บทสวดพระปาฏิโมกข์

บทสวด อนิยต ๒

อิเม โข ปะนายัส๎มันโต เท๎ว อะนิยะตา ธัมมา อุทเทสัง อาคัจฉันติ.

๑. โย ปะนะ ภิกขุ มาตุคาเมนะ สัทธิง เอโก เอกายะ ระโห ปะฏิจฉันเน อาสะเน อะลังกัมมะนิเย นิสัชชัง กัปเปยยะ , ตะเมนัง
สัทเธยยะวะจะสา อุปาสิกา ทิส๎วา ติณณัง ธัมมานัง อัญญะตะเรนะ วะเทยยะ ปาราชิเกนะ วา สังฆาทิเสเสนะ วา ปาจิตติเยนะ วา ,
นิสัชชัง ภิกขุ ปะฏิชานะมาโน ติณณัง ธัมมานังอัญญะตะเรนะ กาเรตัพโพ ปาราชิเกนะ วา สังฆาทิเสเสนะ วา ปาจิตติเยนะ
วา , เยนะ วา สา สัทเธยยะวะจะสา อุปาสิกา วะเทยยะ , เตนะ โส ภิกขุ กาเรตัพโพ , อะยัง ธัมโม อะนิยะโต.

๒. นะ เหวะ โข ปะนะ ปะฏิจฉันนัง อาสะนัง โหติ นาลังกัมมะนิยัง , อะลัญจะ โข โหติ มาตุคามัง ทุฏฐุลลาหิ วาจาหิ
โอภาสิตุง , โย ปะนะ ภิกขุ ตะถารูเป อาสะเน มาตุคาเมนะสัทธิง เอโก เอกายะ ระโห นิสัชชัง กัปเปยยะ , ตะเมนัง สัทเธยยะวะจะสา
อุปาสิกา ทิส๎วา ท๎วินนัง ธัมมานัง อัญญะตะเรนะ วะเทยยะ สังฆาทิเสเสนะ วา ปาจิตติเยนะ วา , นิสัชชัง ภิกขุ
ปะฏิชานะมาโน ท๎วินนัง ธัมมานัง อัญญะตะเรนะ กาเรตัพโพสังฆาทิเสเสนะ วา ปาจิตติเยนะ วา , เยนะ วา สา สัทเธยยะ วะจะสา
อุปาสิกา วะเทยยะ , เตนะ โส ภิกขุ กาเรตัพโพ , อะยัมปิ ธัมโม อะนิยะโต.

อุททิฏฐา โข อายัส๎มันโต เท๎ว อะนิยะตา ธัมมา .
ตัตถายัส๎มันเต ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ทุติยัมปิ ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ตะติยัมปิ ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ปะริสุทเธตถายัส๎มันโต , ตัส๎มา ตุณ๎หี , เอวะเมตัง ธาระยามิ.

อะนิยะตุทเทโส นิฏฐิโต.

คำแปล พระภิกขุปาฏิโมกข์
อนิยตุทเทส
( อนิยต ๒)

ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่อ อนิยต๒เหล่านี้แล ย่อมมาสู่อุทเทส.  

๑. อนึ่ง ภิกษุใดผู้เดียวสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง
พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว.อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้
เห็นภิกษุกับมาตุคาม นั้นนั่นเทียว พูดขึ้นด้วยธรรม๓ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง
คือด้วยปาราชิกก็ดี ด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี
ภิกษุปฏิญญาซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม๓ ประการ คือด้วยปาราชิกบ้าง
ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น
กล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น นี้ธรรมชื่อ อนิยต  

๒. อนึ่ง สถานที่ไม่เป็นที่กำบังอะไรเลย ไม่พอที่จะทำกรรม (คือ การเสพเมถุน) ได้
แต่พอเป็นที่จะพูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบได้อยู่ และภิกษุใดผู้เดียว
สำเร็จการนั่งในที่ลับกับด้วยมาตุคามผู้เดียว ในอาสนะมีรูปอย่างนั้น
อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้เห็นภิกษุกับมาตุคามนั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม ๒ ประการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสส ก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี
ภิกษุปฏิญญาซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๒ ประการ คือด้วยสังฆาทิเสสบ้าง
ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้นกล่าวด้วยธรรมใด
ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น แม้ธรรมนี้ก็ชื่อ อนิยต.
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมชื่ออนิยต ๒

ข้าพเจ้าได้แสดงขึ้นแล้วแล ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลาย ในเรื่องนั้น
ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ.ข้าพเจ้าถาม แม้ครั้งที่ ๒
ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ.ข้าพเจ้าถาม แม้ครั้งที่ ๓
ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ?
ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วในเรื่องนี้เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้  

อนิยตุทเทส จบ



สารบัญ บทสวดพระปาฏิโมกข์
บทสวด บุพพกรณ์และบุพพกิจ บทสวด ปาฏิเทสนีย์ ๔
บทสวดนำ พระภิกขุปาฏิโมกข์ บทสวด เสขิยวัตร ๗๕
บทสวด ปาราชิก ๔ บทสวด อธิกรณสมถะ ๗
บทสวด สังฆาทิเสส ๑๓ การนับพระภิกษุ
บทสวด อนิยต ๒ คำขอโอกาสแสดงพระภิกขุปาฏิโมกข์
บทสวด นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ ปฏิทินปาติโมกข์ ปี 2563
บทสวด ปาจิตตีย์ ๙๒ การแบ่งฤดู