พระพุทธศาสนสุภาษิต

๑๒ . ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด

๑๘๒ . อฏฺฐงฺคิโก จ มคฺคานํ เขมํ อมตคามินํ.
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ เป็นทางเกษมให้ถึงอมตธรรม.
ม . ม. ๑๓/ ๒๘๑.

๑๘๔ . ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ.
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมี ความดับไปเป็นธรรมดา .
สํ . มหา. ๑๙/ ๕๓๑.

๑๘๖ . อาโรคฺยปรมา ลาภา.
ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง.
ม . ม. ๑๓/ ๒๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๒.

๑๘๗ . ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา.
ความหิว เป็นโรคอย่างยิ่ง.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๔๒.

๑๘๘ . สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ.
สังขารที่ยั่งยืน ไม่มี.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๔๙.

๑๘๙ . อนิจฺจา วต สงฺขารา.
สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ.
ที . มหา. ๑๐/ ๑๘๑. สํ. ส. ๑๕/ ๘. สํ. นิ. ๑๖/ ๒๒๘.

๑๙๑. ทุลฺลภํ ทสฺสนํ โหติ สมฺพุทฺธานํ อภิณฺหโส.
การเห็นพระพุทธเจ้าเนือง ๆ เป็นการหาได้ยาก.
ม . ม. ๑๓/ ๕๕๔. ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๔๔.

๑๙๒ . ขโณ โว มา อุปจฺจคา.
ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย .
องฺ . อฏฺฐก. ๒๓/ ๒๓๑. ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๗. ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๘๙.

๑๙๓ . อติปตติ วโย ขโณ ตเถว.
วัยย่อมผ่านพ้นไปเหมือนขณะทีเดียว .
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๓๑๒.

๑๙๔ . กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา.
กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง.
ขุ . ชา. ทุก. ๒๗/ ๙๕.

๑๙๕ . อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว.
ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่มผู้ทอดทิ้งการงาน .
ที . ปาฏิ. ๑๑/ ๑๙๙.

๑๙๖ . นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา.
ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่ผู้มัวถือฤกษ์อยู่ .
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๑๖.

๑๙๗. อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ กึ กริสฺสนฺติ ตารกา.
ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำอะไรได้.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๑๖.

๑๙๘ . วโส อิสฺสริยํ โลเก.
อำนาจเป็นใหญ่ในโลก .
สํ . ส. ๑๕/ ๖๐.

๑๙๙ . สิริ โภคานมาสโย.
ศรีเป็นที่อาศัยแห่งโภคทรัพย์ .
สํ . ส. ๑๕/ ๖๑.

๒๐๐ . กิจฺฉา วุตฺติ อสิปฺปสฺส.
ความเป็นไปของคนไร้ศิลปะ ย่อมฝืดเคือง.
ขุ . ชา. ทฺวาทส. ๒๗/ ๓๓๐.

๒๐๑ . สาธุ โข สิปฺปกํ นาม อปิ ยาทิสกีทิสํ.
ขึ้นชื่อว่าศิลปะแม้เช่นใดเช่นหนึ่ง ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๓๕.

๒๐๘ . สพฺพญฺเจ ปฐวึ ทชฺชา นากตญฺญุมภิราธเย.
ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๒๓.

๒๐๙. หนฺนติ โภคา ทุมฺเมธํ.
โภคทรัพย์ ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๖๓.

๒๑๐ . สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ.
สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย.
วิ . จุล. ๗/ ๑๗๒. สํ. ส. ๑๕/ ๒๒๖. สํ. นิ. ๑๖/ ๒๘๔.

๒๑๑ . กิโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ.
ความได้เป็นมนุษย์ เป็นการยาก.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๓๙.

๒๑๒ . กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ.
ความเป็นอยู่ของสัตว์ เป็นการยาก.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๓๙.

๒๑๓ . กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ.
การฟังธรรมของสัตบุรุษ เป็นการยาก.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๓๙.

๒๑๔ . กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท.
ความเกิดแห่งท่านผู้รู้ เป็นการยาก.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๓๙.

๒๑๕ . อสชฺฌายมลา มนฺตา.

มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน.
องฺ . อฏฺฐก. ๒๓/ ๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๗.

๒๑๖. อนุฏฺฐานมลา ฆรา.
เหย้าเรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน.
องฺ . อฏฺฐก. ๒๓/ ๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๗.

๒๑๗ . มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ.
ความเกียจคร้านเป็นมลทินแห่งผิวพรรณ .
องฺ . อฏฺฐก. ๒๓/ ๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๗.

๒๑๘ . มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ.
ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง .
องฺ . อฏฺฐก. ๒๓/ ๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๗.

๒๑๙ . สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ.
ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์ มีเฉพาะตัว.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๓๗. ขุ. มหา. ๒๙/ ๓๗. ขุ. จู. ๓๐/ ๑๑๖.

