พระพุทธศาสนสุภาษิต

๑๑ . ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม

๑๖๒ . ธมฺโม รหโท อกทฺทโม.
ธรรมเหมือนห้วงน้ำไม่มีตม .
ขุ . ชา. ฉกฺก. ๒๗/ ๒๐๒.

๑๖๓ . มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา.
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๑๕.

๑๖๔ . ธมฺโม หิ อิสินํ ธโช.
ธรรมแล เป็นธงชัยของพวกฤษี.
สํ . นิ. ๑๖/ ๒๖. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/ ๖๖. ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/ ๑๕๒.

๑๖๕. สตํ ธมฺโม ทุรนฺวโย.
ธรรมของสัตบุรุษ รู้ได้ยาก.
สํ . ส. ๑๕/ ๒๖. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗๑๖๓. ขุ. ชา. ทสก. ๒๗๑๒๙๔.

๑๖๖ . สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ.
ธรรมของสัตบุรุษ ไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า.
สํ . ส. ๑๕/ ๑๐๒. ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๕. ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/ ๑๓๖.

๑๖๗ . สทฺธมฺโม สพฺภิ รกฺขิโต.
ธรรมของสัตบุรุษ อันสัตบุรุษรักษา.
ที . มหา. ๑๐/ ๒๗๙.

๑๖๘ . ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ.
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้.
สํ . ส. ๑๕/ ๕๘. ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๖๐. ขุ. ชา. ทสก. ๒จ/ ๒๙๐. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๑๔.

๑๖๙ . สพฺเพสํ สหิโต โหติ สทฺธมฺเม สุปติฏฺฐิโต
ผู้ตั้งมั่นในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง.
องฺ . อฏฺฐก. ๒๓/ ๒๔๙.

๑๗๐ . ธมฺมปีติ สุขํ เสติ.
ผู้มีปีติในธรรม อยู่เป็นสุข.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๒๕.

๑๗๑ . ธมฺมจารี สุขํ เสติ.
ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๓๗, ๓๘. ขุ. อุ. ๒๕/ ๓๖๖.

๑๗๒. ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺจารึ.
ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.
ขุ . ชา. ทสกฺ ๒๗/ ๒๙๐. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๑๔.

๑๗๓ . น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี.
ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ.
ขุ . ชา. ทสก. ๒๗/ ๙๐. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๑๔.

๑๗๔ . ธมฺเม ฐิตํ น วิชหาติ กิตฺติ.
เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
องฺ . ปญฺจก. ๒๓/ ๕๑.

๑๗๕ . ธมฺเม ฐิตา เย น กโรนฺติ ปาปกํ.
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป.
องฺ . จตุตกฺก. ๒๑/ ๒๕.

๑๗๖ . สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย.
สภาวธรรมทั้งปวง ไม่ควรถือมั่น.
ม . ม. ๑๒/ ๔๖๔.

๑๗๗ . โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ.
พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย .
ม . อุปฺ ๑๔/ ๔๗๑. สํ. ส. ๑๕/ ๗๘. องฺ. สตฺตก. ๒๓/ ๓.

๑๗๘ . ธมฺมํ จเร สุจิตํ น ตํ ทุจฺจริตํ จเร.
พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่ควรประพฤติให้ทุจริต.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๓๘. ขุ. อุ. ๒๕/ ๓๖๖.

๑๗๙. สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ.
ควรเคารพสัทธรรม.
องฺ . จตุกฺก. ๒๑/ ๒๗.

๑๘๐ . กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย.
บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย .
สํ . มหา. ๑๙/ ๒๙. ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๖.

๑๘๑ . สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต.
บัณฑิตควรเจริญธรรมขาว .
สํ . มหา. ๑๙/ ๒๙. ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๖.

อธมฺมํ ปฏิปนฺนสฺส โย ธมฺมมนุสาสติ
ตสฺส เจ วจนํ กยิรา น โส คจฺเฉยฺย ทุคฺคตึ.
ผู้ใดสอนธรรมแก่คนปฏิบัติไม่ถูก
ถ้าเขาทำตามคำของผู้นั้น จะไม่ไปสู่ทุคติ.
( พุทฺธ) ขุ. ชา สฏฺฐี. ๒๘/ ๓๙.

อุปารมฺภจิตฺโต ทุมฺเมโธ สุณาติ ชินสาสนํ
อารกา โหติ สทฺธมฺมา นภโส ปฐวี ยถา.
ผู้มีปัญญาทราม มีจิตใจกระด้าง ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า
ก็ยังห่างไกลจากพระสัทธรรม เหมือนดินกับฟ้า.
( ยสทตฺตเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๒๓.

