พระพุทธศาสนสุภาษิต

๑. คน

ปจฺเจกจิตฺตา ปุถุ สพฺพสตฺตา

ประดาสัตว์ ต่างคนก็แต่ละจิตแต่ละใจ

ชา. ขุ. ๑๙/๒๗/๑๘๓๗



นานาทิฏฺฐิเก นานยิสฺสสิ เต

มนุษย์ทั้งหลาย ต่างความคิดต่างความเห็นกัน
ท่านจะกำหนดให้คิดเห็นเหมือนกันหมด เป็นไปไม่ได้


ชา. ขุ. ๑๙/๒๗/๗๓๐



ยถา น สกฺกา ปฐวี สมายํ
กาตุํ มนุสฺเสน ตถา มนุสฺสา

แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ ฉันใด
มนุษย์ทั้งหลายจะทำให้เหมือนกันหมดทุกคนก็ไม่ได้ ฉันนั้น

ชา. ขุ. ๑๙/๒๗/๗๓๑



เยเนว เอโก ลภเต ปสํสํ
เตเนว อญฺโญ ลภเต นินฺทิตารํ

เหตุอย่างหนึ่ง ทำให้คนหนึ่งได้รับการสรรเสริญ
เหตุอย่างเดียวกันนั้น ทำให้อีกคนหนึ่งได้รับการนินทา


ชา. ขุ. ๑๙/๒๗/๑๘๓๖



ตเถเวกสฺส กลฺยาณํ          ตเถเวกสฺส ปาปกํ
ตสฺมา สพฺพํ น กลฺยาณํ     สพฺพํ วาปิ น ปาปกํ

สิ่งเดียวกันนั่นแหละ ดีสำหรับคนหนึ่ง  แต่เสียสำหรับอีกคนหนึ่ง
เพราะฉะนั้น สิ่งใดๆ มิใช่ว่าจะดีไปหมด และก็มิใช่จะเสียไปทั้งหมด

ชา. ขุ. ๑๙/๒๗/๑๖๒



อุกฺกฏฺเฐ สูรมิจฺฉนฺติ      มนฺตีสุ อกุตูหลํ
ปิยญฺจ อนฺนปานมฺหิ      อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑตํ

เมื่อเกิดเหตุร้ายแรง ย่อมต้องการคนกล้าหาญ
เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้น ย่อมต้องการคนหนักแน่น
เมื่อมีข้าวน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก
เมื่อเกิดเรื่องราวลึกซึ้ง ย่อมต้องการบัณฑิต

ชา. ขุ. ๑๙/๒๗/๙๒



อลโส คิหี กามโภคี น สาธุ
อสญฺญโต ปพฺพชิโต น สาธุ
ราชา น สาธุ อนิสมฺมการี
โย ปณฺฑิโต โกธโน ตํ น สาธุ

คฤหัสถ์ชาวบ้าน เกียจคร้าน ไม่ดี
บรรพชิตไม่สำรวม ไม่ดี
ผู้ครองแผ่นดินไม่ใคร่ครวญก่อนทำ ไม่ดี
บัณฑิตมักโกรธ ไม่ดี


ชา. ขุ. ๑๙/๒๗/๒๑๗๕



ทกฺขํ คหปตํ สาธุ      สํวิภชฺชญฺจ โภชนํ
อหาโส อตฺถลาเภสุ   อตฺถพฺยาปตฺติ อพฺยโถ

ผู้ครองเรือนขยัน ดีข้อหนึ่ง
มีทรัพย์แล้วแบ่งปัน ดีข้อสอง
ถึงทีได้ผลสมหมาย ไม่เหลิงลอย ดีข้อสาม
ถึงคราวสูญเสียประโยชน์ ไม่หมดกำลังใจ ดีครบสี่


ชา. ขุ. ๑๙/๒๗/๑๑๗๕



น มชฺเชถ ยสํ ปตฺโต
น พฺยาเธ ปตฺตสํสยํ
วายเมเถว กิจฺเจสุ
สํวเร วิวรานิ จ

ข้อหนึ่ง ได้ยศแล้วไม่เมา
ข้อสอง ถึงมีเหตุอาจถึงแก่ชีวิต ไม่พึงเสียใจ
ข้อสาม พึงพยายามทำกิจทั้งหลายเรื่อยไป
ข้อสี่ พึงระวังตนมิให้มีช่องเสีย


