พระพุทธศาสนสุภาษิต

๔ . กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส.

๖๓. สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม.

ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน.
สํ . ส. ๑๕/ ๓๒. อง. ฉกฺก. ๒๒/ ๔๖๐.

๖๔ . น สนฺติ กามา มนุเชสุ นิจฺจา.
กามทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในมนุษย์.
สํ . ส. ๑๕/ ๓๑.

๖๕ . กาเมหิ โลกมฺหิ น อตฺถิ ติตฺติ.
ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ไม่มีในโลก.
ม. ม. ๑๓/ ๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๗.

๖๖ . น กหาปณวสฺเสน ติตฺติ กาเมสุ วิชฺชติ.
ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพราะฝนคือกหาปณะ.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๔๐. ขุ. ชา. ติก. ๒๗/ ๑๐๒.

๖๗ . นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํ.
ทุกข์ ( อื่น) ยิ่งกว่ากาม ย่อมไม่มี.
ขุ . ชา. เอกาทสก. ๒๗/ ๓๑๕.

๖๘ . นตฺถิ ตณฺหาสมา นที.
แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๔๘.

๖๙. อิจฉา โลกสฺมิ ทุชฺชหา.
ความอยากละได้ยากในโลก.
สํ . ส. ๑๕/ ๖๑.

๗๐ . อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา.
ความอยากมีอารมณ์หาที่สุดมิได้เลย .
ขุ . ชา. ทุก. ๒๗/ ๙๔.

๗๑ . อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ.
ความอยากย่อมเสือไสซึ่งนรชน .
สํ . ส. ๑๕/ ๖๑.

๗๒ . นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ.
ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี.
ขุ . ธ. ๒๕- ๔๒, ๔๘.

๗๓ . โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ.
ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย .
สํ . ส. ๑๕/ ๕๙.

๗๔ . อติโลโภ หิ ปาปโก.
ความละโมบเป็นบาปแท้ .
วิ . ภิ. ๓/ ๙๖. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๔๔.

๗๕ . นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ.
ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๔๘.

๗๖. ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ.
ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป.
ม . ม. ๑๓/ ๔๑๑. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๗.

๗๗ . อูนา ว หุตฺวาน ชหนฺติ เทหํ.
ผู้บริโภคกามเป็นผู้พร่อง ละร่างกายไป.
ม . ม. ๑๓/ ๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๗.

๗๘ . โภคตณฺหาย ทุมฺเมโธ หนฺติ อญฺเ ว อตฺตนํ.
ผู้มีปัญญาทราม ย่อมฆ่าตนเองเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะอยากได้โภคทรัพย์.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๖๓.

๗๙ . อวิชฺชานิวุตา โปสา.
คนทั้งหลายอันอวิชชาหุ้มห่อไว้ .
วิ . จุล. ๗/ ๔๐๐. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/ ๙๓.

กามา กฏุกา อาสีวิสูปมา เยสุ มุจฺฉิตา พาลา
เต ทีฆรตฺตํ นิรเย สมปฺปิตา หญฺญนฺเต ทุกฺขิตา.
กามทั้งหลายเป็นของเผ็ดร้อน เหมือนงูพิษ เป็นที่คนโง่หมกมุ่น
เขาต้องแออัดทุกข์ยากอยู่ในนรกตลอดกาลนาน .
( สุเมธาเถรี) ขุ. เถรี. ๒๖/ ๔๙๙.

กุหา ถทฺธา ลปา สิงฺคี อุนฺนฬา จาสมาหิตา
เต ธมฺเม วิรูหนฺติ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต.
คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น
ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว .
( พุทฺธ) องฺ. จตุตฺก. ๒๑/ ๓๔.

โกธสฺส วิสมูลสฺส มธุรคฺคสฺส พฺราหฺมณ
วธํ อริยา ปสํสนฺติ ตญฺหิ เฉตฺวา น โสจติ.
พราหมณ์ ! พระอริยะเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ
ซึ่งมีโคนเป็นพิษ ปลายหวาน, เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศก.
( พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/ ๒๓๖.

นิทฺทํ น พหุลีกเรยฺย ชาคริยํ ภเชยฺย อาตาปี
ตนฺทึ มายํ หสฺสํ ขิฑฺฑํ เมถุนํ วิปฺปชเห สวิภูสํ.
ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น
พึงละ ความเกียจคร้าน มายา ความร่าเริง การเล่น
และเมถุนพร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๑๕. ขุ. มหา. ๒๙/ ๔๕๗, ๔๖๐.

ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจํ อุชฺฌานสญฺญิโน
อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา.
คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น
อาสวะก็เพิ่มพูนเขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๙.