๒๒๐ . นาญฺโญ อญญํ วิโสธเย.
ผู้อื่นพึงให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้ .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๓๗. ขุ. มหา. ๒๙/ ๓๗. ขุ. จู. ๓๐/ ๑๑๖.

๒๒๑ . สุทฺธสฺส สุจิกมฺมสฺส สทา สมฺปชฺชเต วตํ.
พรตของผู้บริสุทธิ์มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ.
ม . ม. ๑๒/ ๗๐.

๒๒๒ . สุทฺสฺสํ วชฺชมญฺเ สํ อตฺตาโน ปน ทุทฺทสํ.
ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๔๘.

๒๒๓ . นตฺถิ โลเก รโห นาม ปาปกมฺมํ ปกุพฺพโต.

ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก.
องฺ . ติก. ๒๐/ ๑๘๙. ขุ. ชา. จตุตกฺก. ๒๗/ ๑๓๑.

๒๒๔ . เนสา สภา ยตฺถ น สนฺติ สนฺโต.
สัตบุรุษไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา.
สํ . ส. ๑๕/ ๒๗๐. ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/ ๑๕๑.

๒๒๖ . โภคา สนฺนิจยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ.
โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้น.
ที . ปาฏิ. ๑๑/ ๒๐๒.

๒๒๗ . อลํ พาลสฺส โมหาย โน จ ปารคเวสิโน.
รูปโฉมพอลวงคนโง่ให้หลงได้ แต่ลวงคนแสวงหาพระนิพพานไม่ได้เลย.
ม . ม. ๑๓/ ๔๐๑. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๗.

๒๒๘ . รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ.
ร่างกายของสัตว์ย่อยยับได้ แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ.
สํ . ส. ๑๕/ ๕๙.

๒๒๙. ถีนํ ภาโว ทุราชาโน.
ภาวะของหญิงรู้ได้ยาก.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๒๑.

๒๓๐ . อุกฺกฏฺเฐ สูรมิจฺฉนฺติ.
ในเวลาคับขัน ย่อมต้องการคนกล้า.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๓๐.

๒๓๑ . มนฺตีสุ อกุตูหลํ.
ในบรรดาที่ปรึกษา ย่อมต้องการคนไม่พูดพล่าม.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๓๐.

๒๓๒ . ปิยญฺจ อนฺนปานมฺหิ.
ในเวลามีข้าวน้ำ ย่อมต้องการคนที่รัก.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๓๐.

๒๓๓ . อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิตํ.
ในเมื่อเรื่องราวเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิต.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๓๐.

๒๓๔ . อาปทาสุ ถาโม เวทิตพฺโพ.
กำลังใจพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย .
นัย - ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๗๘.

๒๓๕ . ยโส ลทฺธา น มชฺเชยฺย.
ได้ยศแล้ว ไม่ควรเมา.
ขุ . ชา. จตุกฺก. ๒๗/ ๑๔๕.

๒๓๖. จาคมนุพฺรูเหยฺย.
พึงเพิ่มพูลความสละ.
ม . อุป. ๑๔/ ๔๓๖.

๒๓๗ . สนฺติเมว สิกฺเขยฺย.
พึงศึกษาความสงบนั่นแล .
นัย - ม. อุป. ๑๔/ ๔๓๖.

๒๓๘ . โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข.
ผู้เพ่งสันติ พึงละอามิสในโลกเสีย.
สํ . ส. ๑๕/ ๓, ๗๗, ๙๐.

๒๓๙ . ตํ คณฺเหยฺย ยทปณฺณกํ.
สิ่งใดไม่ผิด พึงถือเอาสิ่งนั้น.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๑.

๒๔๒ . สนาถา วิหรถ มา อนาถา.
ท่านทั้งหลายจงมีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าไม่มีที่พึ่งอยู่เลย.
นัย . องฺ. ทสกฺ ๒๔/ ๒๕.

๒๔๓. นาญญํ นิสฺสาย ชีเวยฺย.

ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่.
ขุ . อุ. ๒๕/ ๑๗๙.

๒๔๔ . อาโรคฺยมิจฺเฉ ปรมญฺจ ลาภํ.
พึงปรารถนาความไม่มีโรคซึ่งเป็นลาภอย่างยิ่ง .
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๒๗.

๒๔๕ . อตีตํ นานฺวาคเมยฺย.
ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว .
ม . อุป. ๑๔/ ๓๔๘.

๒๔๖ . นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ.
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง .
ม . อุป. ๑๔/ ๓๔๘.

อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ อชินิ มํ อหาสิ เม
เย จ ตํ อุปนยฺหนฺติ เวรํ เตสํ น สมฺมติ.
ผู้ใด ผูกอาฆาตว่า เขาได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา ได้ชนะเรา
ได้ลักของของเรา ดังนี้ เวรของผู้นั้นย่อมไม่ระงับ.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๕.

อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ อชินิ มํ อหาสิ เม
เย จ ตํ นูปนยฺหนฺติ เวรํ เตสูปสมฺมติ.
ผู้ใดผูกอาฆาตว่า เขาได้ด่าเรา เขาได้ฆ่าเรา ได้ชนะเรา
ได้ลัก ได้ลักของของเรา ดังนี้ เวรของผู้นั้นย่อมระงับ.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๕.

 อจฺจิ ยถา วาตเวเคน ขิตฺตํ อตฺถํ ปเลติ น อุเปติ สงฺขํ
เอวํ มุนี นามกายา วิมุตฺโต อตฺถํ ปเลติ น อุเปติ สงฺขํ.
เปลวไฟที่ถูกกำลังลมพัดดับวูบไป ย่อมกำหนดนับไม่ได้ฉันใด,
ผู้รู้พ้นไปแล้วจากนามกาย ดับวูบไป ย่อมกำหนดนับไม่ได้ฉันนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๓๙. ขุ. จู. ๓๐/ ๑๓๖.

อินฺทฺริยานิ มนุสฺสานํ หิตาย อหิตาย จ
อรกฺขิตานิ อหิตาย รกฺขิตานิ หิตาย จ.
อินทรีย์ของมนุษย์มีอยู่เพื่อประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ คือ
ที่ไม่รักษา ไม่เป็นประโยชน์, ที่รักษา จึงเป็นประโยชน์.
( ปาราสริยเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๒.

ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโส สมฺปสฺสํ อตฺถมตฺตโน
โลภสฺส น วสํ คจฺเฉ หเนยฺย ทิสกํ มนํ.
ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน ไม่พึงลุอำนาจของ
โลภะ พึงกำจัดน้ำใจที่ละโมภเสีย.
( พุทฺธ) ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/ ๓๙๖.

นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ อตฺดถ พาลํ อุปจฺจคา
อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ กึ กริสฺสนฺติ ตารกา.
ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่ ,
ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวจักทำอะไรได้.
( โพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๑๖.

สาธุ พลวา พาโล สาหสํ วินฺทเต ธนํ
กนฺทนฺตเมตํ ทุมฺเมธํ กฑฺฒนฺติ นิรยํ ภุสํ.
คนเขลา มีกำลัง หาทรัพย์อย่างผลุนผลัน ไม่ดี, นายนิรยบาล
ย่อมฉุดคนโง่มีปัญญาทรามผู้คร่ำครวญอยู่นั้น ไปสู่นรกอันร้ายกาจ.
( มโหสถโพธิสตฺต) ขุ. ชา. วีส. ๒๗/ ๔๒๕.

ปญฺจ กามคุณา โลเก มโนฉฏฺฐา ปเวทิตา
เอตฺถ ฉนฺทํ วิราชิตฺวา เอวํ ทุกฺขา ปมุจฺจติ.
กามคุณ ๕ ในโลก มีใจเป็นที่ ๖ อันท่านชี้แจงไว้แล้ว,
บุคคลคลายความพอใจในกามคุณนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้.
( พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/ ๒๓.

 ปรทุกฺขูปธาเนน โย อตฺตโน สุขมิจฺฉติ
เวรสํสคฺคสํสฏฺโฐ เวรา โส น ปริมุจฺจติ.
ผู้ใด ต้องการสุขเพื่อตน ด้วยการก่อทุกข์แก่ผู้อื่น,
ผู้นั้นชื่อว่า พัวพันไปด้วยเวร ย่อมไม่พ้นจากเวร.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๓.

ปริตฺตํ ทารุมารุยฺห ยถา สีเท มหณฺณเว
เอวํ กุสีตมาคมฺม สาธุชีวีปิ สีหติ.
คนเกาะไม้ฟืนเล็ก ๆ พึงจมลงในทะเลฉันใด
คนมั่งมีอาศัยความเกียจคร้านก็ล่มจมฉันนั้น.
( วิมลเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๐๙.

พลํ จนฺโท พลํ สุริโย พลํ สมณพฺราหฺมณา
พลํ เวลา สมุทฺทสฺส พลาติพลมิตฺถิโย.
พระจันทร์ พระอาทิตย์ สมณพราหมณ์ และฝั่งทะเล
ต่างก็มีกำลัง, แต่สตรีมีกำลังยิ่งกว่ากำลัง ( เหล่านั้น).
( มหาชนก) ขุ. ชา. นวก. ๒๗/ ๒๖๑.

 พหูนํ วต อตฺถาย อุปฺปชฺชนฺติ ตถาคตา
อิตฺถีนํ ปุริสานญฺจ เย เต สาสนการกา.
พระตถาคตเจ้าย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก
คือ สตรีและบุรุษผู้ทำตามคำสอน.
( วงฺคีสเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๔๓๗.

