บทสวดพระปาฏิโมกข์

บทสวด นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐

อิเม โข ปะนายัส๎มันโต ติงสะ นิสสัคคิยา ปาจิตติยา ธัมมา อุทเทสัง อาคัจฉันติ.

๑. นิฏฐิตะจีวะรัส๎มิง ภิกขุนา อุพภะตัส๎มิง กะฐิเน , ทะสา หะปะระมัง อะติเรกะจีวะรัง ธาเรตัพพัง , ตัง อะติกกามะยะโต ,
นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๒. นิฏฐิตะจีวะรัส๎มิง ภิกขุนา อุพภะตัส๎มิง กะฐิเน , เอกะรัตตัมปิ เจ ภิกขุ ติจีวะเรนะ วิปปะวะเสยยะ , อัญญัต๎ระ
ภิกขุสัมมะติยา , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๓. นิฏฐิตะจีวะรัส๎มิง ภิกขุนา อุพภะตัส๎มิง กะฐิเน , ภิกขุโน ปะเนวะ อะกาละจีวะรัง อุปปัชเชยยะ , อากังขะมาเนนะ ภิกขุนา
ปะฏิคคะเหตัพพัง , ปะฏิคคะเหต๎วา ขิปปะเมวะ กาเรตัพพัง , โน จัสสะ ปาริปูริ , มาสะปะระมันเตนะ ภิกขุนา ตัง จีวะรัง
นิกขิปิตัพพัง อูนัสสะ ปาริปูริยา สะติยา ปัจจาสายะ , ตะโต เจ อุตตะริง นิกขิเปยยะ สะติยาปิ ปัจจาสายะ , นิสสัคคิยัง
ปาจิตติยัง.

๔. โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา ปุราณะจีวะรัง โธวาเปยยะ วา ระชาเปยยะ วา อาโกฏาเปยยะ วา , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๕. โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา หัตถะโต จีวะรัง ปะฏิคคัณเหยยะ อัญญัต๎ระ ปาริวัฏฏะกา , นิสสัคคิยัง
ปาจิตติยัง.

๖. โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาตะกัง คะหะปะติง วา คะหะ ปะตานิง วา จีวะรัง วิญญาเปยยะ อัญญัต๎ระ สะมะยา , นิสสัคคิยัง
ปาจิตติยัง. ตัตถายัง สะมาโย. อัจฉินนะจีวะโร วา โหติ ภิกขุ นัฏฐะจีวะโร วา , อะยัง ตัตถะ สะมะโย.

