สีมาสังกระ

สีมาสังกระ
     คำว่า "สีมาสังกระ" แปลว่า "สีมาที่คาบเกี่ยวกัน"
     การสมมติสีมาคาบเกี่ยวกัน จัดเป็นสีมาสังกระ เช่น การสมมติสีมาใหม่คาบเกี่ยวสีมาเดิม
แต่สงฆ์ไม่รู้ว่าเป็นสีมาเดิม ทั้งไม่ได้ทำการสวดถอนก่อน สีมาใหม่ย่อมบัติใช้ไม่ได้

มูลเหตุแห่งสีมาสังกระ
     ๑. สมมติสีมาคาบเกี่ยว
     ๒. วัตถุพาดพิงถึงกันระหว่างสองสีมา
     ๓. สงฆ์สองหมู่ทำกรรมในคราวเดียวกัน
     ๔. ทำสังฆกรรมในน่านน้ำ

๑. สมมติสีมาคาบเกี่ยว
    สมมติสีมาคาบเกี่ยวนั้น หมายถึง สมมติสีมาใหม่คาบเกี่ยวกับสีมาเดิม โดยที่
ไม่ได้สวดถอนสีมาเดิมเสียก่อน

๒. วัตถุพาดพิงถึงกันระหว่างสองสีมา
    วัตถุพาดพิงถึงกันระหว่างสองสีมานั้น เช่น ต้นไทรอันเกิดขึ้นที่สีมาแห่งหนึ่ง
พาดกิ่งออกไปหยั่งย่านลงถึงพื้นของสีมาอีกแห่งหนึ่ง เช่นนี้ ท่านว่าเป็นสีมาสังกระ
     สำหรับสีมาสังกระในข้อนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
พระองค์ผู้ทรงรจนาหนังสือวินัยมุข ไม่ทรงเห็นด้วย

๓. สงฆ์สองหมู่ทำกรรมในคราวเดียวกัน

     สงฆ์สองหมู่ทำกรรมในคราวเดียวกันนั้น ต้องทำให้ห่างกัน โดยที่สุดเว้น ๑ อัพภันดร
หรืออุทกุกเขปหนึ่ง ซึ่งเป็นเขตของสองฝ่ายนั้น โดยใจความว่า.-
          "ในแนวสงฆ์ทั้งสองฝ่าย ให้ห่างกันอย่างน้อย ๓ อัพภันดร หรือ ๓ อุทกุกเขป"

๔. ทำสังฆกรรมในน่านน้ำ
     ทำสังฆกรรมในน่านน้ำนั้น ท่านห้ามไม่ให้ผูกโยงเรือ หรือแพ สำหรับทำกรรมนั้น
ที่หลักหรือที่ต้นไม้บนตลิ่ง
     ถ้าทำอย่างนั้น ท่านกล่าวว่า อุทกุกเขป กับ คามสีมา สังกระกัน

ความแตกต่างระหว่าง พัทธสีมากับอพัทธสีมา

    พัทธสีมาที่สงฆ์สมมติแล้ว สงฆ์มีสิทธิ์เต็มที่ ทั้งไม่ละวัตถุไปเอง นอกจากสงฆ์
พร้อมใจกันประกาศ และสงฆ์มีสิทธิ์ที่จะสมมติ ติจีวราวิปวาสสีมาซ้ำลงไปด้วย
    อพัทธสีมา สงฆ์มีอำนาจเพียงถือเอาเป็นเขตชุมนุมสงฆ์ ทำสังฆกรรมเท่านั้น
ไม่มีสิทธิ์ที่จะยึดเป็นเจ้าของ และไม่มีสิทธิ์ที่จะสมมติติจีวราวิปปวาสได้อีก


สีมา พัทธสีมา อพัทธสีมา สีมาวิบัติด้วยเหตุ ๓
นิมิต ๘ ชนิด สมานสังวาสสีมา สีมาสังกระ ปุจฉา-วิสัชชนา
วิธีผูกพัทธสีมา แบบกรรมวาจาเนื่องด้วยสีมา คำทักนิมิต  



ที่มา หนังสืออธิบายวินัย สำหรับนักธรรมชั้นเอก
       ฉบับกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ จัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ ๒๕๓๑

 กลับสู่หน้าหลัก