ยตฺถ โปสํ น ชานนฺติ ชาติยา วินเยน วา
ตตฺถ มานํ กยิราถ วสํ อญฺญาตเก ชเน.
ในที่ใด ยังไม่รู้จักคนโดยกำเนิดหรือโดยขนบประเพณี
เมื่ออยู่ในที่นั้น หมู่คนที่ยังไม่รู้จักกัน ไม่ควรทำความถือตัว.
( มหาททฺทรโพธิสตฺต) ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/ ๑๓๑.

เย จ กาหนฺติ โอวาทํ นรา พุทฺเธน เทสิตํ
โสตฺถึ ปรํ คมิสฺสนฺติ วลาเหเนว วาณิชา.
คนใด จัดทำตามโอวาทที่ผู้รู้แสดงแล้ว คนนั้นจักถึงฝั่งที่สวัสดี
เหมือนพ่อค้าถึงฝั่งที่สวัสดีเพราะม้าวลาหก .
( พุทฺธ) ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/ ๗๑.

 เย วุฑฺฒมปจายนฺติ นรา ธมฺมสฺส โกวิทา
ทิฏฺเฐ ธมฺเม จ ปาสํสา สมฺปราโย จ สุคฺคติ.
คนรู้จักขนบธรรมเนียม ย่อมยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่
ในชาตินี้ก็มีผู้สรรเสริญ ชาติหน้าก็ไปดี.
( พุทฺธ) ขุ. ชา เอก. ๒๗/ ๑๒.

รูปา สทฺทา คนฺธา รสา ผสฺสา ธมฺมา จ เกวลา
เอตํ โลกามิสํ โฆรํ เอตฺถ โลโก วิมุจฺฉิโต.
รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และธรรมารมณ์นั้น ล้วนเป็น
โลกามิสอันร้ายกาจ , สัตวโลกหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์เหล่านี้.
( พุทฺธ) สฺ ส. ๑๕/ ๑๖๖.

วิเทสวาสํ วสโต ชาตเวทสเมนปิ
ขมิตพฺพํ สปญฺเ น อปิ ทาสสฺส ตชฺชิตํ.
แม้มีปัญญารุ่งโรจน์อย่างไฟ เมื่อยู่ในต่างประเทศก็ควรอดทน
คำขู่เข็ญแม้ของทาส .
( มหาททฺทรโพธิสตฺต) ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/ ๑๓๑.

อจินฺติตมฺปิ ภวติ จินฺติตมฺปิ วินสฺสติ
หิ จินฺตามยา โภคา อิตฺถิยา ปุริสสฺส วา.
สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ย่อมมีได้. สิ่งที่คิดไว้ ก็เสียหายได้,
โภคะของสตรีหรือบุรุษที่สำเร็จได้ด้วยนึกเอาไม่มีเลย.
( มหาชนกโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๑๖๗.

 อชฺฌตฺตญฺจ พหิทฺธา จ เวทนํ นาภินนฺทโต
เอวํสตสฺส จรโต วิญฺญาณํ อุปรุชฺฌติ.
บุคคลไม่เพลินเวทนา ทั้งภายในทั้งภายนอก
มีสติดำเนินอยู่อย่างนี้ วิญญาณย่อมดับ.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๔๗. ขุ. จู. ๓๐/ ๒๑๘.

อชฺฌตฺตเมว อุปสเม นาญฺญโต ภิกฺขุ สนฺติเมเสยฺย
อชฺฌตฺตํ อุปสนฺตสฺส นตฺถิ อตฺตํ กุโต นิรตฺตํ วา.
ภิกษุพึงสงบกิเลสและบาปธรรมที่เป็นภายในเสีย ,
ไม่พึงแสวงหาความสงบจากที่อื่น, เมื่อระงับภายในได้แล้ว
สิ่งที่จะพึงยึดถือใหม่ย่อมไม่มี สิ่งที่ยึดถือไว้จำจะสละจะมีแต่ไหน.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๑๔. ขุ. มหา. ๒๙/ ๔๒๕, ๔๒๖.

อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํ.
เย กาเม ปฏิเสวนฺติ นิรยนฺเต อุปปชฺชเร.
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก
ทุกข์อันยิ่งกว่ากามไม่มี ผู้ใดส้องเสพกาม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา เอกาทสก. ๒๗/ ๓๑๕.

 อพฺยาปชฺโฌ สิยา เอวํ สจฺจวาที จ มาณโว
อสฺมา โลกา ปรํ โลกํ เอวํ เปจฺจ น โสจติ.
พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน ( ผู้อื่น ) และกล่าวคำสัตย์อย่างนี้
ละไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก.
( พุทฺธ ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๓๓๒.