๗. ตัญเจ อัญญาตะโก คะหะปะติ วา คะหะปะตานี วา พะหูหิ จีวะเรหิ อะภิหัฏฐุมปะวาเรยยะ , สันตะรุตตะระปะระมัน เตนะ ภิกขุนา ตะโต
จีวะรัง สาทิตัพพัง , ตะโต เจ อุตตะริง สาทิเยยยะ , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๘. ภิกขุง ปะเนวะ อุททิสสะ อัญญาตะกัสสะ คะหะ ปะติสสะ วา คะหะปะตานิยา วา จีวะระเจตาปะนัง อุปักขะฏัง โหติ "อิมินา
จีวะระเจตาปะเนนะ จีวะรัง เจตาเปต๎วา อิตถัน นามัง ภิกขุง จีวะเรนะ อัจฉาเทสสามีติ , ตัต๎ระ เจ โส ภิกขุ ปุพเพ อัปปะวาริโต
อุปะสังกะมิต๎วา จีวะเร วิกัปปัง อาปัชเชยยะ " สาธุ วะตะ มัง อายัส๎มา อิมินา จีวะระเจตาปะเนนะ เอวะรูปัง วา เอวะรูปัง วา จีวะรัง
เจตาเปต๎วา อัจฉาเทหีติ กัล๎ยาณะกัม๎ยะตัง อุปาทายะ , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๙. ภิกขุง ปะเนวะ อุททิสสะ อุภินนัง อัญญาตะกานัง คะหะปะตีนัง วา คะหะปะตานีนัง วา ปัจเจกะจีวะระเจตาปะนา อุปักขะฏา โหนติ
"อิเมหิ มะยัง ปัจเจกะจีวะระเจตาปะเนหิ ปัจเจกะจีวะรานิ เจตาเปต๎วา อิตถันนามัง ภิกขุง จีวะเรหิ อัจฉา เทสสามาติ , ตัต๎ระ เจ
โส ภิกขุ ปุพเพ อัปปะวาริโต อุปะสังกะมิต๎วาจีวะเร วิกัปปัง อาปัชเชยยะ "สาธุ วะตะ มัง อายัส๎มันโต อิเมหิ
ปัจเจกะจีวะระเจตาปะเนหิ เอวะรูปัง วา เอวะรูปัง วา จีวะรัง เจตาเปต๎วา อัจฉาเทถะ อุโภ วะ สันตา เอเกนาติ กัล๎ยาณะ กัม๎ยะตัง
อุปาทายะ , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๑๐. ภิกขุง ปะเนวะ อุททิสสะ ราชา วา ราชะโภคโค วา พราหมะโณ วา คะหะปะติโก วา ทูเตนะ จีวะระเจตาปะนัง ปะหิเณยยะ "อิมินา
จีวะระเจตานาปะเนนะ จีวะรัง เจตาเปต๎วา อิตถันนามัง ภิกขุง จีวะเรนะ อัจฉาเทหีติ , โส เจ ทูโต ตัง ภิกขุง อุปะสังกะมิต๎วา
เอวัง วะเทยยะ "อิทัง โข ภันเต อายัส๎มันตัง อุททิสสะ จีวะระเจตาปะนัง อาภะตัง , ปะฏิคคัณหาตุ อายัส๎มา จีวะระเจตาปะนันติ ,
เตนะ ภิกขุนา โส ทูโต เอวะมัสสะ วะจะนีโย " นะ โข มะยัง อาวุโส จีวะระเจตาปะนัง ปะฏิคคัณหามะ , จีวะรัญจะ โข มะยัง ปะฏิคคัณหามะ
กาเลนะ กัปปิยันติ , โส เจ ทูโต ตัง ภิกขุง เอวัง วะเทยยะ "อัตถิ ปะนายัส๎มะโต โกจิ เวยยาวัจจะกะโรติ , จีวะรัตถิเกนะ ภิกขะเว
ภิกขุนา เวยยาวัจจะ กะโร นิททิสิตัพโพ อารามิโก วา อุปาสะโก วา "เอโส โข อาวุโส ภิกขูนัง เวยยาวัจจะกะโรติ , โส เจ ทูโต ตัง
เวยยาวัจจะกะรัง สัญญาเปต๎วา ตัง ภิกขุง อุปะสังกะมิต๎วา เอวัง วะเทยยะ "ยัง โข ภันเต อายัส๎มา เวยยาวัจจะกะรัง นิททิสิ,
สัญญัตโต โส มะยา , อุปะสังกะมะตุ อายัส๎มา กาเลนะ จีวะเรนะ ตัง อัจฉา เทสสะตีติ จีวะรัตถิเกนะ ภิกขะเว ภิกขุนา
เวยยาวัจจะกะโร อุปะสังกะมิต๎วา ท๎วิตติกขัตตุง โจเทตัพโพ สาเรตัพโพ "อัตโถ เม อาวุโส จีวะเรนาติ , ท๎วิตติกขัตตุง
โจทะยะมาโน สาระ ยะมาโน ตัง จีวะรัง อะภินิปผาเทยยะ , อิจเจตัง กุสะลัง , โน เจ อะภินิปผาเทยยะ , จะตุกขัตตุง ปัญจักขัตตุง
ฉักขัตตุปะระมัง ตุณ๎หีภูเตนะ อุททิสสะ ฐาตัพพัง , จะตุกขัตตุง ปัญจักขัตตุง ฉักขัตตุปะระมัง ตุณ๎หีภูโต
อุททิสสะ ติฏฐะมาโน ตัง จีวะรัง อะภินิปผาเทยยะ , อิจเจตัง กุสะลัง , โน เจ อะภินิปผาเทยยะ , ตะโต เจ อุตตะริง วายะมะมาโน ตัง
จีวะรัง อะภินิปผาเทยยะ , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง , โน เจ อะภินิปผาเทยยะ , ยะตัสสะ จีวะระเจตาปะนัง อาภะตัง , ตัตถะ สามัง วา
คันตัพพัง , ทูโต วา ปาเหตัพโพ "ยัง โข ตุมเห อายัส๎มันโต ภิกขุง อุททิสสะ จีวะระเจตาปะนัง ปะหิณิตถะ , นะ ตันตัสสะ
ภิกขุโน กิญจิ อัตถัง อะนุโภติ , ยุญชันตายัส๎มันโต สะกัง , มา โว สะกัง วินัสสีติ. อะยัง ตัตถะ สามีจิ.

