๑๖ . ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล
๒๘๙. สาธุ โข ปณฺฑิโต นาม.
ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล .
อ . ส. ๑๕/ ๓๐๙. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๓๒.
๒๙๐ . ปณฺฑิโต สีลสมฺปนฺโน ชลํ อคฺคีว ภาสติ.
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟสว่าง.
ที . ปาฏิ. ๑๑/ ๒๐๒.
๒๙๑ . อนตฺถํ ปริวชฺเชติ อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต.
บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์.
องฺ . จตุกฺก. ๒๑/ ๕๙.
๒๙๒ . อินฺทฺริยานิ รกฺขนิติ ปณฺฑิตา.
บัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์ .
ที . มหา. ๑๐/ ๒๘๘. สํ. ส. ๑๕/ ๓๗.
๒๙๓ . น อุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ.
บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๒๖.
๒๙๔ . นิชฺฌตฺติพลา ปณฺฑิตา.
บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง .
องฺ . อฏฺฐก. ๒๓/ ๒๒๗.
๒๙๕. ทุลฺลโภ ปุริสาชญฺโญ
บุรุษอาชาไนย หาได้ยาก.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๔๑.
๒๙๖ . ทุลฺลโภ องฺคสมฺปนฺโน.
ผู้ถึงพร้อมด้วยองคคุณ หาได้ยาก.
ขุ . ชา. ทุก. ๒๗/ ๘๕.
๒๙๗ . ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ.
ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๗. ขุ. มหา. ๒๙/ ๒๙๑. ขุ. จู. ๓๐/ ๗๔.
๒๙๙ . กุสโล จ ชหาติ ปาปกํ.
คนฉลาด ย่อมละบาป.
ที . มหา. ๑๐/ ๑๕๙. ขุ. อุ. ๒๕/ ๒๑๕.
๓๐๐ . นยํ นยติ เมธาวี.
คนมีปัญญา ย่อมแนะนำทางที่ควรแนะนำ.
ขุ . ชา. เตรส. ๒๗/ ๓๕๕.
๓๐๑ . อธุรายํ น ยุญฺชติ.
คนมีปัญญา ย่อมไม่ประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ.
ขุ . ชา. เตรส. ๒๗/ ๓๕๕.
๓๐๒. ธีโร โภเค อธิคมฺม สงฺคณฺหาติ จ ญาตเก.
ปราชญ์ได้โภคทรัพย์แล้ว ย่อมสงเคราะห์ญาติ.
ขุ . ชา. ฉกฺก. ๒๗/ ๒๐๕.
๓๐๓ . ธีโร จ พลวา สาธุ ยูถสฺส ปริหารโก.
ปราชญ์มีกำลังบริหารหมู่ ให้ประโยชน์สำเร็จ.
ขุ . ชา. สตฺตก. ๒๗/ ๒๒๑.
๓๐๔ . น กามกามา ลปยนฺติ สนฺโต.
สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะใคร่กาม .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๒๖.
๓๐๕ . สนฺโต น เต เย น วทนฺติ ธมฺมํ.
ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ.
สํ . ส. ๑๕/ ๒๗๐.
๓๐๖ . สนฺโต สตฺตหิเต รตา.
สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์ .
ชาตกฏฺฐกถา ๑/ ๒๓๐.
๓๐๗ . ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโตว ปพฺพโต.
สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๕.
๓๐๘ . สนฺโต สคฺคปรายนา.
สัตบุรุษ มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
สํ . ส. ๑๕/ ๒๗. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/ ๖๔.
๓๐๙. สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติ.
สัตบุรุษ ย่อมขจรไปทั่วทุกทิศ.
องฺ . ติก. ๒๐/ ๒๙๑. ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๒.
๓๑๐ . อุปสนฺโต สุขํ เสติ.
ผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข.
วิ . จุล. ๗/ ๑๐๖. สํ. ส. ๑๕/ ๓๑๒. องฺ. ติก. ๒๐/ ๑๗๕.
๓๑๑ . สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ.
กลิ่นของสัตบุรุษ ย่อมไปทวนลมได้.
องฺ . ติก. ๒๐/ ๒๙๑. ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๒.
๓๑๒ . อนุปาทา วิมุจฺจนฺติ.
สาธุชนย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น .
ม . อุป. ๑๔/ ๓๔๖. องฺ. ติก. ๒๐/ ๑๘๐.
๓๑๓ . โย พาโล มญฺ ติ พาลยํ ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส.
คนโง่รู้สึกว่าตนโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๒๓.
๓๑๔ . น สาธุ พลวา พาโล ยูถสฺส ปริหารโก.
คนโง่มีกำลังบริหารหมู่ ไม่สำเร็จประโยชน์.
