พระพุทธศาสนสุภาษิต

๓ . กัมมวรรค คือ หมวดกรรม.

๓๘. กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย.
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือให้ทรามและประณีต.
ม . อุป. ๑๔/ ๓๘๕.

๓๙ . ยงฺกิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ น ตํ โหติ มหปฺผลํ.
การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก.
นัย - สํ. ส. ๑๕/ ๖๘.

๔๐ . สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ.
กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคติ.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๔๗.

๔๑ . สุกรํ สาธุนา สาธุ.
ความดี อันคนดีทำง่าย.
วิ . จุล. ๗/ ๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๖๗.

๔๒ . สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ.
ความดี อันคนชั่วทำยาก.
วิ . จุล. ๗/ ๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๖๗.

๔๓ . อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย.
ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า.
สํ . ส. ๑๕/ ๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๖.

๔๔ . ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏํ.

ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง.
สํ . ส. ๑๕/ ๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๖.

๔๕ . กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย.
ความดี ทำนั่นแล ดีกว่า.
สํ . ส. ๑๕/ ๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๖.

๔๖ . น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ.
ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี.
สํ . ส. ๑๕/ ๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๓.

๔๗ . ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ.
ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นแลเป็นดี.
สํ . ส. ๑๕/ ๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๓.

๔๘ . สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ.
การที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๓๗.

๔๙ . ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ.
การใดแลเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๓๗.

๕๐ . น หิ ตํ สุลภํ โหติ สุขํ ทุกฺกฏการินา.
สุขไม่เป็นผลอันคนทำชั่วจะได้ง่ายเลย .
สํ . ส. ๑๕/ ๑๐๔.

๕๑. กลฺยาณการี กลฺยาณํ. ปาปการี จ ปาปกํ.
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว.
สํ . ส. ๑๕/ ๓๓๓. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/ ๘๔.

๕๒ . กมฺมุนา วตฺตี โลโก.
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม .
ม . ม. ๑๓/ ๖๔๘. ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๕๗.

๕๕ . ปฏิกจฺเจว ตํ กยิรา ยํ ชญฺ า หิตมตฺตโน.
รู้ว่าการใดเป็นประโยชน์แก่ตน พึงรีบทำการนั้นเทียว.
สํ. ส. ๑๕/ ๘๑.

๕๖ . กยิรา เจ กยิราเถนํ.
ถ้าจะทำ ก็พึงทำการนั้น ( จริง ๆ).
สํ. ส. ๑๕/ ๖๗. ขุ. ธ. ๒๕๑๕๖.

๕๗ . กเรยฺย วากฺยํ อนุกมฺปกานํ.
ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/ ๒๗๒.

๖๐. กิจฺจานุกุพฺพสฺส กเรยฺย กิจฺจํ.
พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/ ๘๔.

๖๑ . นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ.
ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/ ๘๔.

อติสีตํ อติอุณฺหํ อติสายมิทํ อหุ
อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺเถ อจฺเจนฺติ มาณเว.
ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน
ด้วยอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว.
( พุทฺธ) ที. ปาฏิ. ๑๑/ ๑๙๙.

อถ ปาปานิ กมฺมานิ กรํ พาโล น พุชฺฌติ
เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ.
เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก
เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๓.

ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ.
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว.
( พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/ ๓๓๓.

โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ
อตฺถา ตสฺส ปลุชฺชนฺติ เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา.
ผู้ใดอันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน
แต่ไม่รู้สึก ( คุณของเขา), ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย.
( ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต) ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/ ๒๒๘.

โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ มนุพุชฺฌติ
อตฺถา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา.
ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน
ย่อมสำนึก ( คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ.
( ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต) ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/ ๒๒๘.

โย ปุพฺเพ กรณียานิ ปจฺฉา โส กาตุมิจฺฉติ
วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว ส ปจฺฉา อนุตปฺปติ.
ผู้ใด ปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อน ในภายหลัง
ผู้นั้น ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ดุจมาณพ ( ผู้ประมาทแล้วรับ)
หักไม้กุ่ม ฉะนั้น.
( โพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๒๓.

