ปัพพโตปมคาถา

(หันทะ มะยัง ปัพพะโตปะมะคาถาโย ภะณามะ เส ฯ)

ยะถาปิ เสลา วิปุลา นะภัง อาหัจจะ ปัพพะตา
,
สะมันตา อะนุปะริเยยยุง นิปโปเถนตา จะตุททิสา

- ภูเขาใหญ่แล้วด้วยศิลาจดท้องฟ้า, กลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบ
ทั้ง ๔ ทิศ แม้ฉันใด

เอวัง ชะรา จะ มัจจุ จะ อะธิวัตตันติ ปาณิโน

- ความแก่และความตายก็ฉันนั้น, ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย

ขัตติเย พ๎ราห๎มะเณ เวสเส สุทเท จัณฑาละ ปุกกุเส

- คือพวกกษัตริย์ พวกพราหมณ์ พวกแพศย์ พวกศูทร,
พวกจัณฑาล และคนเทมูลฝอย

นะ กิญจิ ปะริวัชเชติ สัพพะเมวาภิมัททะติ
- ไม่เว้นใครๆไว้เลยย่อมย่ำยีเสียสิ้น

นะ ตัตถะ หัตถีนัง ภูมิ นะ ระถานัง นะ ปัตติยา
- ณ ที่นั้นไม่มียุทธภูมิสำหรับพลช้างพลม้า, ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลรถ,
ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลราบ

นะ จาปิ มันตะยุทเธนะ สักกา เชตุง ธะเนนะ วา
- และไม่อาจจะเอาชนะ, แม้ด้วยการรบด้วยมนต์,
หรือด้วยทรัพย์

ตัส๎มา หิ ปัณฑิโต โปโส สัมปัสสัง อัตถะมัตตะโน
- เพราะฉะนั้นแล, บุรุษผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญา, เมื่อเล็งเห็น ประโยชน์ตน

พุทเธ ธัมเม จะ สังเฆ จะ ธีโร สัทธัง นิเวสะเย

- พึงตั้งศรัทธาไว้ในพระพุทธเจ้า, ในพระธรรมและในพระสงฆ์

โย ธัมมะจารี กาเยนะ วาจายะ อุทะ เจตะสา

- ผู้ใดมีปรกติประพฤติธรรมด้วยกาย, ด้วยวาจาหรือด้วยใจ

อิเธวะ นัง ปะสังสันติ เปจจะ สัคเค ปะโมทะติ ฯ
- บัณฑิตทั้งหลาย, ย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้นั่นเทียว,
ผู้นั้นละโลกนี้ไป, ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ฯ

(สคาถ. สํ. ๑๕/๑๒๖/๔๑๕)

ที่มา ปัพพโตปมคาถา หรือ ปัพพโตปมสูตร

 

ปัพพโตปมคาถา (อีกสำนวนหนึ่ง)

(หันทะ มะยัง ปัพพะโตปะมะคาถาโย ภะณามะ เส ฯ)

ยะถาปิ เสลา วิปุลา นะภัง อาหัจจะ ปัพพะตา
,
สะมันตา อะนุปะริเยยยุง นิปโปเถนตา จะตุททิสา

-ภูเขาหินล้วนสูงจดฟ้า, กลิ้งบดสัตว์มาใน ๔ ทิศ
หมุนเวียนโดยรอบ แม้ฉันใด

เอวัง ชะรา จะ มัจจุ จะ อะธิวัตตันติ ปาณิโน

-ความแก่ด้วย, ความตายด้วย, ย่อมเป็นไปทับ,
คือครอบงำสัตว์ทั้งหลายก็เหมือนกันฉะนั้น

ขัตติเย พ๎ราห๎มะเณ เวสเส สุทเท จัณฑาละ ปุกกุเส

-คือกษัตริย์และพราหมณ์, และชนพวกเวสสะพ่อค้า,
และชนพวกสุททะพ่อครัว, และชนจัณฑาลพันทาง,
และปุกกุสะคนเทหยากเยื่อ

นะ กิญจิ ปะริวัชเชติ สัพพะเมวาภิมัททะติ
-ความแก่ความตายไม่ละเว้นใครไปเลย, ย่อมย่ำยีครอบงำ
ให้อยู่ในอำนาจทั้งสิ้น, เหมือนภูเขาหินล้วนกลิ้งบดสัตว์
มาใน ๔ ทิศ ฉะนั้น

นะ ตัตถะ หัตถีนัง ภูมิ นะ ระถานัง นะ ปัตติยา
-พื้นดินที่จะยกทหาร ช้าง ม้า รถ พลเดินเท้า, ไปสู้ความแก่
ความตายนั้นไม่มีเลย

นะ จาปิ มันตะยุทเธนะ สักกา เชตุง ธะเนนะ วา
-อนึ่ง บุคคลไม่อาจสู้รบชนะความแก่ความตายด้วยมนต์
คาถาวิชาต่างๆ, และทรัพย์สมบัติมีวิญญาณและไม่มีวิญญาณได้

ตัส๎มา หิ ปัณฑิโต โปโส สัมปัสสัง อัตถะมัตตะโน
-เพราะเหตุนั้นผู้มีปัญญาหาประโยชน์แก่ตน, เมื่อจำทรง
คิดเข้าใจแล้ว

พุทเธ ธัมเม จะ สังเฆ จะ ธีโร สัทธัง นิเวสะเย

-ผู้มีปัญญาพึงตั้งศรัทธา, ความเชื่อเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
ท่านผู้รู้จักของจริง, และในพระธรรมคำสั่งสอนคือ ศีล
สมาธิ ปัญญา, ในพระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา
ดีชอบแล้ว

โย ธัมมะจารี กาเยนะ วาจายะ อุทะ เจตะสา

-อนึ่ง บุคคลใดจำทรงทราบความแล้วปฏิบัติด้วยกายวาจาใจ

อิเธวะ นัง ปะสังสันติ เปจจะ สัคเค ปะโมทะติ ฯ
-ประชุมชนนักปราชญ์ย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นในโลกนี้,
ผู้นั้นไปในโลกหน้าแล้ว ย่อมบันเทิงยินดีสุขสบายใจ



บทจุลลไชยปกรณ์ ตำนานพระปริตร บทสวดปฏิจจสมุปบาท บทสวดสติปัฏฐาน๔ ประวัติพุทธสาวก
คำลากลับบ้าน บทปัพพโตปมคาถา บทเขมาเขมสรณทีปกคาถา คำสมาทนากรรมฐาน บทภารสุตตคาถา
บทปัจฉิมพุทโธวาท ติลักขณาทิคาถา บทสวดถวายพระพร โอวาทก่อนปรินิพพาน หลวงปู่คำพันธ์
ปฏิทินวันพระ มงคลปริตร คำปวารณาออกพรรษา คำอาราธนาธรรม เสียงพระพุทธประวัติ
ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ วันออกพรรษา คำไหว้พระเจ้า ๑๐ ชาติ พระสังคีณี คาถากำลังวัน
คาถาบารมี ๓๐ ทัศ พระเจ้าพิมพิสาร ประวัติพระธาตุพนม รัตนปริตร ศิลปะพระธาตุพนม
บทพิจารณาสังขาร        


 กลับสู่หน้าหลัก