ตณฺหาทุติโย ปุริโส ทีฆมทฺธาน สํสรํ
อิตฺถมฺภาวญฺ ถาภาวํ สํสารํ นาติวตฺตติ.
คนมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวอยู่ช้านาน
ไม่ล่วงพ้นสงสาร ที่กลับกลอกไปได้.
( ปจฺเจกพุทฺธ) ขุ. จู. ๓๐/ ๓๒๐.

นภญฺจ ทูเร ปฐวี จ ทูเร ปารํ สมุทฺทสฺส ตทาหุ ทูเร
ตโต หเว ทูรตรํ วทนฺติ สตญฺจ ธมฺโม อสตญฺจ ราช.
เขากล่าวว่า ฟ้ากับดินไกลกัน และฝั่งทะเลก็ไกลกัน
แต่ธรรมของสัตบุรุษกับของอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น.
( พฺราหฺมณ) ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/ ๑๔๓.

นิกฺกุหา นิลฺลปา ธีรา อถทฺธา สุสมาหิตา
เต เว ธมฺเม วิรูหนฺติ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต.
ผู้ไม่คดโกง ไม่พูดเพ้อ มีปรีชา ไม่หยิ่ง มีใจมั่นคงนั้นแล
ย่อมงดงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว .
( พุทฺธ) องฺ. จตุกฺก. ๒๑/ ๓๔. ขุ. มหา. ๒๙/ ๑๕๑.

ปฏิโสตคามึ นิปุณํ คมฺภีรํ ทุทฺทสํ อณุํ
ราครตฺตา น ทกฺขนฺติ ตโมกฺขนฺเธน อาวุตา.
ผู้ถูกราคะย้อม ถูกกองมืด ( อวิชชา) ห่อหุ้มแล้ว
ย่อมไม่เห็นธรรมสำหรับฝืนใจอันละเอียดลออ ลึกซึ้ง ซึ่งเห็นได้ยาก.
( พุทฺธ) ที. มหา. ๑๐/ ๔๑.

ยทา จ พุทฺธา โลกสฺมํ อุปฺปชฺชนฺติ ปภงฺกรา
เต อิมํ ธมฺมํ ปกาเสนฺติ ทุกฺขูปสมคามินํ.
เมื่อพระพุทธเจ้า ผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก,
พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้.
( สารีปุตฺต) ขุ. ปฏิ. ๓๑/ ๔๑๘.

ยสฺส สพฺรหมฺจารีสุ คารโว นุปลพฺภติ
อารกา โหติ สทฺธมฺมา นภํ ปฐวิยา ยถา.
ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารี ,
ผู้นั้นย่อมห่างจากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น.
( ภคุเถร) ขุ. เถร ๒๖/ ๓๑๑.

เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ.
ชนเหล่าใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว,
ชนเหล่านั้น จักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก.
( พุทธ) ขุ. ธ ๒๕/ ๒๖.

โย อิจฺเฉ ทิพฺพโภคญฺจ ทิพฺพมายุํ ยสํ สุขํ
ปาปานิ ปริวชฺเชตฺวา ติวิธํ ธมฺมมาจเร.
ผู้ใด ปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์,
ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม ๓ อย่าง.
( ราชธีดา) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๓๐๖.

โย จ อปฺปมฺปิ สุตฺวาน ธมฺมํ กาเยน ปสฺสติ
เว ธมฺมธโร โหติ โย ธมฺมํ นปฺปมชฺชติ.
ผู้ใดฟังธรรมแม้น้อย ย่อมเห็นธรรมด้วยกาย
ผู้ใดไม่ประมาทธรรม ผู้นั้นแล ชื่อว่าผู้ทรงธรรม.
( พุทธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๙.

โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ ปญฺญายตฺถํ วิปสฺสติ
ปชฺโชตสฺเสว นิพฺพานํ วิโมกฺโข โหติ เจตโส.
ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย , จะเห็นอรรถแจ่มแจ้งได้ด้วย
ปัญญา , ความหลุดพ้นแห่งใจย่อมมี เหมือนไฟดับ.
( พุทฺธ) องฺ. สตฺตก. ๒๓/ ๔.

อตฺถงฺคตสฺส น ปมาณมตฺถิ เยน นํ วชฺชึ ตํ ตสฺส นตฺถิ
สพฺเพสุ ธมฺเมสุ สมูหเตสุ สมูหตา วาทปถาปิ สพฺเพ.
ท่านผู้ดับไป ( คือปรินิพพาน ) แล้ว ไม่มีประมาณ,
จะพึงกล่าวถึงท่านนั้นด้วยเหตุใด เหตุนั้นของท่านก็ไม่มี,
เมื่อธรรมทั้งปวง( มีขันธ์เป็นต้น ) ถูกเพิกถอนแล้ว
แม้คลองแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึง( ว่าผู้นั้นเป็นอะไร )
ก็เป็นอันถูกเพิกถอนเสียทั้งหมด.
( พุทฺธ ) ขุ. ส. ๒๕/ ๕๓๙. ขุ. จู. ๓๐/ ๑๓๙.

