บทวันทา พระพุทธเจ้า
วันทามิ พุทธัง ภะวะปาระติณณัง
ตีโลกะเกตุง ติภะเวกะนาถัง
โย โลกะเสฏโฐ สะกะลัง กิเลสัง
เฉต๎วานะ โพเธสิ ชะนัง อะนันตัง ฯ
ยัง นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน จะ ตีเร
ยัง สัจจะพันธะคิริเก สุมะนาจะลัคเค
ยัง ตัตถะ โยนะกะปุเร มุนิโน จะ ปาทัง
ตัง ปาทะลัญชะนะมะหัง สิระสา นะมามิ ฯ
สุวัณณะมาลิเก สุวัณณะปัพพะเต
สุมะนะกูเฏ โยนะกะปุเร นัมมะทายะ นะทิยา
ปัญจะปาทะวะรัง ฐานัง อะหัง วันทามิ ทูระโต ฯ(กราบ)
อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง
ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย ฯ
อามันตะยามิ โว ภิกขะเว ปะฏิเวทะยามิ โว ภิกขะเว
ขะยะวะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถาติ ฯ (กราบ)
บทวันทา
(นั่งคุกเข่าประนมมือ)
อุกาสะ วันทามิ ภันเต เจติยัง สัพพัง สัพพัตถะ ฐาเน สุปะติฏฐิตัง
สารีริกะธาตุ มะหาโพธิง พุทธะรูปัง สะกะลัง วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต
สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทาฯ ( กราบ )
อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต มะยา กะตัง
ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง มัย๎หัง ทาตัพพัง สาธุ สาธุ
อะนุโมทามิ ฯ ( กราบ )
บทสวดวันทา ครูบาอาจารย์
อุกาสะ วันทามิ ภันเต อาจาริเย สังโฆ อะนุตตะรัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง
มัย๎หัง ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิฯ ( กราบ )
บทสวดวันทาตอนเช้า
วันทามิ ภันเต เจติยัง สัพพัง สัพพัตถะ ฐาเน สุปะติฏฐิตัง
สารีริกะธาตุ มะหาโพธิง พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทาฯ
ข้าฯ ขอน้อมไหว้ พระเจดีย์ใน ทั่วทุกสถาน
ทั้งพระปะระมะ ธาตุพระทรงญาณ ซึ่งประดิษฐาน โอฬารรูจี
ไหว้พระมหาโพธิ์ พวยพุ่งรุ่งโรจน์ ร่มรื่นฤดี
เป็นไม้พระตรัส จำรัสมัศมี ของพระชินสีห์ ศาสดาจารย์
ไหว้พระปฏิมา รูปพระตถาคตเจ้าทรงญาณ
ทั้งน้อยทั้งใหญ่ เก่าใหม่ทุกสถาน ข้าฯ ขอนมัสการ เป็นนิรันดร์เทอญฯ
บทวันทา ขอขมาพระ
วันทามิ พุทธัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต
-ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธเจ้า เพื่อขอขมาโทษทั้งปวง
ขอพระองค์ทรงประทานอภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิดฯ
วันทามิ ธัมมัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต
-ข้าแต่พระธรรมอันเจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระธรรม เพื่อขอขมาโทษทั้งปวง
ขอพระธรรมจงให้อภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิดฯ
วันทามิ สังฆัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต
-ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระสงฆ์ เพื่อขอขมาโทษทั้งปวง
ขอพระสงฆ์จงให้อภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิดฯ
วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง
เจติยัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต
-ข้าแต่ปูชนียสถานอันเจริญ ข้าพเจ้ากราบไหว้พัทธเสมา ต้นโพธิ์พฤกษ์
และเจดีย์อันมีอยู่ในอาราม เพื่อขอขมาโทษทั้งปวง ขอปูชนียสถาน
จงให้อภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิดฯ
วันทามิ คะรูอุปัชฌายะ อาจาริยะคุณัง
สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต
-ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ผู้มีพระคุณ
เพื่อขอขมาโทษทั้งปวง ขอท่านจงให้อภัยโทษ แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิดฯ
วันทามิ ภันเต ภะคะวา โลกะนาถัง
อะตีตัง เม โทสัง อะนาคะตัง เม โทสัง
ปัจจุปปันนัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต
-ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงพระเจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้
พระองค์ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของชาวโลก เพื่อขอขมาโทษ ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ของพระองค์ทรงประทานอภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิดฯ
สาธุ สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ข้าพเจ้าขออนุโมทนา ฯ
บทวันทาเสมา (สีมา)
อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง
มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ฯ (กราบ)
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง,
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต ฯ (กราบ)
อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ (กราบ ๓ ครั้ง)
การวันทาเสมา คำว่า "เสมา หรือ สีมา" แปลว่า "เขตแดน"
หมายถึงเขตกำหนดที่พระสงฆ์ทำพิธีผูกพัทธสีมา กำหนดไว้เป็นเขตแดนพิเศษ
สำหรับพระสงฆ์ประชุมทำสังฆกรรม เปรียบเทียบได้เหมือนเขตบ้านเมือง ซึ่งมีรั้วหรือกำแพงไว้เป็นเขตแดน
การที่นิยมกำหนดให้นาคไปวันทาเสมา ก็เพื่อให้นาคไปทำความเคารพเขตอุโบสถ
อันเป็นเขตแดนพิเศษสำหรับ พระสงฆ์ประชุมทำสังฆกรรม และเป็นสถานที่ประดิษฐาน
พระพุทธรูป ซึ่งเป็นองค์แทนพระพุทธเจ้า ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือเป็นกิริยาอาการแสดงความอ่อนน้อม
ถ่อมตนต่อพระรัตนตรัย โดยเริ่มทำความเคารพมาตั้งแต่ถึงเขตที่ประทับของพระพุทธเจ้าเลยทีเดียว
ประเพณีนิยมการวันทาเสมานี้ ในส่วนภูมิภาคนิยมปฏิบัติกันทั่วไป ส่วนในเมืองหลวงไม่ค่อยนิยม
เมื่อพิจารณาตามเหตุผลแล้ว จะเห็นว่า "ควรทำดีกว่าไม่ทำ"
ถ้าจะเปรียบก็เหมือนการเข้าไปหาท่านผู้ควรเคารพ พอถึงเขตที่อยู่ของท่าน ก็เริ่มแสดงความเคารพ
นอบน้อมต่อท่านผู้เป็นเจ้าของสถานที่ทันที โดยการถอดหมวก ลดร่มเป็นต้น ท่านเจ้าของสถานที่เห็น
กิริยาอาการแสดงความเคารพนอบน้อมถ่อมตนอย่างนั้น ย่อมจะเกิดความเมตตาปรานีต่อบุคคลนั้น
มากกว่าบุคคลที่ไม่ยอมถอดหมวก แสดงความเคารพฉะนั้น ฯ
...............................................
คัดลอกจาก หนังสือมนต์พิธีแปล
รวบรวมโดย พระครูอรุณธรรมรังษี (เอี่ยม สิริวัณโณ)
วัดอรุณราชวราราม(คณะ๓) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
|