จีวะระวัคโค ปะฐะโม.

๑๑. โย ปะนะ ภิกขุ โกสิยะมิสสะกัง สันถะตัง การาเปยยะ , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๑๒. โย ปะนะ ภิกขุ สุทธะกาฬะกานัง เอฬะกะโลมานัง สันถะตัง การาเปยยะ , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๑๓. นะวัมปะนะ ภิกขุนา สันถะตัง การะยะมาเนนะ เท๎ว ภาคา สุทธะกาฬะกานัง เอฬะกะโลมานัง อาทาตัพพา , ตะติยัง โอทาตานัง ,
จะตุตถัง โคจะริยานัง , อะนาทา เจ ภิกขุ เท๎ว ภาเค สุทธะกาฬะกานัง เอฬะกะโลมานัง ตะติยัง โอทาตานัง จะตุตถัง โคจะริยานัง นะวัง
สันถะตัง การาเปยยะ , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๑๔. นะวัมปะนะ ภิกขุนา สันถะตัง การาเปต๎วา ฉัพพัสสานิ ธาเรตัพพัง. โอเรนะ เจ ฉันนัง วัสสานัง ตัง สันถะตัง วิสสัช เชต๎วา
วา อะวิสสัชเชต๎วา วา อัญญัง นะวัง สันถะตัง การาเปยยะ อัญญัต๎ระ ภิกขุสัมมะติยา , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๑๕. นิสีทะนะสันถะตัมปะนะ ภิกขุนา การะยะมาเนนะ ปุราณะสันถะตัสสะ สามันตา สุคะตะวิทัตถิ อาทาตัพพา ทุพพัณณะกะระณายะ ,
อะนาทา เจ ภิกขุ ปุราณะสันถะตัสสะ สามันตา สุคะตะวิทัตถิง นะวัง นิสีทะนะสันถะตัง การาเปยยะ , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๑๖. ภิกขุโน ปะเนวะ อัทธานะมัคคะปะฏิปันนัสสะ เอฬะกะโลมานิ อุปปัชเชยยุง , อากังขะมาเนนะ ภิกขุนา ปะฏิค คะเหตัพพานิ ,
ปะฏิคคะเหต๎วา ติโยชะนะปะระมัง สะหัตถา หาเรตัพพานิ , อะสันเต หาระเก , ตะโต เจ อุตตะริง หะเรยยะ อะสันเตปิ หาระเก , นิสสัคคิยัง
ปาจิตติยัง.

๑๗. โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา เอฬะกะโลมานิ โธวาเปยยะ วา ระชาเปยยะ วา วิชะฏาเปยยะ วา , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๑๘. โย ปะนะ ภิกขุ ชาตะรูปะระชะตัง อุคคัณเหยยะ วา อุคคัณหาเปยยะ วา อุปะนิกขัตตัง วา สาทิเยยยะ , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๑๙. โย ปะนะ ภิกขุ นานัปปะการะกัง รูปิยะสังโวหารัง สะมาปัชเชยยะ , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๒๐. โย ปะนะ ภิกขุ นานัปปะการะกัง กะยะวิกกะยัง สะมาปัชเชยยะ , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

โกสิยะวัคโค ทุติโย.

