คำขอโอกาสแสดงปาฏิโมกข์

๑. โอกาสัง เม ภันเต เถโร เทตุ, ปาฏิโมกขัง อุทเทสิตุง ฯ (หรือ)

๒. โอกาสัง เม ภันเต เถโร เหตุ, วินะยะกะถา กะเถตุงฯ

คำขอโอกาสตั้งญัตติปวารณา

โอกาสัง เม ภันเต เถโร เทตุ, ปะวาระณาญัตติง ฐะเปตุงฯ

ถ้าในคณะสงฆ์นั้นไม่มีภิกษุเกิน ๑๐ พรรษา ให้เปลี่ยน "เถโร" เป็น "สังโฆ" แทน

อุโบสถ

๑.สังฆอุโบสถ มีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป ให้สวดปาฏิโมกข์ ภิกษุผู้จะเข้าฟังพึงแสดงอาบัติก่อน ถ้าภิกษุต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสพึงบอกไว้แก่ภิกษุแม้รูปหนึ่งว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อนั้นๆ แล้วฟังปาฏิโมกข์ได้
ถ้ากำลังสวดปาฏิโมกข์ค้างอยู่ มีภิกษุพวกอื่นมา ถ้ามีจำนวนมากกว่าให้ตั้งต้นสวดใหม่ ถ้าเท่ากันหรือน้อยกว่า
ให้ฟังส่วนที่เหลือต่อไป ถ้าสวดจบแล้วจึงมาถึงมากกว่าไม่ต้องกลับสวดอีก พึงให้บอกปาริสุทธิเป็นการสงฆ์ ดังนี้

"ปะริสุทโธ อะหัง ภันเต, ปะริสุทโธติ มัง สังโฆ ธาเรตุ" (๓ จบ)

๒. คณะอุโบสถ มีภิกษุ ๓, ๒ รูป ไม่ให้สวดปาฏิโมกข์ ให้บอกความบริสุทธิ์ของตนแก่กันและกัน
  
๒.๑ มีภิกษุ ๓ รูป ให้ตั้งญัตติก่อนว่า
         "สุณาตุ เม ภันเต อายัสมันตา อัชชุโปสะโถ ปัณณะระโส , ยะทายัสมันตานัง ปัตตะกัลลัง,
          มะยัง อัญญะมัญญัง ปาริสุทธิ อุโปสะถัง กะเรยยามะ"

   
    ครั้นตั้งญัติติแล้ว พึงบอกความบริสุทธิ์ตามลำดับพรรษาว่า
         "ปะริสุทโธ อะหัง อาวุโส, (ภันเต) ปะริสุทโธติ มัง ธาเรถ"
   
๒.๒ มีภิกษุ ๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ

๓. บุคคลอุโบสถ ภิกษุอยู่รูปเดียวให้รอภิกษุอื่นจนสิ้นเวลา
เห็นว่าไม่มาแล้วพึงอธิษฐานว่า  "อัชชะ เม อุโปสะโถ"




สารบัญ บทสวดพระปาฏิโมกข์
บทสวด บุพพกรณ์และบุพพกิจ บทสวด ปาฏิเทสนีย์ ๔
บทสวดนำ พระภิกขุปาฏิโมกข์ บทสวด เสขิยวัตร ๗๕
บทสวด ปาราชิก ๔ บทสวด อธิกรณสมถะ ๗
บทสวด สังฆาทิเสส ๑๓ การนับพระภิกษุ
บทสวด อนิยต ๒ คำขอโอกาสแสดงพระภิกขุปาฏิโมกข์
บทสวด นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ ปฏิทินปาติโมกข์ ปี 2563
บทสวด ปาจิตตีย์ ๙๒ การแบ่งฤดู




การสวดปาฏิโมกข์ย่อ อันตราย ๑๐ อย่าง อุเทศ การยกขึ้นแสดง ๕ ข้อควรรู้เกี่ยวกับพระภิกขุปาฏิโมกข์
อุโบสถขันธกะ อุโบสถ คำขอโอกาสแสดงปาฏิโมกข์ คำขอโอกาสตั้งญัตติปวารณา
ปวารณา โอวาทปาฏิโมกขคาถา โอวาทะปาฏิโมกขาทิปาโฐ บทสวด ตายนคาถา
บทสวด สัจจะกิริยาคาถา บทสวด สีลุทเทสปาฐะ