จิตตานุปัสสนา
(นำ) หันทะ มะยัง จิตตานุปัสสะนาปาฐัง ภะณามะ เส ฯ
(รับ) กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สะราคัง วา จิตตัง สะราคัง จิตตันติ ปะชานาติ
- จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ
วีคะราคัง วา จิตตัง วีตะราคัง จิตตันติ ปะชานาติ
- หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ
สะโทสัง วา จิตตัง สะโทสัง จิตตันติ ปะชานาติ
- จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ
วีตะโทสัง วา จิตตัง วีตะโทสัง จิตตันติ ปะชานาติ
- หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ
สะโมหัง วา จิตตัง สะโมหัง จิตตันติ ปะชานาติ
- จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ
วีตะโมหัง วา จิตตัง วีตะโมหัง จิตตันติ ปะชานาติ
- หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ
สังขิตตัง วา จิตตัง สังขิตตัง จิตตันติ ปะชานาติ
- จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่
วิกขิตตัง วา จิตตัง วิกขิตตัง จิตตันติ ปะชานาติ
- หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน
มะหัคคะตัง วา จิตตัง มะหัคคะตัง จิตตันติ ปะชานาติ
- จิตเป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต ( จิตที่เข้าถึงความเป็นใหญ่ )
อะมะหัคคะตัง วา จิตตัง อะมะหัคคะตัง จิตตันติ ปะชานาติ
- หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต
สะอุตตะรัง วา จิตตัง สะอุตตะรัง จิตตันติ ปะชานาติ
- จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
อะนุตตะรัง วา จิตตัง อะนุตตะรัง จิตตันติ ปะชานาติ
- หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
สะมาหิตัง วา จิตตัง สะมาหิตัง จิตตันติ ปะชานาติ
- จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสมาธิ
อะสะมาหิตัง วา จิตตัง อะสะมาหิตัง จิตตันติ ปะชานาติ
- หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นสมาธิ
วิมุตตัง วา จิตตัง วิมุตตัง จิตตันติ ปะชานาติ
- จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น
อะวิมุตตัง วา จิตตัง อะวิมุตตัง จิตตันติ ปะชานาติ
- หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่หลุดพ้น
อิติ อัชฌัตตัง วา จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
- ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต ภายในบ้าง
พะหิทธา วา จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นจิตในจิต ภายนอกบ้าง
อัชฌัตตะพะหิทธา วา จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นจิตในจิต ทั้งภายในและภายนอกบ้าง
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา จิตตัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในจิตบ้าง
วะยะธัมมานุปัสสี วา จิตตัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในจิตบ้าง
สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา จิตตัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในจิตบ้าง
อัตถิ จิตตันติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
- อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ
- เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
- เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้
นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
- ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
เอวัง โข ภิกขะเว ภิกขุ จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
|