๒๑. ทะสาหะปะระมัง อะติเรกะปัตโต ธาเรตัพโพ , ตัง อะติกกามะยะโต , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๒๒. โย ปะนะ ภิกขุ อูนะปัญจะพันธะเนนะ ปัตเตนะ อัญญัง นะวัง ปัตตัง เจตาเปยยะ , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง. เตนะ ภิกขุนา โส
ปัตโต ภิกขุ ปะริสายะ นิสสัชชิตัพโพ , โย จะ ตัสสา ภิกขุ ปะริสายะ ปัตตะปะริยันโต , โส จะ ตัสสะ ภิกขุโน ปะทา ตัพโพ
"อะยันเต ภิกขุ ปัตโต , ยาวะ เภทะนายะ ธาเรตัพโพติ. อะยัง ตัตถะ สามีจิ .

๒๓. ยานิ โข ปะนะ ตานิ คิลานานัง ภิกขูนัง ปะฏิสายะ นียานิ เภสัชชานิ , เสยยะถีทัง , สัปปิ นะวะนีตัง เตลัง มะธุผา ณิตัง ,
ตานิ ปะฏิคคะเหต๎วา สัตตาหะปะระมัง สันนิธิการะกัง ปะริภุญชิตัพพานิ , ตัง อะติกกามะยะโต นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๒๔. "มาโส เสโส คิมหานันติ ภิกขุนา วัสสิกะสาฏิ กะจีวะรัง ปะริเยสิตัพพัง , " อัฑฒะมาโส เสโส คิมหานันติ กัต๎วา
นิวาเสตัพพัง , " โอเรนะ เจ มาโส เสโส คิมหานันติ วัสสิกะสาฏิกะจีวะรัง ปะริเยเสยยะ. "โอเรนัฑฒะมาโส เสโส คิมหานันติ กัต๎วา
นิวาเสยยะ , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๒๕ . โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุสสะ สามัง จีวะรัง ทัต๎วา กุปิโต อะนัตตะมะโน อัจฉินเทยยะ วา อัจฉินทาเปยยะ วา , นิสสัคคิยัง
ปาจิตติยัง.

๒๖. โย ปะนะ ภิกขุ สามัง สุตตัง วิญญาเปต๎วา ตันตะ วาเยหิ จีวะรัง วายาเปยยะ , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๒๗. ภิกขุง ปะเนวะ อุททิสสะ อัญญาตะโก คะหะปะติ วา คะหะปะตานี วา ตันตะวาเยหิ จีวะรัง วายาเปยยะ , ตัต๎ระ เจ โส ภิกขุ ปุพเพ
อัปปะวาริโต ตันตะวาเย อุปะสังกะมิต๎วา จีวะเร วิกัปปัง อาปัชเชยยะ "อิทัง โข อาวุโส จีวะรัง มัง อุททิสสะ วียะติ , อายะตัญจะ
กะโรถะ , วิตถะตัญจะ อัปปิตัญจะ สุวิตัญจะ สุปะวายิตัญจะ สุวิเลกขิตัญจะ สุวิตัจฉิตัญจะ กะโรถะ , อัปเปวะ นามะ มะยัมปิ
อายัส๎มันตานัง กิญจิมัตตัง อะนุปะทัชเชยยามาติ , เอวัญจะ โส ภิกขุ วัต๎วา กิญจิมัตตัง อะนุปะทัชเชยยะ อันตะ มะโส
ปิณฑะปาตะมัตตัมปิ , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๒๘. ทะสาหานาคะตัง กัตติกะเตมาสิปุณณะมัง , ภิกขุโน ปะเนวะ อัจเจกะจีวะรัง อุปปัชเชยยะ , อัจเจกัง มัญญะมาเนนะ ภิกขุนา
ปะฏิคคะเหตัพพัง , ปะฏิคคะเหต๎วา ยาวะจีวะระกาละ สะมะยัง นิกขิปิตัพพัง , ตะโต เจ อุตตะริง นิกขิเปยยะ , นิสสัคคิยัง
ปาจิตติยัง.

