มหาสติปัฏฐานสูตร ฉบับ บาลีอักษรไทย(แปล)

ปฏิกูลมนสิการบรรพ

(นำ) หันทะ มะยัง ปะฏิกูละมะนะสิการะปัพพะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ

(รับ) ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง

อิมะเมวะ กายัง - ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้แล

อุทธัง ปาทะตะลา - เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา

อะโธ เกสะมัตถะกา - เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

ตะจะปะริยันตัง - มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ

ปูรันนานัปปะการัสสะ- - เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ

อะสุจิโน ปัจจะเวกขะติ,

อัตถิ อิมัส๎มิง กาเย - มีอยู่ในกายนี้

เกสา - คือผมทั้งหลาย

โลมา - คือขนทั้งหลาย

นะขา - คือเล็บทั้งหลาย

ทันตา - คือฟันทั้งหลาย

ตะโจ - หนัง

มังสัง - เนื้อ

นะหารู - เอ็นทั้งหลาย

อัฏฐี - กระดูกทั้งหลาย

อัฏฐิมิญชัง - เยื่อในกระดูก

วักกัง - ม้าม

หะทะยัง - หัวใจ

ยะกะนัง - ตับ

กิโลมะกัง - พังผืด

ปิหะกัง - ไต

ปัปผาสัง - ปอด

อันตัง - ไส้ใหญ่

อันตะคุณัง - ไส้น้อย

อุทะริยัง - อาหารใหม่

กะรีสัง - อาหารเก่า

ปิตตัง - น้ำดี

เสมหัง - น้ำเสลด

ปุพโพ - น้ำหนอง

โลหิตัง - น้ำเลือด

เสโท - น้ำเหงื่อ

เมโท - น้ำมันข้น

อัสสุ - น้ำตา

วะสา - น้ำมันเหลว

เขโฬ - น้ำลาย

สิงฆาณิกา - น้ำมูก

ละสิกา - น้ำมันไขข้อ

มุตตันติ - น้ำมูตร ดังนี้

เสยยะถาปิ ภิกขะเว อุภะโต มุขา มูโตฬี
- ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้ มีปากสองข้าง

ปูรา นานาวิหิตัสสะ ธัญญัสสะ เสยยะถีทัง
- เต็มด้วยธัญญชาติต่างชนิด คือ

สาลีนัง วีหีนัง มุคคานัง
- ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว

มาสานัง ติลานัง ตัณฑุลานัง
- ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร

 ตะเมนัง จักขุมา ปุริโส มุญจิต๎วา ปัจจะเวกเขยยะ
- บุรุษผู้มีตาดี แก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า

อิเม สาลี อิเม วีหี อิเม มุคคา
- นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว

อิเม มาสา อิเม ติลา อิเม ตัณฑุลาติ
- นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร

เอวะเมวะ โข ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น

อิมะเมวะ กายัง
- ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้แล

อุทธัง ปาทะตะลา
- เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา

อะโธ เกสะมัตถะกา
- เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

ตะจะปะริยันตัง
- มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ

ปูรันนานัปปะการัสสะ อะสุจิโน ปัจจะเวกขะติ
- เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ

อัตถิ อิมัส๎มิง กาเย
- มีอยู่ในกายนี้

เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ
- ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง

มังสัง นะหารู อัฏฐี อัฏฐิมิญชัง วักกัง
- เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม

หะทะยัง ยะกะนัง กิโลมะกัง ปิหะกัง ปัปผาสัง
- หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด

อันตัง อันตะคุณัง อุทะริยัง กะรีสัง
- ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า

ปิตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท
- น้ำดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น

อัสสุ วะสา เขโฬ สิงฆาณิกา ละสิกา มุตตันติ
- น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังนี้

อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง

พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง

อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง

สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ในกายบ้าง

วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไป ในกายบ้าง

สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัส๎มิง วิหะระติ
- พิจารณาเห็นธรรม ทั้งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ในกายบ้าง

อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
- อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่

ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะติสสะติมัตตายะ
- เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น

อะนิสสิโต จะ วิหะระติ
- เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้

นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ
- ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่


สารบัญ บทสวดมหาสติปัฏฐานสูตร
คำนำ  
ประโยชน์ของการสาธยายธรรม ธัมมานุปัสสนา นิวรณบรรพ
บทนำ มหาสติปัฏฐานสูตร ธัมมานุปัสสนา ขันธบรรพ
กายานุปัสสนา อานาปานบรรพ ธัมมานุปัสสนา อายตนบรรพ
กายานุปัสสนา อิริยาบถบรรพ ธัมมานุปัสสนา โพชฌงคบรรพ
กายานุปัสสนา สัมปชัญญบรรพ ธัมมานุปัสสนา สัจจบรรพ
กายานุปัสสนา ปฏิกูลมนสิการบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขสมุทัยอริยสัจ
กายานุปัสสนา ธาตุมนสิการบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขนิโรธอริยสัจ
กายานุปัสสนา นวสีวถิกาบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เวทนานุปัสสนา อานิสงส์ของการเจริญสติปัฏฐาน ๔
จิตตานุปัสสนา บทสวด ปฏิจจสมุปบาท

 

 กลับสู่หน้าหลัก