อลโส คิหี กามโภคี น สาธุ อสญฺญโต ปพฺพชิโต น สาธุ
ราชา น สาธุ อนิสมฺมการี โย ปญฺฑิโต โกธโน ตํ น สาธุ.
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่ดี, บรรพชิตไม่สำรวม ก็ไม่ดี
พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำ ไม่ดี. บัณฑิตมักโกรธ ก็ไม่ดี.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. วีส. ๒๗/ ๔๔๖.

อสาเร สารมติโน สาเร จาสารทสฺสิโน
เต สารํ นาธิคจฺฉนฺติ มีจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา.
ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งที่เป็นสาระว่า
ไม่เป็นสาระ เขามีความดำริผิดเป็นโคจร จึงไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๖.

 อตีตํ นานุโสจนฺติ นปฺปชปฺปนฺติ นาคตํ
ปจฺจุปฺปนฺเนน ยาเปนฺติ เตน วณฺโณ ปสีทติ.
บุคคลไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใฝ่หาสิ่งที่ยังมาไม่พึง,
ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น
ผิวพรรณย่อมผ่องใส.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๗.

อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส ลหหุจิตฺตสฺส ทุพฺภิโน
นิจฺจํ อทฺธุวสีลสฺส สุขภาโว น วิชฺชติ.
เมื่อมีจิตใจไม่หนักแน่น เป็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร
มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข.
( สิงฺคิลโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/ ๑๔๒.

อิตฺถีธุตฺโต สุราธุตฺโต อกฺขธุตฺโต จ โย นโร
ลทฺธํ ลทฺธํ วินาเสติ ตํ ปราภวโต มุขํ.
คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน
ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ๆ . ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย.
( พุทฺธ ) สุ. ขุ. ๒๕/ ๓๔๗.

 อิตฺถี มลํ พฺรหฺมจริยสฺส เอตฺถายํ สชฺชเต ปชา
ตโป จ พฺรหฺมจริยญฺจ ตํ สินานมโนทกํ.
หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์ ประชาชนนี้ข้องอยู่ในหญิงนี้
ตบะและพรหมจรรย์เป็นเครื่องอาบ ไม่ใช่น้ำ.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๕๒.

อุปนียติ ชีวิตมปฺปมายุํ ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา
เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข.
ชีวิตคืออายุอันน้อยนี้ ถูกชรานำเข้าไป เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว
ย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น มุ่งความสงบ
พึงละโลกามิสเสีย.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๗๗.

อุปสนฺโต อุปรโต มนฺตภาณี อนุทฺธโต
ธุนาติ ปาปเก ธมฺเม ทุมปตฺตํว มาลุโต.
ผู้สงบ เว้นบาป ฉลาดพูด ไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมขจัดบาปธรรมเสียได้ เหมือนลมกำจัดใบไม้ฉะนั้น.
( มหาโกฏฺฐิตเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๒๖๐.

 เอวญฺเจ สตฺตา ชาเนยฺยุํ ทุกฺขายํ ชาติสมฺภโว
น ปาโณ ปาณินํ หญฺเญ ปาณฆาตี หิ โสจติ.
ถ้าสัตว์พึงรู้อย่างนี้ ' ชาติสมภพนี้เป็นทุกข์ '
สัตว์ก็ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้ฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศก.
( รุกฺขเทวตาโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๖.

กาเมสุ นาภิคิชฺเฌยฺย มนสานาวิโล สิยา
กุสโล สพฺพธมฺมานํ สโต ภิกฺขุ ปริพฺพเช.
ภิกษุไม่ควรติดในกามทั้งหลาย ควรมีใจไม่ขุ่นมัว
ควรเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง ควรมีสติอยู่ทุกอิริยาบถ.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๓๑. ขุ. จู. ๓๐/ ๒๖.

ตานิ เอตานิ ทิฏฺฐานิ ภวเนตฺติ สมูหตา
อุจฺฉินฺนํ มูลํ ทุกฺขสฺส นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว.
เห็นอริยสัจแล้ว ถอนตัณหาผู้นำไปสู่ภพได้แล้ว
ตัดมูลรกแห่งทุกข์ขาดแล้ว ย่อมไม่มีภพอีกต่อไป.
( พุทฺธ ) ที. มหา. ๑๐/ ๑๐๗.

 ทาเนน สมจริยาย สํยเมน ทเมน จ
ยํ กตฺวา สุขิโต โหติ น จ ปจฺฉานุตปฺปติ.
คนทำกรรมใดด้วยทาน ด้วยความประพฤติสม่ำเสมอ
ด้วยความสำรวม และด้วยการฝึกตน ย่อมมีความสุข
เพราะกรรมนั้น ย่อมไม่ตามเผาผลาญในภายหลัง.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/ ๓๙๘.

นิทฺทาสีลี สภาสีลี อนุฏฺฐาตา จ โย นโร
อลโส โกธปญฺญาโณ ตํ ปราภวโต มุขํ.
คนใดมักหลับ มักคุย และไม่ขยัน เกียจคร้าน
มีความมุทะลุ ข้อนั้นเป็นเหตุของผู้ฉิบหาย.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๔๖.