๒๙. อุปะวัสสัง โข ปะนะ กัตติกะปุณณะมัง , ยานิ โข ปะนะ ตานิ อารัญญะกานิ เสนาสะนานิ สาสังกะสัมมะตานิ สัปปะฏิภะยานิ ,
ตะถารูเปสุ ภิกขุ เสนาสะเนสุ วิหะรันโต อากังขะมาโน ติณณัง จีวะรานัง อัญญะตะรัง จีวะรัง อันตะระ ฆะเร นิกขิเปยยะ , สิยา จะ
ตัสสะ ภิกขุโน โกจิเทวะ ปัจจะโย เตนะ จีวะเรนะ วิปปะวาสายะ , ฉารัตตะปะระมันเตนะ ภิกขุนา เตนะ จีวะเรนะ วิปปะวะสิตัพพัง , ตะโต
เจ อุตตะริง วิปปะวะ เสยยะ , อัญญัต๎ระ ภิกขุ สัมมะติยา , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

๓๐. โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง สังฆิกัง ลาภัง ปะริณะตัง อัตตะโน ปะริณาเมยยะ , นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

ปัตตะวัคโค ตะติโย.

อุททิฏฐา โข อายัส๎มันโต ติงสะ นิสสัคคิยา ปาจิตติยา ธัมมา .
ตัตถายัส๎มันเต ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ทุติยัมปิ ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ตะติยัมปิ ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ปะริสุทเธตถายัส๎มันโต ตัส๎มา ตุณ๎หี , เอวะเมตัง ธาระยามิ .

นิสสัคคิยา ปาจิตติยา ธัมมา นิฏฐิตา

คำแปล พระภิกขุปาฏิโมกข์

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐

ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่อ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิกขาบท เหล่านี้แล ย่อมมาสู่อุทเทส. ๑.  

๑. จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว
พึงทรงอติเรกจีวรได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง
ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.  

๒. จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว
ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง
เว้นเสียแต่ภิกษุได้รับสมมติเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๓. จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะ เสียแล้ว อกาลจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ
ภิกษุหวังอยู่ก็พึงรับ ครั้นรับแล้วพึงรีบให้ทำ
ถ้าผ้านั้นมีไม่พอเมื่อความหวังว่าจะได้มีอยู่
ภิกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง
เพื่อจีวรที่ยังบกพร่องจะได้พอกัน ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่ากำหนดนั้น
แม้ความหวังว่าจะได้มีอยู่ก็เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๔. อนึ่ง ภิกษุใดยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี
ให้ทุบก็ดี ซึ่งจีวรเก่าเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๕. อนึ่ง ภืกษุใดรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
เว้นไว้แต่ของแลกเปลี่ยน เป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์.

๖. อนึ่ง ภิกษุใดขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือนก็ดี ต่อแม่เจ้าเรือนก็ดี
ผู้มิใช่ญาตินอกจากสมัย เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.สมัยในคำนั้นดังนี้ ,
คือ ภิกษุเป็นผู้มีจีวรถูกชิงเอาไปก็ดี มีจีวรฉิบหายก็ดีนี้สมัยในคำนั้น.

๗. พ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ปวารณาต่อภิกษุด้วยจีวรเป็นอันมาก
เพื่อนำไปตามใจ ภิกษุนั้นพึงยินดีจีวรมีอุตตราสงค์ กับอันตรวาสก
เป็นอย่างมาก จากจีวรเหล่านั้น.ถ้ายินดียิ่งกว่านั้นเป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์.  

๘. อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ตระเตรียมทรัพย์
สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะภิกษุไว้ว่า "เราจักจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้ว
ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร" ถ้าภิกษุนั้น เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้ว
ถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของ เขาว่า "ดีละ ท่านจงจ่ายจีวรเช่นนั้นเช่นนี้
ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรแล้วยังรูปให้ครองเถิด" ถือเอาความเป็นผู้ใคร่จีวรที่ดี ,
เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.  