ยทา ทฺวเยสุ ธมฺเมสุ ปารคู โหติ พฺราหฺมโณ
อถสฺส สพฺเพ สํโยคา อตฺถํ คจฺฉนฺติ ชานโต.
เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรม ๒ อย่าง
เมื่อนั้นกิเลสเครื่องตรึงทั้งปวงของพราหมณ์ผู้รู้นั้น
ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๖๗.

ยา กาจิมา ทุคฺคติโย อสฺมํ โลเก ปรมฺหิ จ
อวิชฺชามูลกา สพฺพา อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา.
ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า ล้วนมีอวิชชาเป็นราก
มีอิจฉาและโลภเป็นลำต้น.
( พุทฺธ) ขุ. อิติ. ๒๕/ ๒๕๖.

เยน สลฺเลน โอติณฺโณ ทิสา สพฺพา วิธาวติ
ตเมว สลฺลํ อพฺพุยฺห น ธาวติ น สีทติ.
บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้ว ย่อมแล่นไปทั่วทิศ
ถอนลูกศรนั้นแล้ว ย่อมไม่แล่นและไม่จม.
( พุทธ) ขุ. ส. ๒๕/ ๕๑๘. ขุ. มหา. ๑๙/ ๕๐๑.

โลโภ โทโส จ โมโห จ ปุริสํ ปาปเจตสํ
หึสนฺติ อตฺตสมฺภูตา ตจสารํว สมฺผลํ.
โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว
ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น
( พุทฺธ) ขุ. อิติ. ๒๕/ ๒๖๔. ขุ. มหา. ๒๙/ ๑๘.

อนิจฺจา อทฺธุวา กามา พหุทุกฺขา มหาวิสา
อโยคุโฬว สนฺตตฺโต อฆมูลา ทุกฺขปฺผลา.
กามทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก ดัง
ก้อนเหล็กที่ร้อนจัด เป็นต้นเค้าแห่งความคับแค้น มีทุกข์เป็นผล.
( สุเมธาเถรี ) ขุ. เถรี. ๒๖/ ๕๐๓.

อวิชฺชาย นิวุโต โลโก เววิจฺฉา ( ปมาทา ) นปฺปกาสติ
ชปฺปาภิเลปนํ พฺรูมิ ทุกฺขมสฺส มหพฺภยํ.
โลกถูกอวิชชาปิดบังแล้ว ไม่ปรากฏ เพราะความตระหนี่
( และความประมาท ) เรากล่าวความอยากว่า เป็นเครื่องฉาบทาโลก
ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น .
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๓๐. ขุ. จู. ๓๐/ ๙.

อิจฺฉาย พชฺฌตี โลโก อิจฺฉาวินยาย มุจฺจติ
อิจฺฉาย วิปฺปหาเนน สพฺพํ ฉินฺทติ พนธนํ.
โลกถูกความอยากผูกมัดไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก ,
เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้.
( พุทฺธ ) สํ. ศ. ๑๕/ ๕๖.

อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ อิจฺฉา โลกสฺมิ ทุชฺชหา
อิจฺฉาพทฺธา ปุถู สตฺตา ปาเสน สกุณี ยถา.
ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก,
สัตว์เป็นอันมากถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ฉะนั้น.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๖๑.

อุเปกฺขโก สทา สโต น โลเก มญฺญตี
สมํ น วิเสสี น นีเจยฺโย ตสฺส โน สนฺติ อุสฺสทา.
ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ว่าดีกว่าเขา
ว่าต่ำกว่าเขาในโลก , ผู้นั้นชื่อว่า ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น.
( พุทฺธ ) ขุ. มหา. ๒๙/ ๒๗๙. ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๐๑.

อุจฺฉินฺนภวตณฺหสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน
วิกฺขีโร ชาติสํสาโร นตฺถิ ตสฺส ปุนพฺภโว.
ภิกษุผู้ถอนภวตัณหาได้แล้ว มีจิตสงบแล้ว
สิ้นความเวียนเกิดแล้ว ย่อมไม่มีภพอีก.
( พุทฺธ ) ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๔๓.

เอวมาทีนวํ  ตฺวา ตณฺหา ทุกฺขสฺส สมฺภวํ
วีตตณฺโห อนาทาโน สโต ภิกฺขุ ปริพฺพเช.
ภิกษุรู้โทษอย่างนี้ว่า ตัณหาเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์แล้ว
พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น มีสติอยู่ทุกอิริยาบถเถิด.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๗๘. ขุ. จู. ๓๐/ ๓๒๐.