ธโช รถสฺส ปญฺญาณํ ธูโม ปญฺญาณมคฺคิโน
ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ ภตฺตา ปญฺญาณมิตฺถิยา.
ธงเป็นเครื่องปรากฏของรถ ควันเป็นเครื่องปรากฏของไฟ
พระราชาเป็นเครื่องปรากฏ ของแว่นแคว้น
สามีเป็นเครื่องปรากฏ ของสตรี.
( พุทฺธ ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๓๘๖.

ธมฺมาราโม ธมฺมรโต ธมฺมํ อนุวิจินฺตยํ
ธมฺมํ อนุสฺสรํ ภิกฺขุ สทฺธมฺมา น ปริหายติ.
ภิกษุรื่นรมย์ยินดีในธรรม ใคร่ครวญธรรม
และระลึกถึงธรรมอยู่เนือง ๆ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๖๕.

ปตฺถิ โลเก รโห นาม ปาปกมฺมํ ปกุพฺพโต
ปสฺสนฺติ วนภูตานิ ตํ พาโล มญฺญเต รโห.
ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำความชั่วไม่มีอยู่ในโลก ,
คนทั้งหลายเห็นเป็นป่า แต่คนเขลาสำคัญที่นั้นว่าเป็นที่ลับ.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/ ๑๓๑.

สานกามสฺส ทโม อิธตฺถิ น โมนมตฺถิ อสมาหิตสฺส
เอโก อรญฺเญ วิหรมฺปมตฺโต น มจฺจุเธยฺยสฺส ตเรยฺย ปารํ.
ในโลกนี้ ผู้ที่ชอบถือตัว ย่อมไม่มีการฝึกตน, ตนมีใจไม่มั่นคง
ย่อมไม่มีความรู้, ผู้ประมาทแม้อยู่ในป่าคนเดียว ก็ข้ามฝั่ง แห่งแดนมฤตยูไม่ได้ .
( เทวตา ) สํ. ส. ๑๕/ ๖.

  ปเรสํ วิโลมานิ น ปเรสํ กตากตํ
อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย กตานิ อกตานิ จ.
ไม่ควรฟังคำก้าวร้าวของคนอื่น , ไม่ควรมองดูการงานของคนอื่น
ที่เขาทำแล้วยังไม่ได้ทำ, ควรพิจารณาดูแต่การงานของตนที่ตนทำแล้ว
และยังไม่ได้ทำเท่านั้น.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๑.

ปมาทํ ภยโต ทิสฺวา อปฺปมาทญฺจ เขมโต
ภาเวถฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ เอสา พุทฺธานุสาสนี.
เห็นความประมาทเป็นภัย และเห็นความไม่ประมาท
เป็นความปลอดภัยแล้ว พึงเจริญมรรคมีองค์ ๘
นี้เป็นพุทธานุศาสนี.
( พุทฺธ ) ขุ. จริยา. ๓๓/ ๕๙๕.

ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํ
ตสฺมา ปิยํ น กยิราถ ปิยาปาโย หิ ปาปโก.
การไม่เห็นสิ่งที่รักเป็นทุกข์ และการเห็นสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์
เหตุนั้น จึงไม่ควรทำอะไรให้เป็นที่รัก เพราะความพราก
จากสิ่งที่รัก เป็นการทราม.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๓.

 มจฺจุนพฺภาหโต โลโก ปริกฺขิตฺโต ชราย จ
หญฺญติ นิจฺจมตฺตาโณ ปตฺตหณฺโฑว ตกฺกโร.
โลกถูกมฤตยูกำจัด ถูกชราล้อมไว้ ไม่มีผู้ต้านทาน
ย่อมเดือดร้อนเป็นนิตย์ ดุจคนต้องโทษต้องทำตามอาชญาฉะนั้น.
( สิริมณฺฑเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๓๕.

ยํ ลภติ น เตน ตุสฺสติ ยํ ปตฺเถติ ลทฺธํ หีเฬติ
อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา วิคติจฺฉานํ นโม กโรม เส.
บุคคลได้สิ่งใด ไม่ยินดีด้วยสิ่งนั้น, ปรารถนาสิ่งใด
ดูหมิ่นสิ่งที่ได้แล้วนั้น, เพราะความต้องการไม่มีที่สุด,
พวกเราจงทำความนอบน้อมผู้ปราศจากความต้องการเถิด.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/ ๙๔.

ยถาหิ องฺคสมฺภารา โหติ สทฺโท รโถ อิติ
เอวํ ขนฺเธสุ สนฺเตสุ โหติ สตฺโตติ สมฺมติ.
เหมือนอย่างว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่ารถย่อมมี ฉันใด
เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ ย่อมมี ฉันนั้น.
( วชิราภิกฺขุนี ) สํ. ส. ๑๕/ ๑๙๘. ขุ. มหา. ๒๙/ ๕๓๖.