อาทานตณฺหํ วินเยถ สพฺพํ อุทฺธํ อโธ ติริยํ วาปิ มชฺเฌ
ยํ ยํ หิ โลกสฺมึ อุปาทิยนฺติ เตเนว มาโร อนฺเวติ ชนฺตุํ.
พึงขจัดตัณหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ
เบื้องขวาง ท่ามกลาง, เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลกไว้
มารย่อมติดตามเขาไป เพราะสิ่งนั้น ๆ.
( พุทฺธ ) ขุ. ส. ๒๕/ ๕๔๖. ขุ. จู. ๓๐/ ๒๐๒.

อุจฺฉินฺท สิเนหมตฺตโน กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา
สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํ.
จงเด็ดเยื่อใยของตนเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง
จงเพิ่มพูนทางสงบ ( ให้ถึง ) พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๓.

โอวเทยฺยานุสาเสยฺย อสพฺภา จ นิวารเย
สติ หิ โส ปิโย โหติ อสตํ โหติ อปฺปิโย.
บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และป้องกันจากคนไม่ดี
เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๕.

กาเมสุ พฺรหฺมจริยวา วีตตณฺโห สทา สโต
สงฺขาย นิพฺพุโต ภิกฺขุ ตสฺส โน สนฺติ อิญฺชิตา.
ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม มีความประพฤติประเสริฐ
ปราศจากตัณหา สติทุกเมื่อ พิจารณาแล้ว ดับกิเลสแล้ว
ย่อมไม่มีความหวั่นไหว.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๓๑. ขุ. จู. ๓๐/ ๓๕.

 ขตฺติโย จ อธมฺมฏฺโฐ เวสฺโส จาธมฺมนิสฺสิโต
เต ปริจฺจชฺชุโภ โลเก อุปปชฺชนฺติ ทุคฺคตึ.
กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม และแพศย์ [ คนสามัญ ]
ไม่อาศัยธรรม ชนทั้ง ๒ นั้นละโลกแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/ ๑๗๕.

คตทฺธิโน วิโสกสฺส วิปฺปมุตฺตสฺส สพฺพธิ
สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส ปริฬาโห น วิชฺชติ.
ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หายโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง
ละกิเลสเครื่องรัดทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๗.

จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต.
พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ , เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ,
เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/ ๑๔๗.

ฉนฺทชาโต อนกฺขาเต มนสา จ ผุโฐ สิยา
กาเม จ อปฏิพทฺธจิตฺโต อุทฺธํโสโตติ วุจฺจติ.
พึงเป็นผู้พอใจและประทับใจในพระนิพพานที่บอกไม่ได้
ผู้มีจิตไม่ติดกาม ท่านเรียกว่าผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๔.

ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
เอตํ ตฺวา ยถาภูตํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.
ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว ดังเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๒.

ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ
สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ.
ราชรถอันงดงามย่อคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา
ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา
สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๑๐๒.

เต ฌายิโน สาตติกา นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ โยคกุเขมํ อนุตฺตรํ.
ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
ย่อมถูกต้องพระนิพพานอันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ .
( พุทฺธ ) ขุ. ธ . ๒๕/ ๑๘.

ทุกฺขเมว หิ สมฺโภติ ทุกฺขํ ติฏฺฐติ เวติ จ
นาญฺญตฺร ทุกฺขา สมฺโภติ นาญฺญตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ.
ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป
นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ.
( วชิราภิกฺขุนี ) สํ. ส. ๑๕/ ๑๙๙. ขุ. มหา. ๒๙/ ๕๓๖.

ธมฺโม ปโถ มหาราช อธมฺโม ปน อุปฺปโถ
อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคตึ.
มหาราช ! ธรรมเป็นทาง ( ควรดำเนินตาม )
ส่วนอธรรมนอกลู่นอกทาง ( ไม่ควรดำเนินตาม )
อธรรมนำไปนรก ธรรมให้ถึงสวรรค์.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. สฏฺฐิ. ๒๘/ ๓๙.