ชา. ขุ. ๒๐/๒๘/๒๒๖



ทุลฺลโภ องฺคสมฺปนฺโน

คนที่มีคุณสมบัติพร้อมทุกอย่าง หาได้ยาก

ชา. ขุ. ๑๙/๒๗/๓๐๐



สนนฺตา ยนฺติ กุสุพฺภา      ตุณหี ยนฺติ มโหทธิ
ยทูนกํ ตํ สนติ                 ยํ ปูรํ สนฺตเมว ตํ
อฑฺฒกุมฺภูปโม พาโล      รหโท ปูโรว ปณฺฑิโต

ห้วยน้ำน้อย ไหลดังสนั่น ห้วงน้ำใหญ่ ไหลนิ่งสงบ
สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นเงียบ
คนพาลเหมือนหม้อมีน้ำครึ่งเดียว บัณฑิตเหมือนห้วงน้ำที่เต็ม


ขุ. ขุ. ๑๗/๒๕/๓๘๙

โย จ วสฺสสตํ ชีเว           กุสีโต หีนวีริโย
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย        วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ

ผู้ใดเกียจคร้าน หย่อนความเพียร
ถึงจะมีชีวิตอยู่ได้ร้อยปี ก็ไม่ดีอะไร
ชีวิตของผู้เพียรพยายามจริงจังมั่นคง
เพียงวันเดียวยังประเสริญกว่า

ขุ. ขุ. ๑๗/๒๕/๑๘

มาเส มาเส สหสฺเสน         โย ยเชถ สตํ สมํ
เอกญฺจ ภาวิตตฺตานํ          มุหุตฺตมปิ ปูชเย
สา เยว ปูชนา เสยฺโย         ยญฺเจ วสฺสสตํ หุตํ

ผู้ใดใช้ทรัพย์จำนวนพัน ประกอบพิธีบูชาทุกเดือน
สม่ำเสมอตลอดเวลาร้อยปี
การบูชานั้นจะมีค่ามากมายอะไร
การยกย่องบูชาบุคคลที่อบรมตนแล้วคนหนึ่ง
แม้เพียงครู่เดียวประเสริฐกว่า

ขุ. ขุ. ๑๗/๒๕/๑๘

น ชจฺจา วสโล โหติ             น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ
กมฺมุนา วสโล โหติ              กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ

ใครๆ จะเป็นคนเลวเพราะชาติกำเนิด ก็หาไม่
ใครๆ จะเป็นคนประเสริฐเพราะชาติกำเนิด ก็หาไม่
คนจะเลว ก็เพราะการกระทำ ความประพฤติ
คนจะประเสริฐ ก็เพราะการกระทำ ความประพฤติ


ขุ. ขุ. ๑๗/๑๓/๗๐๗

เนสา สภา ยตฺถ น สนฺติ สนฺโต

สัตบุรุษไม่มีในชุมชนใด ชุมชุนนั้นไม่ชื่อว่าสภา

สคาถ. สํ. ๗/๑๕/๗๒๕

น กามกามา ลปยนฺติ สนฺโต

สัตบุรุษ ไม่ปราศัยเพราะอยากได้กาม

ขุ. ขุ. ๑๗/๒๕/๑๖

สนฺโต น เต เย น วทนฺติ ธมฺมํ

ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ

สคาถ. สํ. ๗/๑๕/๗๒๕

สุเขน ผุฏฺฐา อถวา ทุกฺเขน    
น อุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ

บัณฑิต ได้สุข หรือถูกทุกข์กระทบ ก็ไม่แสดงอากาขึ้นๆ ลงๆ

ขุ. ขุ ๑๗/๒๕/๑๖

เอวเมว มนุสฺเสสุ             ทหโร เจปิ ปญฺญวา
โส หิ ตตฺถ มหา โหติ       เนว พาโล สรีรวา

ในหมู่มนุษย์นั้น ถึงแม้เป็นเด็ก ถ้ามีปัญญา ก็นับว่าเป็นผู้ใหญ่
แต่ถ้าโง่ ถึงร่างกายจะโตใหญ่ ก็หาเป็นผู้ใหญ่ไม่

