ปวารณาออกพรรษา
ในวันเพ็ญเดือน ๑๑ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุอยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสแล้ว
ทำปวารณาแทนอุโบสถ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา"
ปวารณาว่าโดยผู้ทำมี ๓ อย่าง คือ
๑. สงฆ์ปวารณา ตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป
๒. คณะปวารณา ต่ำกว่า ๕ รูป
๓. บุคคลปวารณา รูปเดียว
วิธีทำปวารณามี ๓ คือ
๑. เตวาจิกปวารณา ว่าคำปวารณา ๓ หน
๒. เทฺววาจิกปวารณา ว่าคำปวารณา ๒ หน
๓. เอกวาจิกปวารณา ว่าคำปวารณาหนเดียว
ตั้งญัตติ ๕ อย่าง
ก่อนจะปวารณา ภิกษุรูปหนึ่งต้องตั้งญัตติก่อนแล้วจึงปวารณา
และการตั้งญัตติ มี ๕ อย่าง คือ
๑. สัพพะสังคาหิกาญัตติ ไม่ระบุให้ว่าคำปวารณากี่ครั้ง แต่นิยมว่า ๓ ครั้ง
คำตั้งญัตติว่า "สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อัชชะ ปะวาระณา ปัณณะระสี ยะทิ สังฆัสสะ
ปัตตะกัลลัง สังโฆ เตวาจิกัง ปะวาเรยยะ"
๒. เตวาจิก ให้ว่าคำปวารณา ๓ ครั้ง ตั้งญัตติว่า "สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อัชชะ ปะวาระณา
ปัณณะระสี ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง สังโฆ เตวาจิกัง ปะวาเรยยะ" อย่างนี้ต้องว่า ๓ ครั้ง
จะว่า ๑-๒ ครั้งไม่ได้
๓. เทฺววาจิก ให้ว่าคำปวารณา ๒ ครั้ง ตั้งญัตติเหมือน เตวาจิก แต่เปลี่ยน "เตวาจิกัง"
เป็น "เทฺววาจิกัง" ตั้งญัตติอย่างนี้ จะปวารณาครั้งเดียวไม่ได้ ต้องปวารณา ๒ ครั้งหรือ ๓ ครั้งก็ได้
๔. เอกวาจิก ให้ว่าคำปวารณาหนเดียว ตั้งญัติติดังกล่าวมาแล้ว "เทฺววาจิกัง" เป็น "เอกะวาจิกัง"
ตั้งญัตติอย่างนี้ จะปวารณา ๒-๓ หน ก็ได้
๕. สะมานะวัสสิกา ให้ภิกษุมีพรรษาเท่ากันว่าคำปวารณาพร้อมกัน ตั้งญัตติว่า
"สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อัชชะ ปะวาระณา ปัณณะระสี ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง
สังโฆ สะมานะวัสสิกัง ปะวาเรยยะ" ตั้งญัตติอย่างนี้จะว่าปวารณา ๑-๒-๓ หนก็ได้
การตั้งญัตติอย่างใดก็ตาม คำปวารณาคงยุติเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อตั้งญัตติเสร็จแล้ว
ภิกษุผู้เป็นเถระ คือผู้มีพรรษามากที่สุดในที่ประชุมสงฆ์นั้น นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำปวารณา
ใช้ "อาวุโส" แทน "ภันเต" เมื่อพระสังฆเถระปวารณาแล้ว ภิกษุนอกนั้นพึงปวารณาตามลำดับ
คำปวารณาออกพรรษา
.....สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา
วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ
.....ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา
วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ
.....ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา
วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ
แปลว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ หากท่านทั้งหลายได้เห็น
ได้ยิน หรือสงสัย ว่า...กระผมได้ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์
ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียใหม่ให้ดี"
คณะปวารณา
ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่จำพรรษาไม่ถึง ๕ รูป เมื่อถึงวันปวารณา
พึงประชุมกันแล้วปฏิบัติดังนี้
มีภิกษุ ๔ รูป รูปหนึ่งพึงตั้งญัตติว่า "สุณาตุ เม อายัสมันโต อัชชะ ปะวาระณา ปัณณะระสี
ยะทายัสมันตานัง ปัตตะกัลลัง มะยัง อัญญะมัญญัง ปะวาเรยยามะ"