๙. อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดีผู้มิใช่ญาติ ๒ คน
ตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆไว้เฉพาะภิกษุว่า
"เราทั้งหลายจักจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ นี้แล้ว
ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวรหลายผืนด้วยกัน" ถ้าภิกษุนั้น เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
เข้าไปหาแล้ว ถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของ เขาว่า
" ดีละ ขอท่านทั้งหลายจ่ายจีวรเช่นนั้นเช่นนี้ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ
แล้วทั้ง ๒ คนรวมกัน ยังรูปให้ครองจีวรผืนเดียวเถิด". ถือเอาความเป็นผู้ใคร่จีวรที่ดี ,
เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.  

๑๐. อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับ
จับจ่ายจีวรไปด้วยทูต เฉพาะภิกษุว่า "เจ้าจงจ่ายจีวร ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้ว
ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร" ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า
"ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ นำมาเฉพาะท่านขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนั้น
" ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า "พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่
พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล" ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
"ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ ?" ภิกษุต้องการจีวร
พึงแสดงชนผู้ทำการในอาราม หรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรด้วยคำว่า
"คนนั้นแล เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย"
ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
"คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว
ท่านจงเข้าไปหาเขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล" ภิกษุผู้ต้องการจีวร
เข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวง พึงเตือน ๒ - ๓ ครั้งว่า "รูปต้องการจีวร"
ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ ๒ - ๓ ครั้ง ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้.
การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้นั่นเป็นดี ถ้าสำเร็จไม่ได้ ,
พึงเข้าไปยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้งเป็นอย่างมากเธอยืนนิ่ง
ต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้งเป็น อย่างมาก ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้
การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นดี ถ้าให้ สำเร็จไม่ได้ ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้น
ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าให้สำเร็จไม่ได้พึงไปเองก็ได้
ส่งทูตไปก็ได้ ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ บอกว่า
" ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด ทรัพย์นั้น
หาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่ท่านจงทวงเอาคืนทรัพย์ของท่าน
ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย , นี้เป็นสามีจิกรรม (คือประพฤติชอบ) ในเรื่องนั้น.

จีวรวรรคที่ ๑ (จบ).

๑๑. อนึ่ง ภิกษุใดให้ทำสันถัตเจือด้วยไหม , เป็นนิสสัคคิย - ปาจิตตีย์.

๑๒. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน , เป็น นิสสัค คิยปาจิตตีย์.

๑๓. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตใหม่ พึงถือเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน
ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ , ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ , ถ้าภิกษุไม่ถือเอาขนเจียม
ดำล้วน๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ให้ทำสันถัตใหม่ ,
เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๑๔. อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ปี ถ้าหย่อนกว่า ๖ ปี
เธอสละเสียแล้วก็ดียังไม่สละแล้วก็ดี ซึ่งสันถัตนั้น ให้ทำสันถัตอื่นใหม่
เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ , เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๑๕. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตสำหรับนั่งพึงถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า
เพื่อทำให้เสียสี , ถ้าภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่ง สันถัตเก่า
ให้ทำสันถัตสำหรับนั่งใหม่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๑๖. อนึ่ง ขนเจียมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินทาง ภิกษุต้องการ พึงรับได้ ,
ครั้นรับแล้ว เมื่อคนถือไม่มี พึงถือไปด้วยมือของตนเอง ตลอดระยะทาง ๓ โยชน์
เป็นอย่างมาก ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น แม้คนถือไม่มี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.  

๑๗. อนึ่ง ภิกษุใดยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้สางก็ดี
ซึ่งขนเจียม , เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๑๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ไม่ดี ทองเงิน
หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี , เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๑๙. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงความแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ
มีประการต่างๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.  

๒๐. อนึ่ง ภิกษุใดถึงการซื้อและการขายมีประการต่างๆ
เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์  

โกสิยวรรคที่ ๒ (จบ)

๒๑. พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง
ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไปเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๒๒. อนึ่ง ภิกษุใด มีบาตรมีรอยร้าวน้อยกว่า ๕ นิ้ว
ให้จ่ายบาตรอื่นใหม่เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ภิกษุนั้นพึงสละบาตรนั้น
ในภิกษุบริษัท , บาตรใบสุดท้ายแห่งภิกษุในบริษัทนั้น
พึงมอบให้แกภิกษุนั้น สั่งว่า "นี้บาตรของท่าน พึงทรงไว้ (คือใช้) กว่าจะแตก."
นี้เป็นสามีจิกรรม (คือการชอบ) ในเรื่องนั้น.