ชา. ขุ. ๑๙/๒๗/๒๕๔

น เตน เถโร โหติ            เยนสฺส ปลิตํ สิโร
ปริปกฺโก วโย ตสฺส         โมฆชิณฺโณติ วุจฺจติ

คนจะชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ เพียงเพราะมีผมหงอก ก็หาไม่
ถึงวัยของเขาจะหง่อม ก็เรียกว่าแก่เปล่า

ขุ. ขุ. ๑๗/๒๕/๒๙

ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ        อหึสา สญฺญโม ทโม
ส เว วนฺตมโล ธีโร             โส เถโรติ ปวุจฺจติ

ส่วนผู้ใดมีสัจจะ มีธรรม มีอหิงสา มีสัญญมะ มีทมะ
ผู้นั้นแลเป็นปราชญ์สลัดมลทินได้แล้ว เรียกว่าเป็นผู้ใหญ่

ขุ. ขุ. ๑๗/๒๕/๒๙

น นคฺคจริยา น ชฏา น ปงฺกา           นานาสกา ตณฺฑิลสายิกา วา
รโชชลฺลํ อุกฺกุฏิกปฺปธานํ                โสเธนฺติ มจฺจํ อวิติณฺณกงฺขํ

มิใช่การประพฤติตนเป็นชีเปลือย มิใช่การเกล้าผมทรงชฎา
มิใช่การบำเพ็ญตบะนอนในโคลนตม มิใช่การอดอาหาร
มิใช่การนอนกับดิน มิใช่การเอาฝุ่นทาตัว มิใช่การตั้งท่านั่งดอก
ที่จะทำให้คนบริสุทธิ์ได้ ในเมื่อความสงสัยยังไม่สิ้น

ขุ. ขุ. ๑๗/๒๕/๒๐

อลงฺกโต เจปิ สมํ จเรยฺย                   สนฺโต ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจารี
สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ              โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ

ส่วนผู้ใด ถึงจะตกแต่งกาย สวมใส่อาภรณ์
แต่หากประพฤติชอบ เป็นผู้สงบ ฝึกอบรมตนแน่วแน่
เป็นผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ
เลิกละการเบียดเบียนปวงสัตว์ทั้งหมดแล้ว
ผู้นั้นแล จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ
หรือเป็นพระภิกษุ ก็ได้ทั้งสิ้น

ขุ. ขุ. ๑๗/๒๕/๒๐

โย พาโล มญฺเญตี พาลฺยํ       ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
พาโล จ ปณฺฑิตมานี              ส เว พาโลติ วุจฺจติ

ผู้ใดเป็นพาล รู้ตัวว่าเป็นพาล ก็ยังนับว่าเป็นบัณฑิตได้บ้าง
ส่วนผู้ใดเป็นพาล แต่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต
ผู้นั้นแล เรียกว่าเป็นคนพาลแท้ๆ

ขุ. ขุ. ๑๗/๒๕/๑๕

สาธุ โข ปณฺฑิโต นาม        น เตฺวว อติปณฺฑิโต

อันว่าบัณฑิตนั้นดีแน่ แต่ว่าบัณฑิตเลยเถิดไปก็ไม่ดี

ขุ. ขุ. ๑๙/๒๗/๙๘

น หิ สพฺเพสุ ฐาเนสุ            ปุริโส โหติ ปณฺฑิโต
อิตฺถีปิ ปณฺฑิตา โหติ          ตตฺถ ตตฺถ วิจกฺขณา

บุรุษจะเป็นบัณฑิตในทุกสถานก็หาไม่
สตรีมีปัญญาหยั่งเห็นในการณ์นั้นๆ ก็เป็นบัณฑิต

ชา. ขุ. ๑๙/๒๗/๑๑๔๑

น หิ สพฺเพสุ ฐาเนสุ            ปุริโส โหติ ปณฺฑิโต
อิตฺถีปิ ปณฺฑิตา โหติ           ลหุมตฺถํ วิจินฺติกา

