มหาสติปัฏฐานสูตร ฉบับ บาลีอักษรไทย(แปล)

กายานุปัสสนา
อานาปานบรรพ

(นำ) หันทะ มะยัง อานาปานะปัพพะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ

(รับ) กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เป็นอย่างไรเล่า?

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

อะรัญญะคะโต วา
- ไปสู่ป่าก็ดี

รุกขะมูละคะโต วา
- ไปสู่โคนไม้ก็ดี

สุญญาคาระโต วา
- ไปสู่เรือนว่างก็ดี

นิสีทะติ ปัลลังกัง อาภุชิต๎วา
- นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ

อุชุ กายัง ปะณิธายะ
- ตั้งกายตรง

ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปต๎วา
- ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า

โส สะโต วา อัสสะสะติ
- เธอมีสติ หายใจเข้า

สะโต ปัสสะสะติ
- มีสติ หายใจออก

ทีฆัง วา อัสสะสันโต ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
- เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว

ทีฆัง วา ปัสสะสันโต ทีฆัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
- เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว

รัสสัง วา อัสสะสันโต รัสสัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
- เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น

รัสสัง วา ปัสสะสันโตรัสสัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
- เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น

สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
- ย่อมศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า

สัพพะกายะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
- ย่อมศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก

ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
- ย่อมศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับ หายใจเข้า

ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
- ย่อมศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับ หายใจออก

 เสยยะถาปิ ภิกขะเว ทักโข ภะมะกาโร วา ภะมะการันเตวาสี วา
- ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน

ทีฆัง วา อัญฉันโต ทีฆัง อัญฉามีติ ปะชานาติ
- เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักเชือกกลึงยาว

รัสสัง วา อัญฉันโต รัสสัง อัญฉามีติ ปะชานาติ
- เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักเชือกกลึงสั้น

เอวะเมวะ โข ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ทีฆัง วา อัสสะสันโต ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
- เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว

ทีฆัง วา ปัสสะสันโต ทีฆัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
- เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว

รัสสัง วา อัสสะสันโต รัสสัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
- เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น

รัสสัง วา ปัสสะสันโต รัสสัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
- เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น

สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
- ย่อมศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า

สัพพะกายะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
- ย่อมศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก

ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
- ย่อมศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับ หายใจเข้า

ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
- ย่อมศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับ หายใจออก

 อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง

พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง

 อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง

สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง

วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง

สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง

อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
- อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่

ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ
- เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น

อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
- เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้

นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
- ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่


สารบัญ บทสวดมหาสติปัฏฐานสูตร
คำนำ  
ประโยชน์ของการสาธยายธรรม ธัมมานุปัสสนา นิวรณบรรพ
บทนำ มหาสติปัฏฐานสูตร ธัมมานุปัสสนา ขันธบรรพ
กายานุปัสสนา อานาปานบรรพ ธัมมานุปัสสนา อายตนบรรพ
กายานุปัสสนา อิริยาบถบรรพ ธัมมานุปัสสนา โพชฌงคบรรพ
กายานุปัสสนา สัมปชัญญบรรพ ธัมมานุปัสสนา สัจจบรรพ
กายานุปัสสนา ปฏิกูลมนสิการบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขสมุทัยอริยสัจ
กายานุปัสสนา ธาตุมนสิการบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขนิโรธอริยสัจ
กายานุปัสสนา นวสีวถิกาบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เวทนานุปัสสนา อานิสงส์ของการเจริญสติปัฏฐาน ๔
จิตตานุปัสสนา บทสวด ปฏิจจสมุปบาท

 

 กลับสู่หน้าหลัก