พัทธสีมา


พัทธสีมาในบัดนี้ มี ๓ ประเภท คือ.-

     ๑. ขัณฑสีมา
     ๒. มหาสีมา
     ๓. สีมาสองชั้น

๑. ขัณฑสีมา

ขัณฑสีมา นั้น เป็นสีมาขนาดเล็กที่สงฆ์กำหนดผูกเฉพาะโรงอุโบสถที่อยู่ในมหาสีมา
โดยมีสีมันตริกคั่น

     คำว่า "สีมันตริก" หมายถึง วัตถุที่เป็นเครื่องคั่นแดน ระหว่างมหาสีมา กับ ขัณฑสีมา
เพื่อไม่ให้สีมาทั้ง ๒ ติดต่อสังกระ คือ คาบเกี่ยวกัน

๒. มหาสีมา

มหาสีมา นั้น หมายถึง สีมาที่สงฆ์กำหนดผูก หรือสีมาที่ท่านกำหนดผูกทั่วบริเวณวัด คือ รอบวัด

วัด ที่มีสีมาเป็น ประเภท "มหาสีมา" เช่น
     ๑. วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
     ๒. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

๓. สีมาสองชั้น
สีมาสองชั้น นั้น หมายถึง มหาสีมา กับ ขัณฑสีมา คือ ในการสมมติสีมาสองชั้นนั้น
จำต้องมีเขตแดนคั่นนระหว่าง มหาสีมา กับ ขัณฑสีมา เพื่อไม่ให้ระคนกัน

เขตแดนคั่น ในระหว่างมหาสีมา กับ ขัณฑสีมา เรียกว่า "สีมันตริก"
สีมันตริก นั้น ล้อมรอบขัณฑสีมา ดุจเกาะมีน้ำล้อมเป็นเขต
สีมันตริก นั้น จัดเป็นอันเดียวกับ คามสีมา

พัทธสีมา ๔ ประเภท
พัทธสีมา ตามที่ปรากฎในวินัยมุขทั้งหมด มีอยู่ ๔ ประเภท คือ.-
     ๑. ขัณฑสีมา      สีมาผูกเฉพาะโรงอุโบสถ
     ๒. มหาสีมา        สีมาที่ผูกรอบบริเวณวัด
     ๓. สีมาสองชั้น   สีมาที่มีขัณฑสีมาอยู่ภายในมหาสีมา
     ๔. นทีปารสีมา   สีมาที่สมมติคร่อมฝั่งน้ำ

นทีปารสีมา
คำว่า "นทีปารสีมา" แปลว่า "สีมาฝั่งน้ำ"

นทีปารสีมา นั้น หมายถึง สีมาที่สงฆ์สมมติคร่อมฝั่งน้ำทั้ง ๒ โดยเปิดแม่น้ำไว้กลาง
สีมาชนิดนี้ ทรงอนุญาตให้สมมติได้เฉพาะในตำบลทีมีเรือไปมาอยู่ตลอด คือ.-
     ๑. เป็นท่าสำหรับจอดเรือ
     ๒. มีสะพานถาวรยื่นออก เพื่อเรือจะได้จอดเทียบได้

พัทธสีมา ทั้ง ๔ ประเภท นี้ คงมีแต่ ๓ ประเภทข้างต้น ส่วนประเภทที่ ๔ ไม่ได้ผูกแล้ว


สีมา พัทธสีมา อพัทธสีมา สีมาวิบัติด้วยเหตุ ๓
นิมิต ๘ ชนิด สมานสังวาสสีมา สีมาสังกระ ปุจฉา-วิสัชชนา
วิธีผูกพัทธสีมา แบบกรรมวาจาเนื่องด้วยสีมา คำทักนิมิต  


ที่มา หนังสืออธิบายวินัย สำหรับนักธรรมชั้นเอก
       ฉบับกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ จัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ ๒๕๓๑


 กลับสู่หน้าหลัก