การสวดปาฏิโมกข์ย่อ
ปาฏิโมกข์ย่อ มีพุทธานุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ย่อได้ ในเมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเหตุ ๒ อย่าง คือ
๑. ไม่มีภิกษุจำปาฏิโมกข์ได้จนจบ (พึงสวดเท่าอุเทศที่จำได้)
๒. เกิดเหตุฉุกเฉินขัดข้องที่เรียกว่าอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งใน อันตรายทั้ง ๑๐
( กำลังสวดอุเทศใดค้างอยู่ เลิกอุเทศนั้นกลางคันได้ และพึงย่อตั้งแต่อุเทศนั้นไปด้วยสุตบท คือ คำว่า สุต ที่ประกอบรูปเป็น สุตา ตามไวยากรณ์ ทั้งนี้ยกเว้นนิทานุทเทสซึ่งต้องสวดให้จบ)
สมมติว่าสวดปาราชิกุทเทสจบแล้ว ถ้าสวดย่อตามแบบที่ท่านวางไว้ จะได้ดังนี้:
สุตา โข อายสฺมนฺเตหิ เตรส สงฺฆาทิเสสา ธมฺมา , สุตา โข อายสฺมนฺเตหิ เทฺว อนิยตา ธมฺมา , ฯเปฯ
ลงท้ายว่า เอตฺตกํ ตสฺส ภควโต ฯเปฯ สิกฺขิตพฺพํ
แบบที่วางไว้เดิมนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ไม่ทรงเห็นด้วยในบางประการ และทรงมีพระมติว่า
ควรสวดย่อดังนี้
( สวดปาราชิกุทเทสจบแล้ว สวดคำท้ายทีเดียว):
“ อุทฺทิฏฺฐํ โข อายสฺมนฺโต นิทานํ , อุทฺทิฏฺฐา จตฺตาโร ปาราชิกา ธมฺมา , สุตา เตรส สงฺฆาทิเสสา ธมฺมา ,
ฯเปฯ สุตา สตฺตาธิกรณสมถา ธมฺมา , เอตฺตกํ ฯเปฯ สิกฺขิตพฺพํ ”;
๓ รูป ท่านให้ทำปาริสุทธิอุโบสถ คือประชุมกันในโรงอุโบสถแล้ว รูปหนึ่งตั้งญัตติว่าดังนี้
" สุณนฺตุ เม ภนฺเต อายสฺมนฺตา, อชฺชุโปสโถ ปณฺณรโส
ยทายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ, มยํ อยฺมํ ปาริสุทฺธิอุโปสถํ กเรยฺยาม."
แปล : " ท่านทั้งหลายเจ้าข้า อุโบสถวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพร้อม
พรั่งของท่านถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงทำปาริสุทธิอุโบสถด้วยกัน."
[ ถ้ารูปที่ตั้งญัตติแก่กว่าเพื่อน ว่า " อาวุโส" แทน " ภนฺเต"
ถ้าเป็นวัน ๑๔ ค่ำ ว่า " จาตุทฺทโส" แทน " ปณฺณรโส"].
|