บทสวดมนต์

โอวาทปาฏิโมกขคาถา
( หันทะ มะยัง โอวาทะปาฏิโมกขะคาถาโย ภะณามะ เส)

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง
- การไม่ทำบาปทั้งปวง

กุสะลัสสูปะสัมปะทา
- การทำกุศลให้ถึงพร้อม

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง
- การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ

เอตัง พุทธานะสาสะนัง
- ธรรม ๓ อย่างนี้, เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา
- ขันติ คือความอดกลั้น, เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง

นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา
- ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง

นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี
- ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย

สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต
- ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย

อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต
- การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย

ปาติโมกเข จะ สังวะโร

- การสำรวมในปาติโมกข์

มัตตัญญุตา จะ ภัตตัส๎มิง
- ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค

ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง
- การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด

อะธิจิตเต จะ อาโยโค
- ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง

เอตัง พุทธานะสาสะนัง
- ธรรม ๖ อย่างนี้, เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


ที่มา โอวาทปาฏิโมกขคาถา

มหาปทานสูตร
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
มหา. ที.๑๐/๔๐/๔๕




สารบัญ บทสวดพระปาฏิโมกข์
บทสวด บุพพกรณ์และบุพพกิจ บทสวด ปาจิตตีย์ ๙๒
บทสวดนำ พระภิกขุปาฏิโมกข์ บทสวด ปาฏิเทสนีย์ ๔
บทสวด ปาราชิก ๔ บทสวด เสขิยวัตร ๗๕
บทสวด สังฆาทิเสส ๑๓ บทสวด อธิกรณสมถะ ๗
บทสวด อนิยต ๒ การนับพระภิกษุ
บทสวด นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ คำขอโอกาสแสดงพระภิกขุปาฏิโมกข์



การสวดปาฏิโมกข์ย่อ อันตราย ๑๐ อย่าง อุเทศ การยกขึ้นแสดง ๕ ข้อควรรู้เกี่ยวกับพระภิกขุปาฏิโมกข์
อุโบสถขันธกะ อุโบสถ คำขอโอกาสแสดงปาฏิโมกข์ คำขอโอกาสตั้งญัตติปวารณา
ปวารณา โอวาทปาฏิโมกขคาถา โอวาทะปาฏิโมกขาทิปาโฐ  


 กลับสู่หน้าหลัก