ยถาปิ มูเล อนุปทฺทเว ทฬฺเห ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ
เอวมฺปิ ตณฺหานุสเย อนูหเต นิพฺพตฺตติ ทุกฺขมิทํ ปุนปฺปุนํ.
เมื่อรากยังมั่นคงไม่มีอันตราย ต้นไม้แม้ถูกตัดแล้วย่อมงอกได้อีกฉันใด,
เมื่อตัณหานุสัยยังไม่ถูกกำจัดแล้ว ทุกข์นี้ย่อมเกิดร่ำไปฉันนั้น.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๖๐.

ยสฺส ราโค จ โสโส จ อวิชฺชา จ วิราชิตา
โส อิมํ สมุทฺทํ สคาหํ สรกฺขสํ สอุมฺมิภยํ สุทิตฺตรํ อจฺจตริ.
ผู้สำรอกราคะโทสะและอวิชชาได้แล้ว ชื่อว่าได้ข้ามทะเล
ที่มีสัตว์ร้าย มีผู้ร้าย มีภัยจากคลื่น อันข้ามไปได้ยากนักนี้.
( พุทฺธ ) สํ. สฬ. ๑๘/ ๑๙๗.

ยสฺมึ กามา น วสนฺติ ตณฺหา ยสฺส น วิชฺชติ
กถงฺกถา จ โย ติณฺโณ วิโมกฺโข ตสฺส นาปโร.
ผู้ใดไม่มีกามอยู่ ผู้ใดไม่มีตัณหา และผู้ใดข้ามความสงสัยได้,
ผู้นั้นย่อมมีความพ้น ที่ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่นอีก.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๔๓. ขุ. จู. ๓๐/ ๑๗๐.

 โย ทุกฺขมทฺทกฺขิ ยโตนิทานํ กาเมสุ โส ชนฺตุ กถํ นเมยฺย
อุปธึ วิทิตฺวาน สงฺโคติ โลเก ตสฺเสว ชนฺตุ วินยาย สิกฺเข.
ผู้ใดเป็นทุกข์ว่าเกิดเพราะกาม , ผู้นั้นจะพึงน้อม ( จิต ) ไปในกามได้อย่างไร,
ผู้รู้จักอุปธิว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว พึงศึกษาเพื่อกำจัดอุปธิเสีย.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๑๗๐.

โย เว ตํ สหตี ชมฺมี ตณฺหํ โลเก ทุรจฺจยํ
โสกา ตมฺหา ปปตนฺติ อุทพินฺทุว โปกฺขรา.
ผู้ใดครอบงำตัณหาลามก อันล่วงได้ยากในโลก ความโศกทั้งหลาย
ย่อมตกไปจากผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำตกจากใบบัวฉะนั้น.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๖๐.

รเสสุ เคธํ อกรํ อโลโล อนญฺญโปสี สปทานจารี
กุเล กุเล อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
ผู้ไม่โลเล ไม่ทำความติดในรส ไม่เลี้ยงผู้อื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับ
มีจิตไม่ติดในสกุล พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๓๗. ขุ. จู. ๓๐/ ๔๐๖.

 ริตฺตสฺส มุนิโน จรโต กาเมสุ อนเปกฺขิโน
โอฆติณฺณสฺส ปิหยนฺติ กาเมสุ คธิตา ปชา.
มุนีผู้ประพฤติตนเป็นคนว่าง ไม่เยื้อใยในกาม
ข้ามโอฆะได้ ประชาชนผู้ยังติดในกามก็ชอบ.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๙๔.

วิทฺวา จ โย เวทคู นโร อิธ ภวาภเว สงฺคมิมํ วิสชฺช
โส วีตตณฺโห อนีโฆ นิราโส อตาริ โส ชาติชรนฺติ พฺรูมิ.
ผู้ใดรู้จบพระเวทในโลกนี้ สละเครื่องข้องในภพน้อยใหญ่ได้แล้ว,
ผู้นั้นปราศจากตัณหา ไม่มีทุกข์ ไม่มีความทะเยอทะยาน,
เรากล่าวว่า เขาข้ามชาติและชราได้.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๓๖. ขุ. จู. ๓๐/ ๑๐๔, ๑๐๗

วิเวกญฺเญว สิกฺเขถ เอตทริยานมุตฺตมํ
เตน เสฏฺโฐ น มญฺเญถ ส เว นิพฺพานสนฺติเก.
พึงศึกษาวิเวก ซึ่งเป็นคุณอันสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย,
ไม่ถือตัวว่าเป็นผู้ประเสริฐเพราะวิเวกนั้น
ผู้นั้นแล ชื่อว่าปฏิบัติใกล้พระนิพพาน.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๙๔. ขุ. มหา. ๒๙/ ๑๙๑.