๒๓. อนึ่ง มีเภสัช อันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธคือ เนยใส เนยข้น
น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย , ภิกษุรับ (ประเคน) ของนั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้ ๗ วัน
เป็นอย่างยิ่ง , ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไปเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.  

๒๔. ภิกษุ (รู้) ว่าฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน พึงแสวงหาจีวร
คือผ้าอาบน้ำฝนได้ (รู้) ว่าฤดูร้อยยังเหลืออีกกึ่งเดือน พึงทำนุ่งได้
ถ้าเธอ (รู้) ว่าฤดูร้อนเหลือล้ำกว่า๑ เดือนแสวงหาจีวร คือผ้าอาบน้ำฝน (รู้) ว่าฤดูร้อน
เหลือล้ำกว่ากึ่งเดือนทำนุ่ง เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

๒๕. อนึ่ง ภิกษุใด ให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้ว โกรธน้อยใจชิงเอามาก็ดี
ให้ชิงเอามาก็ดี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

๒๖. อนึ่ง ภิกษุใดขอด้ายมาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวร
เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์  

๒๗. อนึ่ง พ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ สั่งช่างหูกให้ทอจีวร
เฉพาะภิกษุ ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกแล้ว
ถึงความกำหนดในจีวรในสำนักของเขานั้นว่า จีวรผืนนี้ทอเฉพาะรูป
ขอท่านจงทำให้ยาว ให้เป็นของขึงดี ให้เป็นของที่ทอดี ให้เป็นของ ที่สางดี
ให้เป็นของที่กรีดดี แม้ไฉน รูปจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน
ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัล
โดยที่สุดแม้สักว่าบิณฑบาต เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.  

๒๘.วันปุรณมีที่ครบ ๓ เดือนแห่งเดือนกัตติกา (คือเดือน๑๑) ยังไม่มาอีก ๑๐ วัน
อัจเจกจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุรู้ว่า เป็นอัจเจกจีวร พึงรับไว้ได้ ครั้นรับไว้แล้ว
พึงเก็บไว้ได้จนตลอดสมัยที่เป็นจีวรกาล ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่านั้น
เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๒๙. อนึ่ง (ถึง) วันปุรณมีแห่งเดือนกัตติกาที่สุดแห่งฤดูฝน
ภิกษุอยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าเป็นที่รังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้าปรารถนาอยู่
พึงเก็บจีวร ๓ ผืนๆ ใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้และปัจจัยอะไรๆ
เพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้นจะพึงมีแก่ภิกษุภิกษุนั้น
พึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง , ถ้าเธออยู่ปราศยิ่งกว่านั้น
เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๓๐. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์
มาเพื่อตน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.  

ปัตตวรรคที่ ๓ ( จบ)

ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่อ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ( สิกขาบท)
ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้วแล ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลาย
ในข้อเหล่านั้น ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ?
ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๒ ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ?
ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๓ ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ?
ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ในข้อเหล่านั้นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้ ธรรมทั้งหลายชื่อ นิสสัคคิยปาจิตตีย์  

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จบ .



สารบัญ บทสวดพระปาฏิโมกข์
บทสวด บุพพกรณ์และบุพพกิจ บทสวด ปาฏิเทสนีย์ ๔
บทสวดนำ พระภิกขุปาฏิโมกข์ บทสวด เสขิยวัตร ๗๕
บทสวด ปาราชิก ๔ บทสวด อธิกรณสมถะ ๗
บทสวด สังฆาทิเสส ๑๓ การนับพระภิกษุ
บทสวด อนิยต ๒ คำขอโอกาสแสดงพระภิกขุปาฏิโมกข์
บทสวด นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ ปฏิทินปาติโมกข์ ปี 2563
บทสวด ปาจิตตีย์ ๙๒ การแบ่งฤดู