สเจ ปุพฺเพกตเหตุ สุขทุกขํ นิคจฺฉติ
โปราณกํ กตํ ปาปํ ตเมโส มุญฺจเต อิณํ.
ถ้าประสพสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ
ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น.
( โพธิสตฺต) ขุ. ชา. ปญฺ าส. ๒๘/ ๒๕.

สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน วิหึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ.
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๒.

สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน น หึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส ลภเต สุขํ.
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๒.

อุฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ
สุสํวิหิตกมฺมนฺโต ส ราชวสตึ วเส.
ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ
จัดการงานเรียบร้อย. จึงควรอยู่ในราชการ.
( พุทฺธ ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๓๓๙.

ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย.
ถ้าคนพึงทำบาป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อย ๆ
ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น
เพราะการสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๐.

โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ
ปจฺฉา กิจฺเจ สมุปฺปนฺเน กตฺตารํ นาธิคจฺฉติ.
ผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน
แต่ไม่สำนึกถึง( บุญคุณ ) เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง
จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๒๙.

สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน
อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา น หเนยฺย น ฆาตเย.
สัตว์ทั้งปวง หวาดต่ออาญา ล้วนกลัวต่อความตาย
ควรทำตนให้เป็นอุปมาแล้ว ไม่ฆ่าเขาเอง ไม่พึงให้ผู้อื่นฆ่า ( ผู้อื่น ).
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๒.


หมวดหมู่ สารบัญ
๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน ๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท ๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม ๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๔ . กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส ๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๕ . โกธวรรค คือ หมวดโกรธ ๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๖ . ขันติวรรค คือ หมวดอดทน ๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต ๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๘ . ชยวรรค คือ หมวดชนะ ๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน ๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๑๐ . ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์ ๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๑ . ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม ๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา ๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท ๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๕. ปาปวรรค คือ หมวดบาป ๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ ๓๔. หมวด คน


         
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
องฺ. อฏฺฐก. องฺคุตฺตรนิกาย   อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   ฉกฺกกนิปาต
องฺ. ติก. องฺคุตฺตรนิกาย   ติกนิปาต
องฺ. ทสก. องฺคุตฺตรนิกาย   ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก. องฺคุตฺตรนิกาย   ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก. องฺคุตฺตรนิกาย   สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ. องฺคุตฺตรนิกาย   อิติวุตฺตก
ชุ. อุ. ขุทฺทกนิกาย   อุทาน
ขุ. จริยา ขุทฺทกนิกาย   จริยาปิฏก
ขุ. จู. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส ขุทฺทกนิกาย ชาดก เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก นวกนิปาต
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา. ขุทฺทกนิกาย ชาดก มหานิปาต
ขุ. ชา. วีสติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐี. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สฏฺฐีนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร. ขุทฺทกนิกาย   เถราคาถา
ขุ. เถรี. ขุทฺทกนิกาย   เถรีคาถา
ขุ. ธ. ขุทฺทกนิกาย   ธมฺมปทคาถา
ขุ. ปฏิ. ขุทฺทกนิกาย   ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ. ขุทฺทกนิกาย   พุทฺธวํส
ขุ. มหา. ขุทฺทกนิกาย   มหานิทฺเทส
ขุ. วิ. ขุทฺทกนิกาย   วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต. ขุทฺทกนิกาย   เปตวตฺถุ
ขุ. สุ. ขุทฺทกนิกาย   สตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ. ทีฆนิกาย   ปาฏิกวคฺค
ที. มหา. ทีฆนิกาย   มหาวคฺค
ม. อุป. มชฺฌิมนิกาย   อุปริปณฺณาสก
ม. ม. มชฺฌิมนิกาย   มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล. วินัยปิฏก   จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ. วินัยปิฏก   ภิกฺขุณีวิภงฺค
วิ. มหา. วินัยปิฏก   มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค. วินัยปิฏก   มหาวิภงฺค
สํ. นิ. สํยุตฺตนิกาย   นิทานวคฺค
สํ. มหา. สํยุตฺตนิกาย   มหาวารวคฺค
สํ. ส. สํยุตฺตนิกาย   สคาถวคฺค