 สงฺเกยฺย สงฺกิตพฺพานิ รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ
อนาคตภยา ธีโร อุโภ โลเก อเวกฺขติ.
พึงระแวงภัยที่ควรระแวง พึงระวังภัยที่ยังไม่มาถึง
ผู้ฉลาดย่อมมองดูโลกทั้ง ๒ เพราะกลัวต่ออนาคต.
( อสฺสตฺถเทวตา ) ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/ ๑๓๖.

สญฺญํ ปริญฺญา วิตเรยฺย โอฆํ ปริคฺคเหสุ มุนิ โนปลิตฺโต
อพฺพูฬฺหสลฺโล จรมปฺปมตฺโต นาสึสติ โลกมิมํ ปรญฺจ.
กำหนดรู้สัญญาแล้วพึงข้ามโอฆะได้ เป็นมุนีไม่ติดในสิ่งที่หวงแหน
ถอนลูกศรแล้วเที่ยวไป ไม่ประมาท ชื่อว่าไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๘๖. ขุ. มหา. ๒๙/ ๗๑.

สนฺตํ ตสฺส มนํ โหติ สนฺตา วาจา จ กมฺม จ
สมฺมทญฺญา วิมุตฺตสฺส อุปสนฺตสฺส ตาทิโน.
เมื่อพ้นเพราะรู้ชอบ สงบคงที่แล้ว ใจคอของเขาก็สงบ
คำพูด และการกระทำก็สงบ.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๘.

 สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานาสนํ.
การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว, ๓ ข้อนี้
เป็นคำสั่งสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลาย.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๙.

สาธุ ธมฺมรุจี ราชา สาธุ ปญฺญาณวา นโร
สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ ปาปสฺสากรณํ สุขํ.
พระราชาดี ที่ทรงยินดีในธรรม, คนดี ที่มีปัญญา,
เพื่อดีที่ไม่ประทุษร้ายมิตร, สุข อยู่ที่ไม่ทำบาป.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. ปญฺญาส. ๒๘/ ๒๐.


หมวดหมู่ สารบัญ
๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน ๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท ๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม ๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๔ . กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส ๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๕ . โกธวรรค คือ หมวดโกรธ ๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๖ . ขันติวรรค คือ หมวดอดทน ๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต ๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๘ . ชยวรรค คือ หมวดชนะ ๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน ๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๑๐ . ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์ ๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๑ . ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม ๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา ๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท ๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๕. ปาปวรรค คือ หมวดบาป ๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ ๓๔. หมวด คน


         
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
องฺ. อฏฺฐก. องฺคุตฺตรนิกาย   อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   ฉกฺกกนิปาต
องฺ. ติก. องฺคุตฺตรนิกาย   ติกนิปาต
องฺ. ทสก. องฺคุตฺตรนิกาย   ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก. องฺคุตฺตรนิกาย   ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก. องฺคุตฺตรนิกาย   สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ. องฺคุตฺตรนิกาย   อิติวุตฺตก
ชุ. อุ. ขุทฺทกนิกาย   อุทาน
ขุ. จริยา ขุทฺทกนิกาย   จริยาปิฏก
ขุ. จู. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส ขุทฺทกนิกาย ชาดก เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก นวกนิปาต
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา. ขุทฺทกนิกาย ชาดก มหานิปาต
ขุ. ชา. วีสติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐี. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สฏฺฐีนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร. ขุทฺทกนิกาย   เถราคาถา
ขุ. เถรี. ขุทฺทกนิกาย   เถรีคาถา
ขุ. ธ. ขุทฺทกนิกาย   ธมฺมปทคาถา
ขุ. ปฏิ. ขุทฺทกนิกาย   ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ. ขุทฺทกนิกาย   พุทฺธวํส
ขุ. มหา. ขุทฺทกนิกาย   มหานิทฺเทส
ขุ. วิ. ขุทฺทกนิกาย   วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต. ขุทฺทกนิกาย   เปตวตฺถุ
ขุ. สุ. ขุทฺทกนิกาย   สตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ. ทีฆนิกาย   ปาฏิกวคฺค
ที. มหา. ทีฆนิกาย   มหาวคฺค
ม. อุป. มชฺฌิมนิกาย   อุปริปณฺณาสก
ม. ม. มชฺฌิมนิกาย   มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล. วินัยปิฏก   จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ. วินัยปิฏก   ภิกฺขุณีวิภงฺค
วิ. มหา. วินัยปิฏก   มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค. วินัยปิฏก   มหาวิภงฺค
สํ. นิ. สํยุตฺตนิกาย   นิทานวคฺค
สํ. มหา. สํยุตฺตนิกาย   มหาวารวคฺค
สํ. ส. สํยุตฺตนิกาย   สคาถวคฺค