ภารสุตตคาถา
( หันทะ มะยัง ภาระสุตตะคาถาโย ภะณามะ เส ฯ)
ภารา หะเว ปัญจักขันธา
- ขันธ์ ๕ ชื่อว่าภาระแล
ภาระหาโร จะ ปุคคะโล
- และผู้แบกภาระคือบุคคล
ภาราทานัง ทุกขัง โลเก
- เครื่องถือมั่นภาระเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ในโลก
ภาระนิกเขปะนัง สุขัง
- การวางภาระเสียได้เป็นสุข
นิกขิปิต๎วา คะรุง ภารัง
- บุคคลวางภาระหนักเสียได้แล้ว
อัญญัง ภารัง อะนาทิยะ
- ไม่ถือภาระอื่น
สะมูลัง ตัณ๎หัง อัพพุย๎หะ
- ถอนตัณหาพร้อมทั้งมูลรากแล้ว
นิจฉาโต ปะรินิพพุโต
- เป็นผู้หายหิวดับรอบแล้ว, ดังนี้ .
(ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๕/๕๓)
ที่มา ภารสุตตคาถา
ภารสุตตคาถา (อีกสำนวนหนึ่ง)
( หันทะ มะยัง ภาระสุตตะคาถาโย ภะณามะ เส)
ภารา หะเว ปัญจักขันธา
-ขันธ์ทั้งห้า เป็นของหนักเน้อ
ภาระหาโร จะ ปุคคะโล
-บุคคลแหละเป็นผู้แบกของหนักพาไป
ภาราทานัง ทุกขัง โลเก
-การแบกถือของหนักเป็นความทุกข์ในโลก
ภาระนิกเขปะนัง สุขัง
-การสลัดของหนักทิ้งลงเสียเป็นความสุข
นิกขิปิต๎วา คะรุง ภารัง
-พระอริยเจ้าสลัดทิ้งของหนักลงเสียแล้ว
อัญญัง ภารัง อะนาทิยะ
-ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก
สะมูลัง ตัณหัง อัพพุย๎หะ
-เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้กระทั่งราก
นิจฉาโต ปะรินิพพุโต
-เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนาดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ
|