บุรุษจะเป็นบัณฑิตในทุกสถานก็หาไม่
สตรีคิดการได้ฉับไว ก็เป็นบัณฑิต

ชา. ขุ. ๑๙/๒๗/๑๑๔๒

นินฺทนฺติ ตุณฺหิมาสีนํ        นินฺทนฺติ พหุภาณินํ
มิตภาณิมฺปิ นินฺทนฺติ        นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต

คนนั่งนิ่ง เขาก็นินทา      คนพูดมาก เขาก็นินทา
แม้แต่คนพูดพอประมาณ เขาก็นินทา
คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก

ขุ. ขุ. ๑๗/๒๕/๒๗




         
หมวดหมู่ สารบัญ
๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน ๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท ๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม ๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๔ . กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส ๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๕ . โกธวรรค คือ หมวดโกรธ ๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๖ . ขันติวรรค คือ หมวดอดทน ๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต ๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๘ . ชยวรรค คือ หมวดชนะ ๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน ๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๑๐ . ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์ ๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๑ . ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม ๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา ๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท ๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๕. ปาปวรรค คือ หมวดบาป ๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ ๓๔. หมวด คน

อักษรย่อ
เพื่อความสะดวกแก่ผู้ที่ยังไม่เข้าใจเรื่องอักษรย่อ
ที่ให้หมายแทนชื่อคัมภีร์ ซึ่งมีอยู่โดยมาก
มหาวิ. วิ. มหาวิภังค์ วินัยปิฎก.
ภิกฺขุนี. วิ. ภิกขุนีวิภังค์ วินัยปิฎก.
มหา. วิ. มหาวรรค วินัยปิฎก.
จุลฺล. วิ. จุลวรรค วินัยปิฎก.
ปริวาร. วิ. ปริวารวรรค วินัยปิฎก.
สี. ที. ลีลขันธวรรค ทีฆนิกาย.
มหา.ที. มหาวรรค ทีฆนิกาย.
ปา. ที. ปาฏิกวรรค ทีฆนิกาย.
มู. ม. มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย.
ม. ม. มัชฌิมปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย.
อุปริ. ม. อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย.
สคาถ. สํ. สคาถวรรค สังยุตตนิกาย.
นิทาน. สํ. นิทานวรรค สังยุตตนิกาย.
ขนฺธ. สํ. ขันธวารวรรค สังยุตตนิกาย.
สฬา. สํ. สฬายตนวรรค สังยุตตนิกาย.
มหาวาร. สํ. มหาวารวรรค สังยุตตนิกาย.
เอก. อํ. เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ทุก. อํ. ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ติก. อํ. ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
จตุกฺก. อํ. จตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ปญฺจก. อํ. ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ฉกฺก. อํ. ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
สตฺตก. อํ. สัตตกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
อฏฺฐก. อํ. อัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
นวก. อํ. นวกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ทสก. อํ. ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
เอกาทสก. อํ. เอกาทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ขุ. ขุ. ขุททกปาฐะ ขุททกนิกาย.
ธ. ขุ. ธรรมบท ขุททกนิกาย.
อุ. ขุ. อุทาน ขุททกนิกาย.
อิติวุ. ขุ. อิติวุตตกะ ขุททกนิกาย.
สุตฺต. ขุ. สุตตนิบาต ขุททกนิกาย.
วิมาน. ขุ. วิมานวัตถุ ขุททกนิกาย.
เปต. ขุ. เปตวัตถุ ขุททกนิกาย.
เถร. ขุ. เถรคาถา ขุททกนิกาย.
เถรี. ขุ. เถรีคาถา ขุททกนิกาย.
ชา. ขุ. ชาดก ขุททกนิกาย.
มหานิ. ขุ. มหานิทเทส ขุททกนิกาย.
จูฬนิ. ขุ. จูฬนิทเทส ขุททกนิกาย.
ปฏิสมฺ. ขุ. ปฏิสัมภิทามรรค ขุททกนิกาย.
อปท. ขุ. อปทาน ขุททกนิกาย.
พุทฺธว. ขุ. พุทธวงส์ ขุททกนิกาย.
จริยา. ขุ. จริยาปิฏก ขุททกนิกาย.
     
ตัวอย่าง : ๑๔/๑๗๑/๒๔๕ ให้อ่านว่า
ไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่ม ๑๔ หน้า ๑๗๑ ข้อที่ ๒๔๕