คำพินทุผ้า
อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ
วิธีทำพินทุผ้า, พินทุกัปปะ
คำว่า พินทุกัปปะ หมายความว่า ทำจุดหรือแวววงกลมที่แห่งใดแห่งหนึ่ง โดยมากนิยมทำให้ตรงมุมของผ้า
ขนาดไม่เล็กกว่าตัวเลือด และไม่ใหญ่กว่าแววตานกยูง ด้วยสี ๓ ชนิด สีเขียวคราม สีโคลน สีดำคล้ำ
อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์เป็นเครื่องหมายให้จำได้ว่า การนุ่งห่มก็เพื่อปกปิดร่างกายและเพื่อกันความละอาย
ไม่ใช่เพื่อจะให้สวยงาม ถ้าไม่ทำพินทุก่อนนุ่งห่มใช้สอยท่านปรับเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ผ้าที่ทำพินทุกัปปะคราวหนึ่งแล้ว
ต่อไปไม่ต้องทำอีก ควรท่องจำคำบางบาลีทำพินทุกัปปะไว้ให้จำได้ ดังนี้
อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ (ว่า ๓ หน)
ขณะที่ว่า ก็ให้วง ๐ เป็นจุดดำลงไปที่มุมผ้าด้วย
(
ที่มา การพินทุผ้า สุราปานวรรคที ๖
ภิกษุได้จีวรใหม่มา ต้องพินทุด้วยสี ๓ อย่าง คือ เขียวราม โคลน ดำคล้ำ
อย่างใดอย่างหนึ่งก่อน จึงนุ่งห่มได้ ถ้าไม่ทำพินทุก่อนแล้วนุ่งห่ม ต้องปาจิตตีย์. )
คำอธิษฐาน |
บาตร |
อิมัง ปัตตัง อะธิฏฐามิ |
สังฆาฏิ |
อิมัง สังฆาฏิง อะธิฏฐามิ |
จีวร |
อิมัง อุตตะราสังคัง อะธิฏฐามิ |
สบง |
อิมัง อันตะระวาสะกัง อะธิฏฐามิ |
ผ้าอาบน้ำฝน |
อิมัง วัสสิกะสาฏิกัง อะธิฏฐามิ |
ผ้าปูนั่ง |
อิมัง นิสีทะนัง อะธิฏฐามิ |
ผ้าปิดฝี |
อิมัง กัณฑุปะฏิจฉานัง อะธิฏฐามิ |
ผ้าปูนอน |
อิมัง ปัจจัตถะระนัง อะธิฏฐามิ |
ผ้าเช็ดหน้า |
อิมัง มุขะปุญฉะนะโจลัง อะธิฏฐามิ |
ของใช้อื่นๆ |
อิมัง ปะริกขาระโจลัง อะธิฏฐามิ |
ผ้าหลายผืนว่า |
อิมานิ ปัจจัตถะระณานิ อะธิฏฐามิ |
วิธีถอนคำอธิษฐาน
ในพระวินัยท่านบัญญัติไว้ให้มีบริขารสิ่งเดียว เมื่ออธิษฐานแล้ว ของเดิมก็ยังดีอยู่
เมื่อต้องการจะเปลี่ยนใช้บริขารใหม่ จำเป็นต้องถอนของเดิมเสียก่อน เรียกว่า ปัจจุทธะระณัง
หรือถอนอธิษฐาน มีบาลีถอนคำอธิษฐานแต่เปลี่ยนไปตามชื่อบริขารดังนี้
"อิมัง..................ปัจจุทธะรามิ" เมื่อท่านต้องการเปลี่ยนอะไร ท่านก็จะเติมในช่องว่าง
เช่น ผ้าสังฆาฏิ ว่า "อิมัง สังฆาฏิง ปัจจุทธะรามิ" เป็นต้น
คำเสียสละผ้า
จีวรเป็นนิสัคคียะ เพราะอยู่ปราศจากเขตล่วงราตรี
อิทัง เม ภันเต จีวะรัง รัตติวิปปะวุตถัง อัญญัตระ ภิกขุสัมมะติยา นิสสัคคิยัง
อิมาหัง อายัสมะโต นิสสัชชามิ
( ถ้า ๒ ผืนว่า ทวิจีวะรัง ถ้าทั้ง ๓ ผืนว่า ติจีวะรัง)
คำคืนผ้า
อิมัง จีวะรัง อายัสมะโต ทัมมิ
คำวิกัปป์ผ้า
อิมัง จีวะรัง ตุยหัง วิกัปเปมิ
หลายผืนว่า อิมานิ จีวะรานิ ตุยหัง วิกัปเปมิ
คำถอน อิมัง จีวะมัง มัยหัง สันตะกัง ปะริภุญชะ วา วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรหิ
( ถ้าผู้ถอนอ่อนกว่า ว่า)
อิมัง จีวะรัง มัยหัง สันตะกัง ปะริภุญชะถะ วา วิสัชเชถะ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรถะ
คำอธิษฐานเข้าพรรษา
อิมัสมิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ ( ว่า ๓ จบ)
คำปวารณาออกพรรษา
สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัสมันโต อะนุกัมปัง
อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ
ทุติยัมปิ ภันเต ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัสมันโต อะนุกัมปัง
อุปทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัสมันโต
อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ
ภิกษุไม่ควรฉันเนื้อ ๑๐ อย่าง |
๑. เนื้อมนุษย์ |
๖. เนื้อราชสีห์ |
๒. เนื้อช้าง |
๗. เนื้อหมี |
๓. เนื้อม้า |
๘. เนื้อเสือโคร่ง |
๔. เนื้อสุนัข |
๙. เนื้อเสือดาว |
๕. เนื้องู |
๑๐. เนื้อเสือเหลือง |
มังสะ ๑๐ อย่างนี้ ห้ามฉันและห้ามรับประเคน |
คำขอขมาโทษ ( แบบทั่วไปที่แก้ไขใช้อยู่ในปัจจุบัน) |
( ผู้ขอ ) |
เถเร ปะมาเทนะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต |
|
( ถ้าขอหลายรูปเปลี่ยน ขะมะถะ เม เป็น ขะมะตุ โน) |
( ผู้รับ ) |
อะหัง ขะมามิ ตะยาปิ เม ขะมิตัพพัง |
|
( ถ้าผู้ขอมีหลายรูปเปลี่ยน ตะยาปิ เป็น ตุมเหหิปิ) |
( ผู้ขอ ) |
ขะมามิ ภันเต ( ถ้าขอหลายรูปเปลี่ยน มิ เป็น มะ ) |
คำอนุโมทนากฐิน
อัตถะตัง ภันเต สังฆัสสะ กะฐินัง ธัมมิโก กะฐินัตถาโร อะนุโมทามะ ( ว่า ๓ จบ)
คำลาสิกขา
สิกขัง ปัจจักขามิ คิหีติ มัง ธาเรถะ
ข้าพเจ้าลาสิกขา ท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นคฤหัสถ์
คำแสดงตนเป็นอุบาสก
เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง
คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ อุปาสะกัตตัง สังโฆ ธาเรตุ.
คำสัตตาหะ
สัตตาหะกะระณียัง กิจจัง เม อัตถิ ตัสมา มะยา คันตัพพัง
อิมัสมิง สัตตาหัพภันตะเร นิวัตติสสามิ.