ถ้ามีภิกษุ ๓ รูป เปลี่ยน "อายัสมันโต" เป็น "อายัสมันตา"
คำปวารณาออกพรรษา สำหรับภิกษุ ๓-๔ รูป
......อะหัง อาวุโส อายัสมันเต ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง
อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ
....ทุติยัมปิ อาวุโส อายัสมันเต ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง
อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ
....ตะติยัมปิ อาวุโส อายัสมันเต ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง
อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ
ถ้ารูปมีพรรษาอ่อนกว่า ใช้ "ภันเต" แทน "อาวุโส"
คำปวารณาออกพรรษา สำหรับภิกษุ ๒ รูป
ถ้ามีเพียง ๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ ปวารณาว่าดังนี้
.....อะหัง อาวุโส อายัสมันตัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทะตุ มัง
อายัสมา อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิฯ
....ทุติยัมปิ อาวุโส อายัสมันตัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทะตุ มัง
อายัสมา อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิฯ
....ตะติยัมปิ อาวุโส อายัสมันตัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทะตุ มัง
อายัสมา อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิฯ
ถ้ารูปมีพรรษาอ่อนกว่า ใช้ "ภันเต" แทน "อาวุโส"
คำปวารณาออกพรรษา สำหรับภิกษุรูปเดียว
บุคคลปวารณา
ถ้าอยู่รูปเดียว ให้ปวารณาว่า "อัชชะ เม ปะวาระณา"
คำปวารณาออกพรรษาแทน
เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุอาพาธไม่สามารถมาร่วมปวารณาได้ ท่านให้มอบปวารณามากับภิกษุรูปหนึ่ง
และภิกษุผู้รับมอบปวารณาแทน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
พระสมบัติ ฉายา สุชาโต อาพาธ มีพรรษาแก่กว่าผู้รับมอบ พึงว่าคำปวารณาแทนดังนี้
....อายัสมา ภันเต สุชาโต คิลาโน สังฆัง ปะวาเรติ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง
อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสะติ ฯ
....ทุติยัมปิ ภันเต สุชาโต คิลาโน สังฆัง ปะวาเรติ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง
อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสะติ ฯ
....ตะติยัมปิ ภันเต สุชาโต คิลาโน สังฆัง ปะวาเรติ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง
อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสะติ ฯ
ถ้าผู้นำแก่กว่า ว่า สุชาโต ภันเต ภิกขุ คิลาโน สังฆัง ปะวาเรติ (นอกนั้นว่าเหมือนกัน)
คำอธิษฐานเข้าพรรษา
อิมัส๎มิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ ( ว่า ๓ จบ)
คำสัตตาหะ
สัตตาหะกะระณียัง กิจจัง เม อัตถิ ตัสมา มะยา คันตัพพัง
อิมัสมิง สัตตาหัพภันตะเร นิวัตติสสามิ.
คำพินทุผ้า
อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ
คำอธิษฐาน
บาตร อิมัง ปัตตัง อะธิฏฐามิ
สังฆาฏิ อิมัง สังฆาฏิง อะธิฏฐามิ
จีวร อิมัง อุตตะราสังคัง อะธิฏฐามิ
สบง อิมัง อันตะระวาสะกัง อะธิฏฐามิ
ผ้าอาบน้ำฝน อิมัง วัสสิกะสาฏิกัง อะธิฏฐามิ
คำลาสิกขา
สิกขัง ปัจจักขามิ คิหีติ มัง ธาเรถะ
ข้าพเจ้าลาสิกขา ท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นคฤหัสถ์
คำถวายข้าวพระพุทธ
อิมัง สูปะพ๎ยัญชะนะสัมปันนัง สาลีนัง โอทะนัง
อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ
คำลาข้าวพระพุทธ
เสสัง มังคะลา ยาจามิ
|