อานิสงส์ของการเจริญสติปัฏฐาน ๔
(นำ) หันทะ มะยัง มะหาสะติปัฏฐานานิสังสะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ
(รับ) โย หิ โกจิ ภิกขะเว
- ภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้หนึ่งผู้ใด
อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ สัตตะ วัสสานิ
- พึงเจริญสติปัฏฐานสี่อย่างนี้ อย่างนี้ตลอด ๗ ปี
ตัสสะ ทะวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง
- เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา
- คือพระอรหัตตผล ในปัจจุบันชาตินี้
สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา
- หรือเมื่ออุปาทิ คือสังโยชน์ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี
ติฏฐันตุ ภิกขะเว สัตตะวัสสานิ
- ภิกษุทั้งหลาย เจ็ดปียกไว้ก็ได้
โย หิ โกจิ ภิกขะเว
- ภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้หนึ่งผู้ใด
อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ ฉะ วัสสานิ จะ,
ปัญจะ วัสสานิ จะ จัตตาริ วัสสานิ จะ ตีณิ วัสสานิ จะ, ทะเว วัสสานิ จะ เอกัง วัสสัญจะ
- พึงเจริญสติปัฏฐานสี่อย่างนี้ อย่างนี้ตลอดหกปี ห้าปี สี่ปี สามปี สองปี หรือหนึ่งปีก็ดี
ตัสสะ ทะวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง
- เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา
- คือพระอรหัตตผล ในปัจจุบันชาตินี้
สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา
- หรือเมื่ออุปาทิ คือสังโยชน์ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี
ติฏฐันตุ ภิกขะเว ฉะ วัสสานิจะ ปัญจะ วัสสานิ จะ,
จัตตาริ วัสสานิ จะ ตีณิ วัสสานิ จะ ทะเว วัสสานิ จะ เอกัง วัสสัญจะ
- ภิกษุทั้งหลาย หกปี ห้าปี สี่ปี สามปี สองปี
หรือหนึ่งปีก็ดี ยกไว้ก็ได้
โย หิ โกจิ ภิกขะเว
- ภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้หนึ่งผู้ใด
อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ สัตตะ มาสานิ
- เจริญสติปัฏฐานสี่อย่างนี้ อย่างนี้ตลอดเจ็ดเดือน
ตัสสะ ทะวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง
- เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา
- คือพระอรหัตตผล ในปัจจุบันชาตินี้
สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา
- หรือเมื่ออุปาทิ คือสังโยชน์ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี
ติฏฐันตุ ภิกขะเว สัตตะ มาสานิ
- ภิกษุทั้งหลาย เจ็ดเดือนยกไว้ก็ได้
โย หิ โกจิ ภิกขะเว
- ภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้หนึ่งผู้ใด
อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ ฉะ มาสานิ จะ,
ปัญจะ มาสานิ จะ จัตตาริ มาสานิ จะ ตีณิ มาสานิ จะ,
ทะเว มาสานิ จะ มาสัง จะ อัฑฒะมาสัญจะ
- พึงเจริญสติปัฏฐานสี่อย่างนี้ อย่างนี้ตลอดหกเดือน ห้าเดือน
สี่เดือน สามเดือน สองเดือน หนึ่งเดือน หรือกึ่งเดือนก็ดี
ตัสสะ ทะวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง
- เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา
- คือพระอรหัตตผล ในปัจจุบันชาตินี้
สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา
- หรือเมื่ออุปาทิ คือสังโยชน์ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี
ติฏฐะตุ ภิกขะเว อัฑฒะมาโส
- ภิกษุทั้งหลาย กึ่งเดือนยกไว้ก็ได้
โย หิ โกจิ ภิกขะเว
- ภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้หนึ่งผู้ใด
อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ สัตตาหัง
- เจริญสติปัฏฐานสี่อย่างนี้ อย่างนี้ตลอดเจ็ดวัน
ตัสสะ ทะวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง
- เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา
- คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้
สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา
- หรือเมื่ออุปาทิ คือสังโยชน์ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี
เอกายะโน อะยัง ภิกขะเว มัคโค
- ภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
สัตตานัง วิสุทธิยา
- เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
โสกะปะริเทวานัง สะมะติกกะมายะ
- เพื่อล่วงซึ่งความโศกและปริเทวะ
ทุกขะโทมะนัสสานัง อัฏฐังคะมายะ
- เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
ญายัสสะ อะธิคะมายะ
- เพื่อการบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ
- เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
ยะทิทัง จัตตาโร สะติปัฏฐานา
- หนทางนี้ คือสติปัฏฐานสี่ ด้วยประการฉะนี้แล
อิติ ยันตัง วุตตัง
- คำที่เรากล่าวมาแล้วนี้
อิทะเมตัง ปะฏิจจะ วุตตันติ
- เราอาศัยสติปัฏฐานสี่นี้นั้น กล่าวแล้ว ดังนี้
มหา. ที. ๑๐/๓๒๒-๓๙๑/๒๗๓-๓๐๐
จบมหาสติปัฏฐานสูตร
ดูกรอานนท์ ! ตถาคตจะชื่อว่า อันบริษัทสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้
ผู้ใดแล จะเป็น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่
ผู้นั้น ย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพนับถือ บูชาตถาคต ด้วยการบูชาอย่างยอด
เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ดังนี้ ฯ
มหา. ที. ๑๐/๑๑๒/๑๒๙
|