 กามา หิ จิตฺรา มธุรา มโนรมา วิรูปรูเปน มเถนฺติ จิตฺตํ
อาทีนวํ กามคุเณสุ ทิสฺวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
กามทั้งหลาย ตระการหวานชื่นใจ ย่อมย่ำยีจิตโดยรูปร่างต่าง ๆกัน
บุคลพึงเห็นโทษในกามคุณแล้ว เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๓๔.

โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ สญฺโญ ชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตํ นามรูปสฺมิมสชฺชมานํ อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ สงฺคา.
บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง,
( เพราะ ) เครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องในนามรูป
ไม่มีกังวลนั้น
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๓๕๐.

โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ สญฺโญ ชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตนฺนามรูปสฺมึ อสชฺชมานํ อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา.
บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง,
( เพราะ ) ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป
ไม่มีกังวลนั้น .
( พุทฺธ ) ขุ. ธ . ๒๕/ ๔๔.

ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ
สตฺโต สํสารมาปาทิ ทุกฺขา น ปริมุจฺจติ.
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน
สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นจากทุกข์.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๕๑.

ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ
สตฺโต สํสารมาปาทิ ทุกฺขมสฺส มหพฺภยํ.
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน
สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงมีทุกข์เป็นภัยใหญ่.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๕๑.

 ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ
สตฺโต สํสารมาปาทิ กมฺมํ ตสฺส ปรายนํ.
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน
สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงยังมีกรรมนำหน้า.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๕๒.

ตณฺหาย อุฑฺฑิโต โลโก ชราย ปริวาริโต
มจฺจุนา ปิหิโต โลโก ทุกฺเข โลโก ปติฏฺฐิโต.
โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้
จึงตั้งอยู่ในทุกข์.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๕๕.

นนฺทิสมฺพนฺธโน โลโก วิตกฺกสฺส วิจารณํ
ตณฺหาย วิปฺปหาเนน สพฺพํ ฉินฺทติ พนฺธนํ.
โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูก มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป
เพราะละตัณหาเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกไว้ทั้งหมด.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๕๕.

 นิทฺทํ ตนฺทึ สเห ถีนํ ปมาเทน น สํวเส
อติมาเน น ติฏฺเฐยฺย นิพฺพานมนโส นโร.
คนที่นึกถึงพระนิพพาน พึงครอบงำความหลับ
ความเกียจคร้าน ความท้อแท้, ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท
ไม่พึงตั้งอยู่ในความทะนงตัว.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๑๘.

นิราสตฺตี อนาคเต อตีตํ นานุโสจติ
วิเวกทสฺสี ผสฺเสสุ ทิฏฺฐีสุ จ น นิยฺยติ.
ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว,
ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๐๐. ขุ. มหา. ๒๙/ ๒๖๔, ๒๖๒.

ปุราณํ นาภินนฺเทยฺย นเว ขนฺติมกุพฺพเย
หิยฺยมาเน น โสเจยฺย อากาสํ น สิโต สิยา.
ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่
เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงอาศัยตัณหา.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๑๘.

 มจฺจุนาพฺภาหโต โลโก ชราย ปริวาริโต
ตณฺหาสลฺเลน โอติณฺโณ อิจฺฉาธูปายิโต สทา.
สัตว์โลกถูกมฤตยูขจัดแล้ว ถูกชราล้อมไว้
ถูกลูกศรคือตัณหาเสียบแล้ว ถูกอิจฉาคุกรุ่นแล้วทุกเมื่อ.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๕๕.

มานุเปตา อยํ ปชา มานคนฺถา มานวินิพฺพทฺธา
ทิฏฺฐีสุ พฺยารมฺภกตา สํสารํ นาติวตฺตติ.
หมู่สัตว์นี้ประกอบด้วยมานะ มีมานะเป็นเครื่องร้อยรัด
ถูกมานะมัดไว้ ทำความแข่งดีเพราะทิฏฐิ ย่อมล่วงสงสารไปไม่ได้.
( พุทฺธ ) ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๙๓.

มูฬฺโห อตฺถํ น ชานาติ มูฬฺโห ธมฺมํ น ปสฺสติ
อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โมโห สหเต นรํ.
ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม
ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น.
( พุทฺธ ) ขุ. อิติ. ๒๕/ ๒๙๖. ขุ. มหา. ๒๙/ ๑๘.

 ยสฺส นตฺถิ อิทํ เมติ ปเรสํ วาปิ กิญฺจนํ
มมตฺตํ โส อสํวินฺทํ นตฺถิ เมติ น โสจติ.
ผู้ใดไม่มีกังวลว่า นี้ของเรา นี้ของผู้อื่น
ผู้นั้นเมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา
จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๑๙. ขุ. มหา. ๒๙/ ๕๓๔.

