พิธีพุทธาภิเษก
๑.บทสวดจุดเทียนชัย ๔.บทคาถาอินทรวิเชียร
๒.บทสวดคาถาพุทธาภิเษก ๕.บทเมตตาพรัหมะวิหารคาถา
๓.บทคาถาปัฐยาวัตร ๖.บทสวดดับเทียนชัย



“ พิธีพุทธาภิเษกพระ ”- คืออะไร เพื่ออะไร เป็นพุทธพิธีหรือไม่ เริ่มมีสมัยใด ต่างกับปลุกเสกอย่างไร ?

ถาม: สมัยนี้มีการทำพุทธาภิเษกกันมาก การทำพิธีนี้มีมาแต่สมัยใด ท่านผู้ใดทำก่อน ชื่ออะไร วันเดือนปีเท่าใด
กระผมสงสัยว่าเป็นพราหมณ์ หรือพทธ พระท่านสวด ๔ รูป เรียกว่าสวดอะไร พระท่านบริกรรมอะไร การกระทำพุทธาภิเษก กับปลุกเสก
ต่างกันอย่างไร เพื่ออะไร ?

ตอบ : 
พุทธาภิเษก  ในแง่ของเจตนารมณ์ เราจะพบว่า  คือการประชุมกันเพื่อตกลงยอมรับวัตถุที่นำเข้าสู่พิธี
ให้เป็นวัตถุที่เคารพสักการะ เป็นเครื่องหมายแห่ง ขวัญ กำลังใจ และเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเลือมใส 
ของคนที่ยอมรับถือสมมุติสัจจะเหล่านั้น ทำนองเดียวกับเงื่อนไขต่างๆ เช่น เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ประธานาธิบดีเป็นต้น

ตำแหน่งของท่านเหล่านั้นจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมือ ได้ผ่านกรรมวิธี ขั้นตอนตามหลักการที่กำหนดไว้
ท่านจะเป็นอะไรมาก่อนไม่สำคัญ แต่เมื่อผ่านขั้นตอนต่างๆที่กำหนดขึ้นกันโดยถูกต้องแล้ว
ทุกคนจะต้องยอมรับนับถือ ฐานะที่สมมุติแต่งตั้งกันนั้น

พุทธาภิเษก  ก็มีลักษณะอย่างนั้น เดิมที่เดียววัตถุนั้นเป็นเพียงทองเหลือง ทองแดง นาค เงิน ทราย เหล็กเป็นต้น
นายช่างที่ดีจะทำการหล่อ แกะ สลัก ปั้น จึงถือว่าตอนนั้นไม่เป็นพระพุทธรูป เขาจึงสามารถทำหน้านี้ในการตบแต่งได้
เมื่อผ่านพิธีแล้ว คืออภิเษกวัตถุนั้นเป็นพระพุทธปฏิมา
กำหนดหมายว่ารูปแทนพระพุทธเจ้าถูกต้องตามกรรมวิธีที่กำหนด ศาสนิกชนที่ดีต้องยอมรับสมมุติสัจจะเหล่านี้ 

ประวัติของการทำพิธีพุทธาภิเษก

การทำพิธีพุทธาภิเษก เริ่มต้นเมื่อใด ไม่มีใครทราบ แต่คงเริ่มทำกันมานานแล้ว 
พิธีพุทธาภิเษกจะเป็นประเพณี พิธีกรรมของใครมาก่อนก็ตาม แต่ปัจจุบันนั้น  เป็นของพุทธไปเรียบร้อยแล้ว 
แม้จะมีพื้นฐานอะไรเป็นพรามณ์บ้างก็ไม่ควรไปถือว่าเป็นเรื่องเสียหายอะไร
แต่การใดก็ตามเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่คนที่รู้จักใช้อยู่ จะเป็นของใครมาก่อนไม่เห็นสำคัญอะไร

พิธีพุทธาภิเษก

การที่พระ 4 รูปมาสวดนั้นท่านเรียกว่า พุทธาภิเษก อันเป็นการแสดงถึงความรู้สึกศรัทธาเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้า พระธรรม
พระสงฆ์ของผู้ร่วมพิธี พร้อมกับพรรณาพุทธประวัติ อานุภาพของพระพุทธเจ้า จากนั้นจะเป็นการสวดภาณวาร
ก็คือสูตรที่มีประวัติความเป็นมา ในทางขลัง ศักดิ์สิทธิ์ มีอานุภาพในการช่วยเหลือคนให้หลุดพ้น จากทุกข์ ภัย โรค

ท่านที่นั่งบริกรรมนั้น ท่านจะว่าอะไรก็เป็นเรื่องของแต่ละท่าน สรุปแล้วคือท่านนั่งทำความสงบด้วยการบริกรรม
สมาธิเพื่อแผ่พลังจิต คาถา มนตร์ ที่ท่านสาธยาย ให้เป็นอานุภาพแก่วัตถุมงคลที่นำมาทำพิธี

ท่านที่บริกรรมอาจเรียกว่า ปลุกเสก ก็ได้ แต่ปลุกเสก ส่วนมากเน้นไปที่ปลุกเสกผลงาน
ที่ผ่านการทำพิธีพุทธาภิเษกมาแล้ว สรุปว่า ปลุกเสกบางอย่างมีอยู่ในพุทธาภิเษก
แต่พุทธาภิเษกบางอย่างไม่ใช่การปลุกเสก

ที่มา : หนังสือข้อข้องใจผุ้ใผ่ธรรม
โดยพระโสภณคณาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโน)
วัดบวรนิเวศวิหาร



บทจุลลไชยปกรณ์ ตำนานพระปริตร บทสวดปฏิจจสมุปบาท บทสวดสติปัฏฐาน๔ ประวัติพุทธสาวก
คำลากลับบ้าน บทปัพพโตปมคาถา บทเขมาเขมสรณทีปกคาถา คำสมาทนากรรมฐาน บทภารสุตตคาถา
บทปัจฉิมพุทโธวาท ติลักขณาทิคาถา บทสวดถวายพระพร โอวาทก่อนปรินิพพาน หลวงปู่คำพันธ์
ปฏิทินวันพระ มงคลปริตร คำปวารณาออกพรรษา คำอาราธนาธรรม เสียงพระพุทธประวัติ
ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ วันออกพรรษา คำไหว้พระเจ้า ๑๐ ชาติ พระสังคีณี คาถากำลังวัน
คาถาบารมี ๓๐ ทัศ พระเจ้าพิมพิสาร ประวัติพระธาตุพนม รัตนปริตร ศิลปะพระธาตุพนม
บทพิจารณาสังขาร ประวัติวัดป่ามหาชัย คำอาราธนาศีล ๘    

 กลับสู่หน้าหลัก