บทขัด มังคะละสุตตัง หรือ มงคลสูตร
เย สันตา สันตะจิตตา ติสะระณะสะระณา เอตถะ โลกันตะเร วา
ภุมมาภุมมา จะ เทวา คุณะคะณะคะหะณัพยาวะฏา สัพพะกาลัง
เอเต อายันตุ เทวา วะระกะนะกะมะเย เมรุราเช วะสันโต
สันโต สันโต สะเหตุง มุนิวะระวะจะนัง โสตุมัคคัง สะมัคคัง ฯ
สัพเพสุ จักกะวาเฬสุ ยักขา เทวา จะ พรัหมุโน
ยัง อัมเหหิ กะตัง ปุญญัง สัพพะสัมปัตติสาธะกัง
สัพเพ ตัง อะนุโมทิตวา สะมัคคา สาสะเน ระตา
ปะมาทะระหิตา โหนตุ อารักขาสุ วิเสสะโต
สาสะนัสสะ จะ โลกัสสะ วุฑฒี ภะวะตุ สัพพะทา
สาสะนัมปิ จะ โลกัญจะ เทวา รักขันตุ สัพพะทา
สัทธิง โหนตุ สุขี สัพเพ ปะริวาเรหิ อัตตะโน
อะนีฆา สุมะนา โหนตุ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ ฯ
ยัญจะ ทวาทะสะ วัสสานิ จินตะยิงสุ สะเทวะกา
จิรัสสัง จินตะยันตาปิ เนวะ ชานิงสุ มังคะลัง
จักกะวาฬะสะหัสเสสุ ทะสะสุ เยนะ ตัตตะกัง
กาลัง โกลาหะลัง ชาตัง ยาวะ พรัหมะนิเวสะนา
ยัง โลกะนาโถ เทเสสิ สัพพะปาปะวินาสะนัง
ยัง สุตวา สัพพะทุกเขหิ มุจจันตาสังขิยา นะรา
เอวะมาทิคุณูเปตัง มังคะลันตัมภะณานะ เห ฯ

บทสวด มงคลสูตร (มังคะละสุตตัง)

เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน
อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม อะถะ โข อัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา,
อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ
อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐาสิ
เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา, ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ

พะหู เทวา มะนุสสาจะ มังคะลานิ อะจินตะยุง,
อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง

อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา
อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
อะนากลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห
อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังตะละมุตตะมัง ฯ

อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา
กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ตะโป จะ พ๎รัห๎มะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

เอตาทิสานิ กัต๎วานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ

บทสวด มงคลสูตร แปล

(หันทะ มะยัง มังคะละสุตตะคาถาโย ภะณามะ เส ฯ)
เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง
-ในสมัยหนึ่ง พระอานนท์เถระเจ้า ได้สดับมาว่า

ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน
อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม
-พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ ในพระเชตวนาราม
ของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี

อะถะ โข อัญญะตะรา เทวะตา
-ครั้งนั้นแล เทพยดาองค์ใดองค์หนึ่ง

อะภิกกันตายะ รัตติยา, อะภิกกันตะวัณณา
-มีรัศมีงามยิ่ง เมื่อราตรีปฐมยามผ่านไปแล้ว

เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา
-ยังพระเชตวันทั้งสิ้น ให้สว่างไสวทั่วแล้ว

เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ
-ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จนถึงที่ประทับ

อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐาสิ
-ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา, ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
-แล้วได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า

พะหู เทวา มะนุสสาจะ
-เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก

มังคะลานิ อะจินตะยุง, อากังขะมานา โสตถานัง
-ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดถึงมงคล
คือเหตุให้ถึงความเจริญทั้งหลาย

พรูหิ มังคะละมุตตะมัง
-ของพระองค์ จงตรัสบอกมงคลอันสูงสุดด้วยเถิด ดังนี้

(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า)
อะเสวะนา จะ พาลานัง

-การไม่คบคนพาลทั้งหลาย

ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
-การคบแต่บัณฑิตทั้งหลาย

ปูชา จะ ปูชะนียานัง
-การบูชาคนที่ควรบูชา

เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- ๓ ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด

ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ
-การอยู่ในประเทศอันสมควร

ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา
-ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำไว้แล้ว ในกาลก่อน

อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ
-การตั้งตนไว้โดยชอบธรรม

เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
-๓ ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด

พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ
-ความเป็นผู้เรียนรู้มาก, การมีศิลปวิทยา

วินะโย จะ สุสิกขิโต
-ความเป็นผู้มีระเบียบวินัยดี

สุภาสิตา จะ ยา วาจา
-การพูดแต่วาจาที่ดี

เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
-๓ ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด

มาตาปิตุอุปัฏฐานัง
-การบำรุงบิดามารดา

ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
-การสงเคราะห์บุตร, การสงเคราะห์ภรรยา

อะนากลา จะ กัมมันตา
-การเป็นผู้ทำงานไม่คั่งค้าง

เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
-๓ ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด

ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ
-การให้ทาน, การประพฤติธรรม คือกุศลกรรมบถ ๑๐

ญาตะกานัญจะ สังคะโห
-การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย

อะนะวัชชานิ กัมมานิ
-การทำงานที่ปราศจากโทษ

เอตัมมังตะละมุตตะมัง ฯ
-๓ ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด

อาระตี วิระตี ปาปา
-การงดเว้นจากความชั่ว

มัชชะปานา จะ สัญญะโม
-การละเว้นจากการดื่มน้ำเมา

อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ
-การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย

เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
-๓ ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด

คาระโว จะ นิวาโต จะ
-การมีสัมมาคารวะ, การอ่อนน้อมถ่อมตน

สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา
-มีความสันโดษ, มีความกตัญญู

กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง
-การฟังธรรมตามกาลเวลา

เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
-๓ ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด

ขันตี จะ โสวะจัสสะตา
-มีความอดทน, ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย

สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
-การได้พบเห็นสมณะ คือ ผู้สงบระงับ

กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา
-การสนทนาธรรมตามกาลเวลา

เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
-๓ ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด

ตะโป จะ พ๎รัห๎มะจะริยัญจะ
-มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, การประพฤติพรหมจรรย์

อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
-การเห็นอริสัจทั้งหลาย

นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ
-การกระทำพระนิพพานให้แจ้ง

เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
-๓ ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด

ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
-จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งแปด

อะโสกัง วิระชัง เขมัง
-จิตไม่เศร้าโศก, จิตหมดธุลี คือกิเลส,
จิตถึงความเกษม คือปลอดจากโยคะกิเลสทั้งปวง

เอตัมมังคะละมุตตะมัง
-๓ ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด

เอตาทิสานิ กัต๎วานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ

-เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พากันปฏิบัติมงคลธรรม
เครื่องให้ถึงความเจริญเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ข้าศึกทุกหมู่เหล่า
ย่อมถึงความสุขสวัสดี ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ

ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ
-ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุด ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น
ด้วยประการฉะนี้แล ฯ

ที่มา มงคลลสูตร หรือ มงคลปริตร

...............................................
คัดลอกจาก หนังสือมนต์พิธีแปล
รวบรวมโดย พระครูอรุณธรรมรังษี (เอี่ยม สิริวัณโณ)
วัดอรุณราชวราราม(คณะ๓) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ



บทชุมนุมเทวดา บทสวดนะมะการะสิทธิคาถา บทสวดสัมพุทเธ บทสวดนะโมการะอัฏฐะกะ
บทสวดมังคะละสุตตัง บทสวดระตะนะสุตตัง บทสวดกะระณียะเมตตะสุตตัง บทสวดขันธะปะริตตะคาถา
บทสวดโมระปะริตตัง บทสวดวัฏฏะกะปะริตตัง บทสวดอาฏานาฏิยะปะริตตัง บทสวดโพชฌังคะปะริตตัง
บทสวดอะภะยะปะริตตัง บทสวดเทวะตาอุยโยชะนะคาถา บทสวดมงคลจักรวาฬใหญ่ คำอาราธนาพระปริตร
 กลับสู่หน้าหลัก