พระพุทธศาสนสุภาษิต

๒๗ . สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา

๔๓๘. สทฺธา พนฺธติ ปาเถยฺยํ.

ศรัทธารวบรวมไว้ซึ่งเสบียง ( คือกุศล).
สํ . ส. ๑๕/ ๖๑.

๔๓๙ . สทฺธา สาธุ ปติฏฺฐิตา.
ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
สํ . ส. ๑๕/ ๕๐.

๔๔๐ . สุขา สทฺธา ปติฏฺฐิตา.
ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำสุขมาให้.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๙.

๔๔๑ . สทฺธีธ วิตฺตํ ปุริสสฺส เสฏฺฐํ
ศรัทธาเป็นทรัพย์ประเสริฐของคนในโลกนี้ .
สํ . สํ. ๑๕/ ๕๘. ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๖๐.

๔๔๒ . สทฺธา ทุติยา ปุริสสฺส โหติ.
ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน .
สํ . ส. ๑๕/ ๓๕, ๕๒.

เอโกปิ สทฺโธ เมธาวี อสฺสทฺธานํ จ ญาตินํ
ธมฺมฏฺโฐ สีลสมฺปนฺโน โหติ อตฺถาย พนฺธุนํ.
ผู้มีศรัทธา มีปัญญา ตั้งในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล แม้คนเดียว
ย่อมเป็นประโยชน์แก่ญาติและพวกพ้องผู้ไม่มีศรัทธา.
( ปสฺสิกเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๐๖.

ทสฺสนกาโม สีลวตํ สทฺธมฺมํ โสตุมิจฺฉติ
วิเนยฺย มจฺเฉรมลํ ส เว สทฺโธติ วุจฺจติ.
ผู้ใด ใคร่เห็นผู้ศีล ปรารถนาฟังพระสัทธธรรม
กำจัดมลทิน คือความตระหนี่ได้, ผู้นั้นแล ท่านเรียกว่าผู้มีศรัทธา.
( พุทฺธ) องฺ. ติก. ๒๐/ ๑๙๑.

สทฺโธ สีเลน สมฺปนฺโน ยโสโภคสมปฺปิโต
ยํ ยํ ปเทสํ ภชติ ตตฺถ ตตฺเถว ปูชิโต.
ผู้มีศรัทธา ประกอบด้วยศีล เพียบพร้อมด้วยยศและโภคะ
จะไปสู่ถิ่นใด ๆ ก็มีคนบูชาในถิ่นนั้น ๆ.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๕.

เย นํ ททนฺติ สทฺธาย วิปฺปสนฺเนน เจตสา
ตเมว อนฺนํ ภชติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ.
คนใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวด้วยศรัทธา, คนนั้นย่อมได้ข้าว
ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้าเหมือนกัน.
( พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/ ๘๒.


หมวดหมู่ สารบัญ
๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน ๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท ๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม ๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๔ . กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส ๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๕ . โกธวรรค คือ หมวดโกรธ ๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๖ . ขันติวรรค คือ หมวดอดทน ๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต ๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๘ . ชยวรรค คือ หมวดชนะ ๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน ๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๑๐ . ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์ ๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๑ . ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม ๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา ๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท ๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๕. ปาปวรรค คือ หมวดบาป ๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ ๓๔. หมวด คน


         
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
องฺ. อฏฺฐก. องฺคุตฺตรนิกาย   อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   ฉกฺกกนิปาต
องฺ. ติก. องฺคุตฺตรนิกาย   ติกนิปาต
องฺ. ทสก. องฺคุตฺตรนิกาย   ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก. องฺคุตฺตรนิกาย   ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก. องฺคุตฺตรนิกาย   สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ. องฺคุตฺตรนิกาย   อิติวุตฺตก
ชุ. อุ. ขุทฺทกนิกาย   อุทาน
ขุ. จริยา ขุทฺทกนิกาย   จริยาปิฏก
ขุ. จู. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส ขุทฺทกนิกาย ชาดก เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก นวกนิปาต
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา. ขุทฺทกนิกาย ชาดก มหานิปาต
ขุ. ชา. วีสติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐี. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สฏฺฐีนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร. ขุทฺทกนิกาย   เถราคาถา
ขุ. เถรี. ขุทฺทกนิกาย   เถรีคาถา
ขุ. ธ. ขุทฺทกนิกาย   ธมฺมปทคาถา
ขุ. ปฏิ. ขุทฺทกนิกาย   ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ. ขุทฺทกนิกาย   พุทฺธวํส
ขุ. มหา. ขุทฺทกนิกาย   มหานิทฺเทส
ขุ. วิ. ขุทฺทกนิกาย   วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต. ขุทฺทกนิกาย   เปตวตฺถุ
ขุ. สุ. ขุทฺทกนิกาย   สตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ. ทีฆนิกาย   ปาฏิกวคฺค
ที. มหา. ทีฆนิกาย   มหาวคฺค
ม. อุป. มชฺฌิมนิกาย   อุปริปณฺณาสก
ม. ม. มชฺฌิมนิกาย   มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล. วินัยปิฏก   จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ. วินัยปิฏก   ภิกฺขุณีวิภงฺค
วิ. มหา. วินัยปิฏก   มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค. วินัยปิฏก   มหาวิภงฺค
สํ. นิ. สํยุตฺตนิกาย   นิทานวคฺค
สํ. มหา. สํยุตฺตนิกาย   มหาวารวคฺค
สํ. ส. สํยุตฺตนิกาย   สคาถวคฺค