บทขัด กะระณียะเมตตะสุตตัง

ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง
ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต
สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ
เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

บทสวด กะระณียะเมตตะสุตตัง

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินท๎ริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภุเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

เมตตัญจะ สัพพะโลกัส๎มิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พ๎รัห๎มะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ

บทสวด กะระณียะเมตตะสุตตัง แปล

(หันทะ มะยัง กะระณียะเมตตะสุตตะคาถาโย ภะณามะ เส)

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
-กิจอันภิกษุ(ผู้บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่า) ผู้ฉลาดในประโยชน์
ใคร่จะบรรลุสันตบทอยู่เสมอ พึงกระทำก็คือ

สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ
-พึงเป็นผู้อาจหาญ เป็นคนตรง และเป็นคนซื่อ

สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
-เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน และไม่เย่อหยิ่ง

สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ
-เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้เลี้ยงง่าย

อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
-เป็นผู้มีกิจน้อย มีความประพฤติเบาพร้อม(คือเหมาะสม)

สันตินท๎ริโย จะ นิปะโก จะ
-มีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญารักษาตน

อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
-เป็นผู้ไม่คะนอง เป็นผู้ไม่พัวพันกับชาวบ้าน

นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
-ไม่พึงประพฤติในสิ่งที่เลวทรามใดๆ
ที่เป็นเหตุให้คนอื่นซึ่งเป็นผู้รู้ ติเตียนเอาได้

สุขิโน วา เขมิโน โหตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
-จงเจริญเมตตาจิตว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจ
มีแต่ความเกษมสำราญเถิด

เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ
-สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย ทุกเหล่าหมดบรรดามี

ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
-ที่เป็นประเภทเคลื่อนไหวได้ก็ดี ประเภทอยู่กับที่ก็ดี

ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา

-เป็นสัตว์มีขนาดลำตัวยาว ปานกลาง หรือสั้นก็ดี
เป็นสัตว์มีลำตัวใหญ่ ปานกลาง หรือเล็กก็ดี
เป็นชนิดมีลำตัวละเอียด หรือมีลำตัวหยาบก็ดี

ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา

-เป็นจำพวกที่ได้เห็นแล้ว หรือไม่ได้เห็นก็ดี

เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
-เป็นผู้อยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ดี

ภูตา วา สัมภะเวสี วา
-เป็นผู้ที่เกิดแล้ว หรือกำลังแสวงหาที่เกิดอยู่ก็ดี

สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
-ขอสัตว์ทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจเถิด

นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ
-บุคคลไม่พึงข่มแหงกัน

นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
-ไม่พึงดูหมิ่นเหยียดหยามกัน ไม่ว่าในที่ไหนๆ

พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
-ไม่พึงคิดก่อทุกข์ให้แก่กันและกัน เพราะความโกรธและความคุ้มแค้น

มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
-มารดาถนอมบุตรคนเดียว ผู้เกิดในตน
ด้วยการยอมสละชีวิตของตนแทน ฉันใด

เอวัมปิ สัพพะภุเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

-พึงเจริญเมตตาจิตอันกว้างใหญ่ อันหาประมาณมิได้
ในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉันนั้นเถิด

เมตตัญจะ สัพพะโลกัส๎มิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง

-พึงเจริญเมตตาจิตอันกว้างใหญ่ อันหาขอบเขตมิได้
อันไม่มีเวร ไม่มีศัตรูคู่ภัย ไปในสัตว์โลกทั้งสิ้น ทั้งในทิศเบื้องบน
ในทิศเบื้องต่ำ และในทิศขวาง

ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พ๎รัห๎มะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ

-บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวเมตตาวิหารธรรมนี้ว่า
เป็นพรหมวิหารในพระศาสนานี้

ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา
-บุคคลผู้นั้น ละความเห็นผิด คือสักกายทิฐิเสียได้เป็นผู้มีศีล

ทัสสะเนนะ สัมปันโน
-ถึงพร้อมแล้ว ด้วยญาณทัสสนะ
(คือการเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยญาณ ซึ่งเป็นองค์โสดาปัตติมรรค)

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง
-สามารถกำจัดความยินดีในกามทั้งหลายเสียได้ (ด้วยอนาคามิมรรค)

นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ
-ย่อมไม่ถึงซึ่งการนอนในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียวแล (คือไม่กลับมาเกิดอีก)

...............................................
คัดลอกจาก หนังสือมนต์พิธีแปล
รวบรวมโดย พระครูอรุณธรรมรังษี (เอี่ยม สิริวัณโณ)
วัดอรุณราชวราราม(คณะ๓) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ


ที่มา กรณียเมตตปริตร หรือ กรณียเมตตสูตร  



บทชุมนุมเทวดา บทสวดนะมะการะสิทธิคาถา บทสวดสัมพุทเธ บทสวดนะโมการะอัฏฐะกะ
บทสวดมงคลสุตตัง บทสวดระตะนะสุตตัง บทสวดกะระณียะเมตตะสุตตัง บทสวดขันธะปะริตตะคาถา
บทสวดโมระปะริตตัง บทสวดวัฏฏะกะปะริตตัง บทสวดอาฏานาฏิยะปะริตตัง บทสวดโพชฌังคะปะริตตัง
บทสวดอะภะยะปะริตตัง บทสวดเทวะตาอุยโยชะนะคาถา บทสวดมงคลจักรวาฬใหญ่ คำอาราธนาพระปริตร
บทสวดอังคุลิมาละปะริตตัง      

 กลับสู่หน้าหลัก