้วในเดือนต้นในคิมหันตฤดู ฉันใดพระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรม
อันประเสริฐยิ่ง เป็นเครื่องให้ถึงนิพพาน เพื่อประโยชน์เกื้อกูลมีอุปมา ฉันนั้นพุทธรัตนะ
แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงทราบธรรมอันประเสริฐ ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ
ทรงนำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ
พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระอริยบุคคลเหล่าใดผู้มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป มีกรรมเก่าสิ้นแล้ว
ไม่มีกรรมใหม่เครื่องสมภพพระอริยบุคคลเหล่านั้น มีพืชอันสิ้นแล้ว มีความพอใจไม่งอกงามแล้ว
เป็นนักปราชญ์ ย่อมนิพพาน เหมือนประทีปอันดับไป ฉะนั้น สังฆรัตนะ
แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว
ในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระพุทธเจ้า ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศก็ดี หรือ ภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว
ในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการพระธรรม อันไปแล้วอย่างนั้น อันเทวดา
และมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือ ภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว
ในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการ พระสงฆ์ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดา
และมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ฯ

จบรัตนสูตร ฯ

อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ- ธรรมบท- อุทาน- อิติวุตตกะ- สุตตนิบาต
หน้าที่ ๓ - ๖ หัวข้อที่ ๗



พระปริตร
มงคลปริตร รัตนปริตร กรณียปริตร ขันธปริตร ธชัคคปริตร อาฏานาฏิยปริตร
อังคุลิมาลปริตร วัฏฏกปริตร โมรปริตร