บทสวดพระปาฏิโมกข์

บทสวด อธิกรณสมถะ ๗

อิเม โข ปะนายัส๎มันโต สัตตาธิกะระณะสะมะถา ธัมมา อุทเทสัง อาคัจฉันติ.

อุปปันนุปปันนานัง อะธิกะระณานัง สะมะถายะ วูปะ สะมายะ สัมมุขาวินะโย ทาตัพโพ , สะติวินะโย ทาตัพโพ , อะมูฬ๎หะวินะโย
ทาตัพโพ , ปะฏิญญาตะกะระณัง , เยภุยยะสิกา , ตัสสะ ปาปิยะสิกา , ติณะวัตถาระโกติ.

อุททิฏฐา โข อายัส๎มันโต สัตตาธิกะระณะสะมะถา ธัมมา.
ตัตถายัส๎มันเต ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ทุติยัมปิ ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ตะติยัมปิ ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ปะริสุทเธตถายัส๎มันโต ตัส๎มา ตุณ๎หี , เอวะเมตัง ธาระยามิ.
สัตตาธิกะระณะสะมะถา นิฏฐิตา.

อุททิฏฐัง โข อายัส๎มันโต นิทานัง ,
อุททิฏฐา จัตตาโร ปาราชิกา ธัมมา ,
อุททิฏฐา เตระสะ สังฆาทิเสสา ธัมมา ,
อุททิฏฐา เท๎ว อะนิยะตา ธัมมา.
อุททิฏฐา ติงสะ นิสสัคคิยา ปาจิตติยา ธัมมา ,
อุททิฏฐา เท๎วนะวุติ ปาจิตติยา ธัมมา ,
อุททิฏฐา จัตตาโร ปาฏิเทสะนียา ธัมมา ,
อุททิฏฐา (ปัญจะสัตตะติ) เสขิยา ธัมมา ,
อุททิฏฐา สัตตาธิกะระณะสะมะถา ธัมมา ,

เอตตะกันตัสสะ ภะคะวะโต สุตตาคะตัง สุตตะปะริยาปันนังอัน๎วัฑฒะมาสัง อุทเทสัง อาคัจฉะติ.
ตัตถะ สัพเพเหวะ สะมัคเคหิ สัมโมทะมาเนหิ อะวิวะ ทะมาเนหิ สิกขิตัพพันติ.

ภิกขุปาฏิโมกขัง นิฏฐิตัง.

คำแปล พระภิกขุปาฏิโมกข์

อธิกรณสมถะ ๗

ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่ออธิกรณสมถะ ๗ เหล่านี้แล ย่อมมาสู่ อุทเทส.

เพื่อความสงบ เพื่อความระงับ ซึ่งอธิกรณ์ทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว
ที่เกิดขึ้นแล้ว พึงให้ระเบียบอันจะพึงทำให้ถึงพร้อมหน้า
พึงให้ระเบียบยกเอาสติขึ้นเป็นหลัก พึงให้ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว
( พึงให้ ) ทำตามรับ ( พึงให้ ) ตัดสินเอาตามคำของคนมากเป็นประมาณ ( พึงให้ )
กิริยาที่ลงโทษแก่ผู้ผิด ( พึงให้ ) ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า.  

ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่ออธิกรณสมถะ ๗ อันข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้วแล
ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในเรื่องนั้น ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ?
ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๒ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ?
ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๓ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ?
ท่าน ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วในเรื่องนั้นเพราะฉะนั้น จึงนิ่ง.
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.  

อธิกรณสมถะ ๗ จบ.

ท่านทั้งหลาย คำนิทาน ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้วแล
ธรรมทั้งหลายชื่อปาราชิก ๔ ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว
ธรรมทั้งหลายชื่อ สังฆาทิเสส ๑๓ ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว
ธรรมทั้งหลายชื่ออนิยต ๒ ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว
ธรรมทั้งหลาย ชื่อนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว
ธรรมทั้งหลายชื่อปาจิตตีย์ ๙๒ ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว
ธรรมทั้งหลายชื่อปาฏิเทสนียะ ๔ ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว
ธรรมทั้งหลายชื่อเสขิยะ ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว
ธรรมทั้งหลายชื่ออธิกรณสมถะ ๗ ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว
คำเท่านี้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น นับเนื่องในสูตรแล้ว
มาในสูตรแล้ว ย่อมมาสู่อุทเทส ทุกๆ กึ่งเดือน . อันภิกษุทั้งหลายทั้งปวง นั่นแล
พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้ชื่นชมด้วยดีอยู่ เป็นผู้ไม่วิวาทอยู่

ศึกษาในพระปาฏิโมกข์นั้นดังนี้.

ภิกขุปาฏิโมกข์ จบ


สารบัญ บทสวดพระปาฏิโมกข์
บทสวด บุพพกรณ์และบุพพกิจ บทสวด ปาฏิเทสนีย์ ๔
บทสวดนำ พระภิกขุปาฏิโมกข์ บทสวด เสขิยวัตร ๗๕
บทสวด ปาราชิก ๔ บทสวด อธิกรณสมถะ ๗
บทสวด สังฆาทิเสส ๑๓ การนับพระภิกษุ
บทสวด อนิยต ๒ คำขอโอกาสแสดงพระภิกขุปาฏิโมกข์
บทสวด นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ ปฏิทินปาติโมกข์ ปี 2563
บทสวด ปาจิตตีย์ ๙๒ การแบ่งฤดู