พิธีบรรพชาอุปสมบทแบบใหม่

การขอสรณะและศีล (เดี่ยว)
อุปสัมปทาเปกข์พึงนั่งคุกเข่าประณมมือกล่าวคำขอไตรสรณคมน์และศีล ดังนี้

              อะหัง ภันเต/ สะระณะสีลัง ยาจามิ//
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต/ สะระณะสีลัง ยาจามิ//
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต/ สะระณะสีลัง ยาจามิ//

การขอสรณะและศีล (คู่)
อุปสัมปทาเปกข์พึงนั่งคุกเข่าประณมมือกล่าวคำขอไตรสรณคมน์และศีล ดังนี้

              มะยัง ภันเต/ สะระณะสีลัง ยาจามะ//
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต/ สะระณะสีลัง ยาจามะ//
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต/ สะระณะสีลัง ยาจามะ//

พระอาจารย์พึงกล่าวคำนำนมัสการ ๓ จบ แล้วให้เจ้านาคกล่าวตาม ต่อไปนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ//
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ//
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ//

พระอาจารย์พึงสั่งให้กล่าวตามว่า “ยะมะหัง วะทามิ/ ตัง วะเทหิ”// (คู่...วะเทถะ”//)
เจ้านาคพึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต”

พระไตรสรณคมน์
พระอาจารย์กล่าวให้ไตรสรณคมน์ เจ้านาคพึงกล่าวตามไปเป็นประโยคๆ ดังนี้
              พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ//
              ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ//
              สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ//
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ//
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ//
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ//
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ//
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ//
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ//

พระอาจารย์กล่าวคำว่า “ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง”//
เจ้านาคพึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต”//

สามเณรสมาทานศีล ๑๐ ประการ
เมื่อเจ้านาคได้รับไตรสรณคมน์จบแล้ว ถือว่าได้บรรพชาเป็นสามเณรบริบูรณ์แล้ว
และสามเณรนั้น มีสิกขาบทอันพึงศึกษาและปฏิบัติตามพระบัญญัติ ๑๐ ประการ
ต่อไปพระอาจารย์พึงกล่าวนำให้สามเณรสมาทานศีล ๑๐ ประการ โดยกล่าวนำไปเป็นตอนๆ ดังนี้

(๑) ปาณาติปาตา เวระมะณี//
(๒) อะทินนาทานา เวระมะณี //
(๓) อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี//
(๔) มุสาวาทา เวระมะณี//
(๕) สุรา, เมระยะ, มัชชะ, ปะมาทัฏฐานา, เวระมะณี//
(๖) วิกาละโภชะนา เวระมะณี//
(๗) นัจจะ, คีตะ, วาทิตะ, วิสูกะ, ทัสสะนา เวระมะณี//
(๘) มาลา, คันธะ, วิเลปะนะ, ธาระณะ, มัณฑะนะ, วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี//
(๙) อุจจาสะยะนะ, มะหาสะยะนา เวระมะณี//
(๑๐) ชาตะรูปะ, ระชะตะ, ปะฏิคคะหะณา เวระมะณี//

พระอาจารย์กล่าวว่า อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ//

สามเณรพึงกล่าวตาม ๓ จบ ดังนี้
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ//
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ//
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ//

เมื่อสามเณรกล่าวคำสมาทานศีลจบแล้ว พึงกราบพระอาจารย์ ๓ ครั้ง(บวชสามเณรเพียงเท่านี้)
ผู้ที่จะอุปสมบทต่อ พึงหันหน้าไปทางขวามือ นั่งพับเพียบแล้ว รับบาตรจากผู้ที่นำถวาย (ถ้าเป็นสตรีเป็นผู้ถวาย
สามเณรพึงปูผ้ากราบทอดลงรับถวาย ถ้าเป็นผู้ถวายเป็นชาย พึงรับถวายด้วยมือทั้งสอง) พึงอุ้มบาตร
เดินเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ เมื่อเข้าไปใกล้พระอุปัชฌาย์ได้ระยะพอสมควรแล้ว วางบาตรไว้ทางซ้ายมือ
แล้วหยิบเครื่องสักการะสำหรับขอนิสัย ซึ่งวางอยู่บนบาตรนั้น น้อมถวายแก่พระอุปัชฌาย์แล้ว นั่งคุกเข่า
ตั้งตัวตรงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วประณมมือกล่าวคำขอนิสัยต่อไป


การบรรพชาอุปสมบทแบบใหม่
คำขอบรรพชาอุปสมบท
คำกล่าวขอไตรสรณคมน์และศีล
คำขอนิสัย การให้นิสัย
คำบอกสมณบริขาร
กรรมวาจาสมมติตนเพื่อสอนซ้อม-คำสอนซ้อม อุปสัมปทาเปกข์
คำขออุปสมบท- การอปโลกน์เผดียงสงฆ์
คำสวดถามอันตรายิกธรรม
ญัตติจตุตถกรรมวาจา
คำบอกอนุศาสน์


คำทินทุผ้า คำอธิษฐาน คำเสียสละผ้า คำคืนผ้า เนื้อต้องห้าม
คำขอขมา คำวิกัปป์ผ้า คำอนุโมทนากฐิน คำลาสิกขา คำแสดงตนเป็นอุบาสก
อนุโมทนาวิธี วิธีแสดงอาบัติ คำสัตตาหะ คำสมาทานธุดงค์ ๑๓ ข้อ บทสวดสติปัฏฐาน๔
อนุโมทนาวิธี แปล บทขัดสิกขาสามเณร เจริญพระพุทธมนต์ พระภิกขุปาฏิโมกข์ บทพิจารณาสังขาร
ถวายพรพระ ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ บทสวดพุทธมนต์ คำสมาทานพระกรรมฐาน ปฏิทินวันพระ
กรวดน้ำตอนเย็น อะตีตะปัจจะเวกขะณะ พระสังคีณี คำปวารณาออกพรรษา หลวงปู่คำพันธ์
 กลับสู่หน้าหลัก