อายตนบรรพ
(นำ) หันทะ มะยัง อายะตะนะปัพพะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ
(รับ) ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง
ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
ฉะสุ อัชฌัตติกะพาหิเรสุ อายะตะเนสุ
- คือ อายตนะภายในและภายนอก ๖
กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
ฉะสุ อัชฌัตติกะพาหิเรสุ อายะตะเนสุ
- คือ อายตนะภายในและภายนอก ๖ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
จักขุญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จัก นัยน์ตา
รูเป จะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จัก รูป
ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ, สัญโญชะนัง ตัญจะ ปะชานาติ จะ
- รู้จักนัยน์ตาและรูปทั้งสองนั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิด แห่งสังโยชน์
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อุปปาโท โหติ
- อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ ปะหานัง โหติ
- สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ ปะหีนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ
- สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
โสตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จัก หู
สัทเท จะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จัก เสียง
ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ, สัญโญชะนัง ตัญจะ ปะชานาติ จะ
- รู้จักหูและเสียงทั้งสองนั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดแห่งสังโยชน์
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อุปปาโท โหติ
- อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ ปะหานัง โหติ
- สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ ปะหีนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ
- สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ฆานัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จัก จมูก
คันเธ จะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จัก กลิ่น
ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ , สัญโญชะนัง ตัญจะ ปะชานาติ จะ
- รู้จักจมูกและกลิ่นทั้งสองนั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดแห่งสังโยชน์
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อุปปาโท โหติ
- อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ ปะหานัง โหติ
- สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ ปะหีนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ
- สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ชิวหิญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จัก ลิ้น
ระเส จะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จัก รส
ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ , สัญโญชะนัง ตัญจะ ปะชานาติ จะ
- รู้จักลิ้นและรสทั้งสองนั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดแห่งสังโยชน์
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อุปปาโท โหติ
- อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ ปะหานัง โหติ
- สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ ปะหีนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ
- สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
กายัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จัก กาย
โผฏฐัพเพ จะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จัก สิ่งที่ถูกต้องด้วยกาย
ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ, สัญโญชะนัง ตัญจะ ปะชานาติ จะ
- รู้จักกายและสิ่งที่ถูกต้องด้วยกายทั้งสองนั้น อันเป็นที่อาศัย บังเกิดแห่งสังโยชน์
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อุปปาโท โหติ
- อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ ปะหานัง โหติ
- สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ ปะหีนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ
- สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
มะนัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จัก ใจ
ธัมเม จะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้จัก ธรรมารมณ์
ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ, สัญโญชะนัง ตัญจะ ปะชานาติ จะ
- รู้จักใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิด แห่งสังโยชน์
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อุปปาโท โหติ
- อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ อุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ ปะหานัง โหติ
- สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ยะถา จะ ปะหีนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ
- สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด
ตัญจะ ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อิติ อัชฌัตตัง วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายในบ้าง
พะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายนอกบ้าง
อัชฌัตตะพะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในและภายนอกบ้าง
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในธรรมบ้าง
วะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในธรรมบ้าง
สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในธรรมบ้าง
อัตถิ ธัมมันติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
- อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ
- เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
- เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้
นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
- ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
เอวัมปิ โข ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ฉะสุ อัชฌัตติกะพาหิเรสุ อายะตะเนสุ
- คือ อายตนะภายในและภายนอก ๖ อยู่
|