ติลักขณาทิคาถา
( หันทะ มะยัง ติลักขะณาคาถาโย ภะณามะ เสฯ)
สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
- เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า , สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
- เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง ,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
- เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า , สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
- เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง ,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
- เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า , ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
- เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง ,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
( ติลักขณาทิคาถา ต่อด้วย ปารสุตตคาถา)
อัปปะกา เต มะนุสเสสุ เย ชะนา ปาระคามิโน
- ในหมู่มนุษย์, ชนที่ถึงฝั่ง(พระนิพพาน) มีจำนวนน้อย
อะถายัง อิตะรา ปะชา ตีระเมวานุธาวะติ
- แต่หมู่สัตว์นอกนี้, ย่อมวิ่งไปตามฝั่งนั่นเอง
เย จะ โข สัมมะทักขาเต ธัมเม ธัมมานุวัตติโน
- ส่วนชนเหล่าใด, ประพฤติตามในธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว
เต ชะนา ปาระเมสสันติ มัจจุเธยยัง สุทุตตะรัง
- ชนเหล่านั้น, ข้ามบ่วงมฤตยู, ซึ่งแสนยากที่จะข้ามไปถึงฝั่งได้
กัณ๎หัง ธัมมัง วิปปะหายะ สุกกัง ภาเวถะ ปัณฑิโต
- บัณฑิตพึงละธรรมฝ่ายดำเสีย, เจริญธรรมฝ่ายขาว, ออกจากความอาลัย
โอกา อะโนกะมาคัมมะ วิเวเก ยัตถะ ทูระมัง ,
ตัต๎ราภิระติ มิจเฉยยะ หิต๎วา กาเม อะกิญจะโน
- อาศัยธรรมอันไม่มีความอาลัยแล้ว, พึงละกามเสีย, เป็นผู้ไม่มี กิเลสเป็นเครื่องกังวล,
ปรารถนาความยินดีในวิเวก, ที่สัตว์ยินดีได้ยาก
ปะริโยทะเปยยะ อัตตานัง จิตตัก๎เลเสหิ ปัณฑิโต
- บัณฑิตพึงยังตนให้ผ่องแผ้ว, จากเครื่องเศร้าหมองจิต
เยสัง สัมโพธิยังเคสุ สัมมา จิตตัง สุภาวิตัง
- ชนเหล่าใดอบรมจิตดีแล้วโดยชอบ, ในองค์เป็นเหตุให้ตรัสรู้
อาทานะปะฏินิสสัคเค อะนุปาทายะ เย ระตา
- ไม่ถือมั่นยินดีแล้วในความสละคืนความถือมั่น
ขีณาสะวา ชุติมันโต เต โลเก ปะรินิพพุตตาติ
- ชนเหล่านั้นเป็นผู้สิ้นอาสวะ, มีความรุ่งเรืองปรินิพพานแล้วในโลกนี้ ฯ
(ปารสุตตคาถา มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๓/๗๘)
(หมายเหตุ ติลักขณาทิคาถา มีในพระไตรปิฏก ชั้นอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท )
|