นนฺทิสญฺโญชโน โลโก วิตกฺกสฺส วิจารณา
ตณฺหาย วิปฺปหาเนน นิพฺพานํ อิติ วุจฺจติ.
สัตว์โลกมีความเพลินเป็นเครื่องผูกพัน มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป
ท่านเรียกว่านิพพาน เพราะละตัณหาได้.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๔๗. ขุ. จู ๓๐/ ๒๑๖, ๒๑๗.

นาญฺญตฺร โพชฺฌาตปสา นาญฺญตฺร อินฺทฺริยสํวรา
นาญฺญตฺร สพฺพนิสฺสคฺคา โสตฺถึ ปสฺสามิ ปาณินํ.
เรา ( ตถาคต ) ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย นอกจาก
ปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และการสละสิ่งทั้งปวง.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๗๕.

ปญฺจกฺขนฺธา ปริญฺญาตา ติฏฺฐนฺติ ฉินฺนมูลกา
ทุกฺขกฺขโย อนุปฺปตฺโต นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว.
เบญจขันธ์ที่กำหนดรู้แล้ว มีรากขาดตั้งอยู่
ถึงความสิ้นทุกข์แล้ว ก็ไม่มีภพต่อไปอีก.
( พฺรหฺมทตฺตเถรี ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๓๔.

ปตฺตา เต นิพฺพานํ เย ยุตฺตา ทสพลสฺส ปาวจเน
อุปฺโปสฺสุกฺกา ฆเฏนฺติ ชาติมรณปฺปหานาย.
ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล มีความขวนขวายน้อย
พากเพียรละความตาย ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน.
( สุเมธาเถร ) ขุ. เถรี. ๒๖/ ๕๐๒.

พหุสฺสุตํ อุปาเสยฺย สุตญฺจ น วนาสเย
ตํ มูลํ พฺรหฺมจริยสฺส ตสฺมา ธมฺมธโร สิยา.
พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต และไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม
สุตะนั้นเป็นรากแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น ควรเป็นผู้ทรงธรรม.
( อานนฺทเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๔๐๖.

มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ สจฺจานํ จตุโร ปทา
วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ ทิปทานญฺจ จกฺขุมา.
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐสุด,
บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ๔ ประเสริฐสุด,
บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะธรรมประเสริฐสุด,
และบรรดาสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐสุด.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๑.

 ยตฺถ นามญฺจ รูปญฺจ อเสสํ อุปรุชฺฌติ
วิญฺญาณสฺส นิโรเธน เอตฺเถตํ อุปรุชฺฌติ.
นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในที่ใด
นามและรูปนี้ย่อมดับในที่นั้น เพราะวิญญาณดับ.
( พุทฺธ ) ขุ. สุง ๒๕/ ๕๓๑. ขุ. จู. ๓๐/ ๒๑.

ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สญฺญโม ทโม
เอตทริยา เสวนฺติ เอตํ โลเก อนามตํ.
สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และทมะ มีอยู่ในผู้ใด
อารยชนย่อมคบผู้นั้น นั่นเป็นธรรมอันไม่ตายในโลก.
( อุปสมฬฺหาโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/ ๕๘.

ยานิ โสตานิ โลกสฺมึ สติ เตสํ นิวารณํ
โสตานํ สํวรํ พฺรูมิ ปญฺญาเยเต ปิถิยฺยเร.
กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น
เรากล่าวว่าสติเป็นเครื่องกั้นกระแส กระแสเหล่านั้น
อันบุคคลปิดกั้นได้ด้วยปัญญา.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๓๐. ขุ. จู. ๓๐/ ๑๖, ๒๐.

 เย สนฺตจิตฺตา นิปกา สติมนฺโต จ ฌายิโน
สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสนฺติ กาเมสุ อนเปกฺขิโน.
ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ
ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ .
( พุทฺธ ) ขุ. อิติ. ๒๕/ ๒๖๐.

โย จ ปปญฺจํ หิตฺวาน นิปฺปปญฺจปเท รโต
อาราธยิ โส นิพฺพานํ โยคกุเขมํ อนุตฺตรํ.
ผู้ใดละปปัญจธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในธรรม
ที่ไม่มีสิ่งทำให้เนิ่นช้า ผู้นั้นก็บรรลุพระนิพพานอันปลอดจากโยคะ
ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.
( สารีปุตฺต ) องฺ. ฉกฺก. ๒๒/ ๓๒๙.

สกํ หิ ธมฺมํ ปริปุณฺณมาหุ อญฺญสฺส ธมฺมํ ปน หีนมาหุ
เอวมฺปิ วิคฺคยฺห วิวาทยนฺติ สกํ สกํ สมฺมติมาหุ สจฺจํ.
สมณพราหมณ์บางเหล่ากล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์ ,
แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว ( บกพร่อง ), เขาย่อมทะเลาะวิวาทกัน
แม้ด้วยเหตุนี้ เพราะต่างก็กล่าวข้อสมมติของตน ๆ ว่าเป็นจริง.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๑๑. ขุ. มหา. ๒๙/ ๓๘๓.

