๑๘ . มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๓๖๔. สพฺพํ เภทปริยนฺตํ เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ.
ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด.
ที . มหา. ๑๐/ ๑๔๑. ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๔๘. ขุ. มหา. ๒๙/ ๑๔๕.
๓๖๕ . อปฺปกญฺจิทํ ชีวิตมาหุ ธีรา.
ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก .
ม . ม. ๑๓/ ๔๑๒. ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๘๕. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๘.
๓๖๖ . น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา.
ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูอันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย.
ม . อุ. ๑๔/ ๓๔๘. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๑๖๕.
๓๖๗ . ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา.
เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน.
สํ . ส. ๑๕/ ๓. องฺ. ติก. ๒๐/ ๑๙๘. ขุ. ชา. วีส. ๒๗/ ๔๑๖.
๓๖๘ . น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา.
เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน.
ม . ม. ๑๓/ ๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๘.
๓๖๙ . น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ.
ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้ .
ม . ม. ๑๓/ ๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๘.
๓๗๐. น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ.
กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้.
ม . ม. ๑๓/ ๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๘.
๓๗๑ . น ทีฆมายุํ ลภเต ธเนน.
คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์ .
ม . ม. ๑๓/ ๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๘.
๓๗๒ . สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ.
สัตว์ทั้งปวง จักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก.
ที. มหา. ๑๐/ ๑๘๑. สํ. ส. ๑๕/ ๒๓๒.
๓๗๓ . อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา.
ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า.
ที . มหา. ๑๐/ ๑๔๑. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๓๑๗.
อจฺจยนฺติ อโหรตฺตา ชีวิตํ อุปรุชฺฌติ
อายุ ขีวติ มจฺจานํ กุนฺนทีนํว โอทกํ.
วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมหมดเข้าไป
อายุของสัตว์ย่อมสิ้นไป เหมือนน้ำแห่งแม่น้ำน้อย ๆ ฉะนั้น.
( พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/ ๑๕๙. ขุ. มหา. ๒๙/ ๑๔๔.
อปฺปมายุ มนุสฺสานํ หิเฬยฺย นํ สุโปริโส
จเรยฺยาทิตฺตสีโสว นตฺถิ มจฺจุสฺส นาคโม.
อายุของมนุษย์มีน้อย คนดีพึงดูถูกอายุนั้นเสีย
พึงประพฤติดุจคนที่ศีรษะถูกไฟไหม้ มฤตยูจะไม่มาถึงย่อมไม่มี.
( พุทธ) สํ. ส. ๑๕/ ๑๕๘. ขุ. มหา. ๑๙/ ๑๔๓.
ทหรา จ มหนฺตา จ เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา
สพฺเพ มจฺจุวสํ ยนฺติ สพฺเพ มจฺจุปรายนา.
ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด
ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า.
( พุทฺธ) นัย- ที. มหา. ๑๐/ ๑๔๑. ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๔๘.
น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ น ปพฺพตานํ วิวรํ ปวีสํ
น วิชฺชตี โส ชคติปฺปเทโส ยตฺรฏฺฐิตํ นปฺปสเหยฺย มจฺจุ.
จะอยู่ในอากาศ อยู่กลางสมุทร เข้าไปสู่หลืบเขา ก็ไม่พ้นจากมฤตยูได้
ประเทศคือดินแดนที่มฤตยูจะไม่รุกรานผู้อยู่ ไม่มี.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๒.
ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺตํ พฺยาสตฺตมนสํ นรํ
อติตฺตํ เยว กาเมสุ อนฺตโก กุรุเต วสํ.
ความตายย่อมทำคนเก็บดอกไม้ ( กามคุณ)
มีใจข้องในอารมณ์ต่าง ๆ ไม่อิ่มในกาม ไว้ในอำนาจ.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๑.
ยถา ทณฺเฑน โคปาโล คาโว ปาเชติ โคจรํ
เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ อายุํ ปาเชนฺติ ปาณินํ.
ผู้เลี้ยงโค ย่อมต้องฝูงโคไปสู่ที่หากินด้วยพลองฉันใด,
ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปฉันนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๓.
ยถาปิ กุมฺภการสฺส กตา มตฺติกภาชนา
สพฺเพ เภทปริยนฺตา เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ.
ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำแล้ว ล้วนมีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด,
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น.
( พุทฺธ) นัย- ที. มหา. ๑๐/ ๑๔๑. ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๔๘.
ยถา วาริวโห ปูโร วเห รุกฺเข ปกูลเช
เอวํ ชราย มรเณน วุยฺหนฺเต สพฺพปาณิโน.
ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด,
สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น.
( เตมิยโพธิสตฺต) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๑๖๔.
อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ
เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ.
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป
ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำสุขมาให้.
( นนฺทเทวปุตฺต ) สํ. ส. ๑๕/ ๘๙.
ผลานมิว ปกฺกานํ ปาโต ปตนโต ภยํ
เอวํ ชาตาน มจฺจานํ นิจฺจํ มรณโต ภยํ.
ภัยของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว ย่อมมีเพราะต้องตายแน่นอน
เหมือนภัยของผลไม้สุก ย่อมมีเพราะต้องหล่นในเวลาเช้าฉะนั้น.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๔๘. ขุ. มหา. ๒๙/ ๑๔๕.
รูปธาตุปริญฺญาย อรูเปสุ อสณฺฐิตา
นิโรเธ เย วิมุจฺจนฺติ เต ชนา มจฺจุหายิโน.
ชนเหล่าใด กำหนดรู้รูปธาตุ ไม่ตั้งอยู่ในอรูปธาตุ
ย่อมหลุดพ้นไปได้ในนิโรธธาตุ,
ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ละมัจจุได้.
( พุทฺธ ) ขุ. อิติ. ๒๕/ ๒๖๕.
|