บทสวด ภัทเทกรัตตคาถา
( หันทะ มะยัง ภัทเทกะรัตตะคาถาโย ภะณามะ เส ฯ)
อะตีตัง นาน๎วาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง
- บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว, ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง
- สิ่งใดล่วงไปแล้ว, สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว,
และสิ่งที่ยังไม่มาถึง, ก็เป็นอันยังไม่ถึง
ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ,
อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพ๎รูหะเย
- ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน, ไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน
ในธรรมนั้นๆ ได้, บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด,
อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว
- พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ, ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง
นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา
- เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น,
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
เอวัง วิหาริมาตาปิง อะโหรัตตะมะตันทิตัง ,
ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเต มุนีติ
- พระมุนีผู้สงบ, ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้,
มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นแลว่า,
ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ, ด้วยประการฉะนี้แลฯ
(อุปริ. ม. ๑๔/๒๖๕/๕๒๖)
ที่มา ภัทเทกรัตตคาถา หรือ ภัทเทกรัตตสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
หน้าที่ ๒๖๕- ๒๖๗ หัวข้อที่ ๕๒๖ - ๕๓๔
|