โยธ กาเม อจฺจุตฺตริ สงฺคํ โลเก ทุรจฺจยํ
โส โสจติ นาชฺเฌติ ฉินฺนโสโต อพนฺธโน.
ผู้ใดข้ามพ้นกามในโลกและเครื่องข้องที่ข้ามได้ยากในโลก ,
ผู้นั้นตัดกระแสตัณหาได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก,
ชื่อว่าไม่เศร้าโศก ไม่ยินดี.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๑๙. ขุ. มหา. ๒๙/ ๕๒๗.

โย เว อวิทฺวา อุปธึ กโรติ ปุนปฺปุนํ ทุกฺขมุเปติ มนฺโท
ตสฺมา ปชานํ อุปธึ น กยิรา ทุกฺขสฺส ชาติปฺปภวานุปสฺสี.
ผู้ใดไม่รู้ ย่อมก่ออุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา เข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ
เพราะฉะนั้น ผู้รู้เห็นแดนเกิดแห่งทุกข์ จึงไม่ควรก่ออุปธิ.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๓๔. ขุ. จู. ๓๐/ ๘๐, ๘๑

 ลุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ ลุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ
อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โลโภ สหเต นรํ.
ผู้โลภ ย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม,
ความโลภเข้าครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น.
( พุทฺธ ) ขุ. อิติ. ๒๕/ ๒๙๕. ขุ. มหา. ๒๙/ ๑๗.

วนํ ฉินฺทถ มา รุกฺขํ วนโต ชายตี ภยํ
เฉตฺวา วนญฺจ วนถญฺจ นิพฺพนา โหถ ภิกฺขโว.
ท่านทั้งหลายจงตัดป่า ( กิเลส ) อย่าตัดต้นไม้,
ภัยย่อมเกิดจากป่า ภิกษุทั้งหลาย ! พวกท่านจงตัดป่า
และสิ่งที่ตั้งอยู่ในป่าแล้ว เป็นผู้ไม่มีป่า เถิด.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๒.


หมวดหมู่ สารบัญ
๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน ๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท ๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม ๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๔ . กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส ๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๕ . โกธวรรค คือ หมวดโกรธ ๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๖ . ขันติวรรค คือ หมวดอดทน ๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต ๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๘ . ชยวรรค คือ หมวดชนะ ๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน ๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๑๐ . ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์ ๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๑ . ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม ๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา ๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท ๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๕. ปาปวรรค คือ หมวดบาป ๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ ๓๔. หมวด คน


         
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
องฺ. อฏฺฐก. องฺคุตฺตรนิกาย   อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   ฉกฺกกนิปาต
องฺ. ติก. องฺคุตฺตรนิกาย   ติกนิปาต
องฺ. ทสก. องฺคุตฺตรนิกาย   ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก. องฺคุตฺตรนิกาย   ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก. องฺคุตฺตรนิกาย   สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ. องฺคุตฺตรนิกาย   อิติวุตฺตก
ชุ. อุ. ขุทฺทกนิกาย   อุทาน
ขุ. จริยา ขุทฺทกนิกาย   จริยาปิฏก
ขุ. จู. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส ขุทฺทกนิกาย ชาดก เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก นวกนิปาต
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา. ขุทฺทกนิกาย ชาดก มหานิปาต
ขุ. ชา. วีสติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐี. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สฏฺฐีนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร. ขุทฺทกนิกาย   เถราคาถา
ขุ. เถรี. ขุทฺทกนิกาย   เถรีคาถา
ขุ. ธ. ขุทฺทกนิกาย   ธมฺมปทคาถา
ขุ. ปฏิ. ขุทฺทกนิกาย   ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ. ขุทฺทกนิกาย   พุทฺธวํส
ขุ. มหา. ขุทฺทกนิกาย   มหานิทฺเทส
ขุ. วิ. ขุทฺทกนิกาย   วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต. ขุทฺทกนิกาย   เปตวตฺถุ
ขุ. สุ. ขุทฺทกนิกาย   สตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ. ทีฆนิกาย   ปาฏิกวคฺค
ที. มหา. ทีฆนิกาย   มหาวคฺค
ม. อุป. มชฺฌิมนิกาย   อุปริปณฺณาสก
ม. ม. มชฺฌิมนิกาย   มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล. วินัยปิฏก   จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ. วินัยปิฏก   ภิกฺขุณีวิภงฺค
วิ. มหา. วินัยปิฏก   มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค. วินัยปิฏก   มหาวิภงฺค
สํ. นิ. สํยุตฺตนิกาย   นิทานวคฺค
สํ. มหา. สํยุตฺตนิกาย   มหาวารวคฺค
สํ. ส. สํยุตฺตนิกาย   สคาถวคฺค