สมฺมปฺปธานสมฺปนฺโน สติปฏฺฐานโคจโร
วิมุตฺติกุสุมสญฺฉนฺโน ปรินิพฺพายิสฺสตฺยนาสโว.
ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์
ดาดาษด้วยดอกไม้คือวิมุตติ หาอาสวะมิได้ จักปรินิพพาน.
( เทวสภเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๒๘๒.

สุสุขํ วต นิพฺพานํ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ
อโสกํ วิรชํ เขมํ ยตฺถ ทุกฺขํ นิรุชฺฌติ.
พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ.
( หาริตเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๐๙.

โสรจฺจํ อวิหึสา จ ปาทา นาคสฺส เต ทุเว
สติ จ สมฺปชญฺญญฺจ จรณา นาคสฺส เต ปเร.
โสรัจจะและอวิหิงสานั้น เป็นช้างเท้าหลัง
สติและสัมปชัญญะนั้น เป็นช้างเท้าหน้า.
( อุทายีเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๖๘.

หีนํ ธมฺมํ น เสเวยฺย ปมาเทน น สํวเส
มิจฺฉาทิฏฺฐึ น เสเวยฺย น สิยา โลกวฑฺฒโน.
ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่กับความประมาท
ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรเป็นคนรกโลก.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๗.

หีเนน พฺรหฺมจริเยน ขตฺติเย อุปปชฺชติ
มชฺฌิเมน จ เทวตฺตํ อุตฺตเมน วิสุชฺฌติ.
บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างเลว,
ถึงความเป็นเทวดา ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง,
ย่อมบริสุทธิ์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง.
( พุทฺธ ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๑๙๙.


หมวดหมู่ สารบัญ
๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน ๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท ๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม ๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๔ . กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส ๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๕ . โกธวรรค คือ หมวดโกรธ ๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๖ . ขันติวรรค คือ หมวดอดทน ๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต ๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๘ . ชยวรรค คือ หมวดชนะ ๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน ๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๑๐ . ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์ ๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๑ . ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม ๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา ๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท ๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๕. ปาปวรรค คือ หมวดบาป ๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ ๓๔. หมวด คน


         
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
องฺ. อฏฺฐก. องฺคุตฺตรนิกาย   อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   ฉกฺกกนิปาต
องฺ. ติก. องฺคุตฺตรนิกาย   ติกนิปาต
องฺ. ทสก. องฺคุตฺตรนิกาย   ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก. องฺคุตฺตรนิกาย   ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก. องฺคุตฺตรนิกาย   สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ. องฺคุตฺตรนิกาย   อิติวุตฺตก
ชุ. อุ. ขุทฺทกนิกาย   อุทาน
ขุ. จริยา ขุทฺทกนิกาย   จริยาปิฏก
ขุ. จู. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส ขุทฺทกนิกาย ชาดก เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก นวกนิปาต
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา. ขุทฺทกนิกาย ชาดก มหานิปาต
ขุ. ชา. วีสติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐี. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สฏฺฐีนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร. ขุทฺทกนิกาย   เถราคาถา
ขุ. เถรี. ขุทฺทกนิกาย   เถรีคาถา
ขุ. ธ. ขุทฺทกนิกาย   ธมฺมปทคาถา
ขุ. ปฏิ. ขุทฺทกนิกาย   ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ. ขุทฺทกนิกาย   พุทฺธวํส
ขุ. มหา. ขุทฺทกนิกาย   มหานิทฺเทส
ขุ. วิ. ขุทฺทกนิกาย   วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต. ขุทฺทกนิกาย   เปตวตฺถุ
ขุ. สุ. ขุทฺทกนิกาย   สตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ. ทีฆนิกาย   ปาฏิกวคฺค
ที. มหา. ทีฆนิกาย   มหาวคฺค
ม. อุป. มชฺฌิมนิกาย   อุปริปณฺณาสก
ม. ม. มชฺฌิมนิกาย   มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล. วินัยปิฏก   จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ. วินัยปิฏก   ภิกฺขุณีวิภงฺค
วิ. มหา. วินัยปิฏก   มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค. วินัยปิฏก   มหาวิภงฺค
สํ. นิ. สํยุตฺตนิกาย   นิทานวคฺค
สํ. มหา. สํยุตฺตนิกาย   มหาวารวคฺค
สํ. ส. สํยุตฺตนิกาย   สคาถวคฺค