พระพุทธศาสนสุภาษิต

๓๑ . สีลวรรค คือ หมวดศีล

๔๕๙. สีลํ ยาว ชรา สาธุ.
ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา .
สํ . ส. ๑๕/ ๕๐.

๔๖๐ . สุขํ ยาว ชรา สีลํ.
ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๙.

๔๖๑ . สีลํ กิเรว กลฺยาณํ.
ท่านว่าศีลนั่นเทียว เป็นความดี.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๒๘.

๔๖๒ . สีลํ โลเก อนุตฺตรํ.
ศีลเป็นเยี่ยมในโลก .
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๒๘.

๔๖๓ . สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ.
ศีลพึงรู้ได้เพราะอยู่ร่วมกัน .
นัย - ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๗๘.

๔๖๔ . สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร.
ความสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นดี.
สํ . ส. ๑๕/ ๑๐๖. ขุ. ธ. ๒๕/ ๖๔.

๔๖๕. สญฺ มโต เวรํ น จียติ.
เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น.
ที . มหา. ๑๐/ ๑๕๙. ขุ. อุ. ๒๕/ ๒๑๕.

๔๖๖ . สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี.
ปราชญ์พึงรักษาศีล .
ขุ . อิติ. ๒๕/ ๒๘๒.

อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย.
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น ควรชำระศีลให้บริสุทธิ์.
( สีลวเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๕๘.

อวณฺณ  จ อกิตฺติญฺจ ทุสฺสีโล ลภเต นโร
วณฺณํ กิตฺตึ ปสํสญฺจ สทา ลภติ สีลวา.
คนผู้ทุศีลย่อมได้รับความติเตียนและความเสียชื่อเสียง
ส่วนผู้มีศีล ย่อมได้รับชื่อเสียงและความยกย่องสรรเสริญทุกเมื่อ.
( สีลวเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๕๗.

อิเธว กิตฺตึ ลภติ เปจฺจ สคฺเค จ สุมโน
สพฺพตฺถ สุมโน ธีโร สีเลสุ สุสมาหิโต.
ผู้มีปรีชา มั่งคงดีแล้วในศีล ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้
ละไปแล้ว ย่อมดีใจในสวรรค์ ชื่อว่าย่อมดีใจในที่ทั้งปวง.
( สีลวเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๕๘.

อิเธว นินฺทํ ลภติ เปจฺจาปาเย จ ทุมฺมโน
สพฺพตฺถ ทุมฺมโน พาโล สีเลสุ อสมาหิโต.
คนเขลา ไม่มั่นคงในศีล ถูกติเตียนในโลกนี้ และละไปแล้ว
ย่อมเสียใจในอบาย ชื่อว่าย่อมเสียใจในที่ทั้งปวง.
( สีลวเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๕๘.

กาเยน วาจาย จ โยธ สญฺญโต มนสา จ กิญฺจิ น กโรติ ปาปํ
อตฺตเหตุ อลิกํ ภณาติ ตถาวิธํ สีลวนฺตํ วทนฺติ.
ผู้ใดในโลกนี้ สำรวมทางกายวาจาและใจ ไม่ทำบาปอะไร ๆ
และไม่พูดพล่อย เพราะเหตุแห่งตน, ท่านเรียกคนอย่างนั้นว่าผู้มีศีล.
( สรภงฺคโพธิสตฺต) ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/ ๕๔๐.

ตสฺมา หิ นารี จ นโร สีลวา อฏฺฐงฺคุเปตํ อุปวสฺสุโปสถํ
ปุญฺญานิ กตาน สุขุทฺริยานิ อนินฺทิตา สคฺคมุเปนฺติ ฐานํ.
เพราะฉะนั้น หญิงและชายผู้มีศีล รักษาอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘
ทำบุญอันมีสุขเป็นกำไร จึงไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงสถานสวรรค์.
( พุทฺธ) องฺ. ติก. ๒๐/ ๒๗๖.

เวทา สมฺปรายาย น ชาติ นปิ พนฺธวา
สกญฺจ สีลสํสุทธํ สมฺปรายสุขาวหํ.
เวทมนตร์ ชาติกำเนิด พวกพ้อง นำสุขมาให้ในสัมปรายภพไม่ได้,
ส่วนศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว จึงนำสุขมาในสัมปรายภพได้
(โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/ ๑๗๕.

พหุสฺสุโตปิ เจ โหติ สีเลสุ สุสมาหิโต
อุภเยน นํ ปสํสนฺติ สีลโต จ สุเตน จ.
ถ้าเป็นพหุสูต มั่นคงดีในศีล บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขา
ด้วยคุณ ๒ ประการ คือ ด้วยศีลและด้วยสุตะ.
( พุทฺธ) องฺ. จตุกฺก. ๒๑/ ๙.

โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุสฺสีโล อสมาหิโต
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย สีลวนฺตสฺส ฌายิโน.
ผู้ไม่มีศีล ไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี,
ส่วนผู้มีศีล เพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่า.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๙.

สีลเมวิธ สิกฺเขถ อสฺมึ โลเก สุสิกฺขิตํ
สีลํ หิ สพฺพสมฺปตฺตึ อุปนาเมติ เสวิตํ.
พึงศึกษาศีลในโลกนี้ เพราะศีลที่ศึกษาดีแล้วเสพแล้วในโลกนี้.
ย่อมน้อมนำมาซึ่งสมบัติทั้งปวง .
( สีลวเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๕๗.

สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี ปตฺถยาโน ตโย สุเข
ปสํสํ วิตฺติลาภญฺจ เปจฺจ สคฺเค ปโมทนํ.
ผู้มีปัญญาเมื่อปรารถนาสุข ๓ อย่าง คือ ความสรรเสริญ
ความได้ทรัพย์ และความละไปบันเทิงในสวรรค์ ก็พึงรักษาศีล.
( สีลวเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๕๗.

สีลวา หิ พหู มิตฺเต สญฺญเมนาธิคจฺฉติ
ทุสฺสีโล ปน มิตฺเตหิ ธํสเต ปาปมาจรํ.
ผู้มีศีลย่อมได้มิตรมากด้วยความสำรวม
ส่วนผู้ไม่มีศีล ประพฤติชั่ว ย่อมแตกจากมิตร.
( สีลวเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๕๗.

อุนฺนฬสฺส ปมตฺตสฺส พาหิราสสฺส ภิกฺขุโน
สีลํ สมาธิ ปญฺญา จ ปาริปูรึ น คจฺฉติ.
เมื่อภิกษุมีมานะ ประมาทแล้ว มีความหวังในภายนอก,
ศีลสมาธิ และปัญญา ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์.
( โสณโกฬิวิสเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๖๐.

เตสํ สมฺปนฺนสีลานํ อปฺปมาทวิหารินํ
สมฺมทญฺญา วิมุตฺตานํ มาโร มคฺคํ น วินฺทติ.
มารค้นหาอยู่ ย่อมไม่พบทางของท่านผู้มีศีลสมบูรณ์
อยู่ด้วยความไม่ประมาท หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๒.

สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ.
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์.
( สีลวเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๕๘.

สีลเมว อิธ อคฺคํ ปญฺญวา ปน อุตฺตโม
มนุสฺเสสุ จ เทเวสุ สีลปญฺญาณโต ชยํ.
ศีลเท่านั้นเป็นเลิศในโลกนี้ ส่วนผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด
ความชนะในหมู่มนุษย์และเทวดา ย่อมมีเพราะศีลและปัญญา.
( สีลวเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๕๘.

สีลํ สมฺพลเมวคฺคํ สีลํ ปาเถยฺยมุตฺตมํ
สีลํ เสฏฺโฐ อติวาโห เยน วาติ ทิโส ทิสํ.
ศีลเป็นคุณรวมกำลังอย่างเลิศ ศีลเป็นเสบียงทางอย่างสูงสุด
ศีลเป็นผู้นำทางอย่างประเสริฐสุด เพราะศีล ( มีกลิ่น ) ขจรไปทั่วทุกทิศ.
( สีลวเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๕๘.

สีลํ เสตุ มเหสกฺโข สีลํ คนฺโธ อนุตฺตโร
สีลํ วิเลปนํ เสฏฺฐํ เยน วาติ ทิโส ทิสํ.
ศีลเป็นสะพานอันสำคัญ ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า
ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐสุด
เพราะศีล ( มีกลิ่น ) ขจรไปทั่วทุกทิศ.
( สีลวเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๕๘.


หมวดหมู่ สารบัญ
๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน ๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท ๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม ๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๔ . กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส ๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๕ . โกธวรรค คือ หมวดโกรธ ๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๖ . ขันติวรรค คือ หมวดอดทน ๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต ๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๘ . ชยวรรค คือ หมวดชนะ ๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน ๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๑๐ . ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์ ๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๑ . ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม ๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา ๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท ๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๕. ปาปวรรค คือ หมวดบาป ๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ ๓๔. หมวด คน


         
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
องฺ. อฏฺฐก. องฺคุตฺตรนิกาย   อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   ฉกฺกกนิปาต
องฺ. ติก. องฺคุตฺตรนิกาย   ติกนิปาต
องฺ. ทสก. องฺคุตฺตรนิกาย   ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก. องฺคุตฺตรนิกาย   ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก. องฺคุตฺตรนิกาย   สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ. องฺคุตฺตรนิกาย   อิติวุตฺตก
ชุ. อุ. ขุทฺทกนิกาย   อุทาน
ขุ. จริยา ขุทฺทกนิกาย   จริยาปิฏก
ขุ. จู. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส ขุทฺทกนิกาย ชาดก เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก นวกนิปาต
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา. ขุทฺทกนิกาย ชาดก มหานิปาต
ขุ. ชา. วีสติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐี. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สฏฺฐีนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร. ขุทฺทกนิกาย   เถราคาถา
ขุ. เถรี. ขุทฺทกนิกาย   เถรีคาถา
ขุ. ธ. ขุทฺทกนิกาย   ธมฺมปทคาถา
ขุ. ปฏิ. ขุทฺทกนิกาย   ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ. ขุทฺทกนิกาย   พุทฺธวํส
ขุ. มหา. ขุทฺทกนิกาย   มหานิทฺเทส
ขุ. วิ. ขุทฺทกนิกาย   วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต. ขุทฺทกนิกาย   เปตวตฺถุ
ขุ. สุ. ขุทฺทกนิกาย   สตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ. ทีฆนิกาย   ปาฏิกวคฺค
ที. มหา. ทีฆนิกาย   มหาวคฺค
ม. อุป. มชฺฌิมนิกาย   อุปริปณฺณาสก
ม. ม. มชฺฌิมนิกาย   มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล. วินัยปิฏก   จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ. วินัยปิฏก   ภิกฺขุณีวิภงฺค
วิ. มหา. วินัยปิฏก   มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค. วินัยปิฏก   มหาวิภงฺค
สํ. นิ. สํยุตฺตนิกาย   นิทานวคฺค
สํ. มหา. สํยุตฺตนิกาย   มหาวารวคฺค
สํ. ส. สํยุตฺตนิกาย   สคาถวคฺค