มหาสติปัฏฐานสูตร ฉบับ บาลีอักษรไทย(แปล)

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

(นำ) หันทะ มะยัง ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทาปาฐัง ภะณามะ เส ฯ

(รับ) กะตะมัญจะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
- ภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า?

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง
- นี้คือ มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโปสัมมาวาจา สัมมากัมมันโต,
สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโมสัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ
- สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ
- ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไรเล่า?

ยัง โข ภิกขะเว ทุกเข ญาณัง
- ภิกษุทั้งหลาย ความรู้ในทุกข์

ทุกขะสะมุทะเย ญาณัง
- ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์

ทุกขะนิโรเธ ญาณัง
- ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

ทุกขะนิโรธะคามินิยา ปะฏิปะทายะ ญาณัง
- ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

  กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป
- ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า?

เนกขัมมาสังกัปโป
- ความดำริในการออกจากกาม

อัพ๎ยาปาทะสังกับโป
- ความดำริในการไม่พยาบาท

อะวิหิงสาสังกัปโป
- ความดำริในการไม่เบียดเบียน

 อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ

 กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาวาจา
- ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจา เป็นอย่างไรเล่า?

มุสาวาทา เวระมะณี
- การเว้นจากการพูดเท็จ

ปุณายะ วาจายะ เวระมะณี
- การเว้นจากการพูดส่อเสียด

ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี
- การเว้นจากการพูดคำหยาบ

สัมผัปปะลาปา เวระมะณี
- การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวาจา
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาวาจา

 กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต
- ภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า?

ปาณาติปาตา เวระมะณี
- การเว้นจากการฆ่าสัตว์

อะทินนาทานา เวระมะณี
- การเว้นจากการลักทรัพย์

กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี
- การเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว
- ภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไรเล่า?

อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก
- ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

มิจฉาอาชีวัง ปะหายะ
- ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย

สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ
- สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ

 อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ

 กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาวายาโม
- ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะ เป็นอย่างไรเล่า?

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

อะนุปปันนัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง อะนุปปาทายะ,
ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคันหาติ ปะทะหะติ
- เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด บังเกิดขึ้น

อุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง ปะหานายะ,
ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ
จิตตัง ปัคคันหาติ ปะทะหะติ
- เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อการละอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้ว

อะนุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง อุปปาทายะ ฉันทัง ชะเนติ,
วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคันหาติ ปะทะหะติ
- เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด บังเกิดขึ้น

อุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง ฐิติยา อะสัมโมสายะ,
ภิยโยภาวายะ เวปุลลายะ ภาวะนายะ ปาริปูริยา
ฉันทัง ชะเนติ ,
วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคันหาติ ปะทะหะติ
- เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย
ความเจริญยิ่ง ความไพบูลย์ มีขึ้นเต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรม ที่บังเกิดขึ้นแล้ว

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวายาโม
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ
- ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติ เป็นอย่างไรเล่า?

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

 กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกายอยู่

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา
- มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

วิเนยยะ โลเก อะภิชฌา โทมะนัสสัง
- นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา
- มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

วิเนยยะ โลเก อะภิชฌา โทมะนัสสัง
- นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา
- มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

 วิเนยยะ โลเก อะภิชฌา โทมะนัสสัง
- นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา
- มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

วิเนยยะ โลเก อะภิชฌา โทมะนัสสัง
- นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาสติ

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ
- ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไรเล่า?

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

 วิวิจเจวะ กาเมหิ วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ สะวิตักกัง,
สะวิจารัง วิเวกชัมปิติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชฌะ วิหะระติ,
- สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่

วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา อัชฌัตตัง สัมปะทานัง เจตะโส,
เอโก ทิภาวัง อะวิตักกัง อะวิจารัง สะมาธิชัมปิติสุขัง ทุติยัง,
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
- เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปิติ และสุข อันเกิดแต่สมาธิอยู่

ปิติยา จะ วิราคา อุเปกขะโก จะ วิหะระติ สะโต จะ สัมปะชาโน,
สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ,
อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ
ตะติยาฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
- เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

สุขัสสะ จะ ปะหานา ทุกขัสสะ จะ ปะหานา ปุพเพวะ,
โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขา-
สะติปะริสุทธิง, จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
- เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

 อิทัง วุจจะติ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

อิติ อัชฌัตตัง วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายในบ้าง

พะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายนอกบ้าง

อัชฌัตตะพะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในและภายนอกบ้าง

สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในธรรมบ้าง

วะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในธรรมบ้าง

สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในธรรมบ้าง

อัตถิ ธัมมันติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
- อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่

ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ
- เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น

อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
- เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้

นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
- ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

เอวัมปิ โข ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม

จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
- คือ อริยสัจ ๔ อยู่


สารบัญ บทสวดมหาสติปัฏฐานสูตร
คำนำ  
ประโยชน์ของการสาธยายธรรม ธัมมานุปัสสนา นิวรณบรรพ
บทนำ มหาสติปัฏฐานสูตร ธัมมานุปัสสนา ขันธบรรพ
กายานุปัสสนา อานาปานบรรพ ธัมมานุปัสสนา อายตนบรรพ
กายานุปัสสนา อิริยาบถบรรพ ธัมมานุปัสสนา โพชฌงคบรรพ
กายานุปัสสนา สัมปชัญญบรรพ ธัมมานุปัสสนา สัจจบรรพ
กายานุปัสสนา ปฏิกูลมนสิการบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขสมุทัยอริยสัจ
กายานุปัสสนา ธาตุมนสิการบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขนิโรธอริยสัจ
กายานุปัสสนา นวสีวถิกาบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เวทนานุปัสสนา อานิสงส์ของการเจริญสติปัฏฐาน ๔
จิตตานุปัสสนา บทสวด ปฏิจจสมุปบาท

 

 กลับสู่หน้าหลัก