ขุ . ชา. สตฺตก. ๒๗/ ๒๒๑.
๓๑๕ . พาโล อปริณายโก.
คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ.
ขุ . ชา. ทุก. ๒๗/ ๘๙.
๓๑๖. อุชฺฌตฺติพลา พาลา.
คนโง่ มีความเพ่งโทษเป็นกำลัง.
องฺ . อฏฺฐก. ๒๓/ ๒๒๗.
๓๑๗ . อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ รตฺตึ ขิตฺตา ยถา สรา.
อสัตบุรุษ แม้นั่งอยู่ในที่นี้เองก็ไม่ปรากฏ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๕.
๓๑๘ . อสนฺโต นิรยํ ยนฺติ.
อสัตบุรุษ ย่อมไปนรก.
สํ . ส. ๑๕/ ๒๗. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/ ๖๔.
๓๑๙ . อนยํ นยติ ทุมฺเมโธ.
คนมีปัญญาทราม ย่อมแนะนำทางที่ไม่ควรแนะนำ.
ขุ . ชา. เตรส. ๒๗/ ๓๕๕.
๓๒๐ . อธุรายํ นิยุญฺชติ.
คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ.
ขุ . ชา. เตรส. ๒๗/ ๓๕๕.
๓๒๑ . หาเปติ อตฺถํ ทุมฺเมโธ.
คนมีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์เสีย.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๑๕.
๓๒๒ . ทุพฺภึ กโรติ ทุมฺเมโธ.
คนมีปัญญาทราม ย่อมทำความประทุษร้าย.
ขุ . ชา. ทสก. ๒๗/ ๒๙๑.
๓๒๓. โจรา โลกสฺมิมพฺพุทา.
พวกโจร เป็นเสนียดในโลก.
สํ . ส. ๑๕/ ๖๐.
๓๒๔ . สุวิชาโน ภวํ โหติ.
ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ.
ขุ . สุ. ๒๕/ ๓๔๖.
๓๒๕ . ทุวิชาโน ปราภโว.
ผู้รู้ชั่ว เป็นผู้เสื่อม.
ขุ . สุ. ๒๕/ ๓๔๖.
๓๒๖ . ธมฺมกาโม ภวํ โหติ.
ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ.
ขุ . สุ. ๒๕/ ๓๔๖.
๓๒๗ . ธมฺมเทสฺสี ปราภโว.
ผู้ชังธรรม เป็นผู้เสื่อม.
ขุ . สุ. ๒๕/ ๓๔๖.
๓๒๘ . สกฺกตฺวา สกฺกโต โหติ.
ผู้ทำสักการะ ย่อมได้รับสักการะ.
ขุ . ชา. มหา. ๒๘/ ๑๕๔.
๓๒๙ . ครุ โหติ สคารโว.
ผู้เคารพ ย่อมมีผู้เคารพ.
ขุ . ชา. มหา. ๒๘/ ๑๕๔.
๓๓๐. ปูชโก ลภเต ปูชํ.
ผู้บูชา ย่อมได้รับบูชา.
ขุ . ชา. มหา. ๒๘/ ๑๕๔.
๓๓๑ . วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ.
ผู้ไหว้ ย่อมได้รับไหว้ตอบ.
ขุ . ชา. มหา. ๒๘/ ๑๕๔.
๓๓๒ . ปฏิสงฺขานพลา พหุสฺสุตา.
ผู้ฟังมาก ต้องพิจารณาเป็นสำคัญ.
องฺ . อฏฺฐก. ๒๓/ ๒๒๗.
๓๓๓ . สาธุ สมฺพหุลา ญาตี.
มีญาติมาก ๆ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ .
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๒๓.
๓๓๔ . วิสฺสาสปรมา ญาตี.
ความคุ้นเคย เป็นญาติอย่างยิ่ง.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๔๒.
๓๓๕ . เนกาสี ลภเต สุขํ.
ผู้กินคนเดียว ไม่ได้ความสุข.
ขุ . ชา. ทฺวาทส. ๒๗/ ๓๓๓.
๓๓๖ . นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต.
คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๔๕.
๓๓๗. ปริภูโต มุทุ โหติ.
คนอ่อนแอ ก็ถูกเขาดูหมิ่น.
ขุ . ชา. ทฺวาทส. ๒๗/ ๓๓๙.
๓๓๘ . อติติกฺโข จ เวรวา.
คนแข็งกระด้าง ก็มีเวร.
ขุ . ชา. ทฺวาทส. ๒๒/ ๓๓๙.
๓๓๙ . พหุมฺปิ รตฺโต ภาเสยฺย.
คนรักแล้ว มักพูดมาก.
ขุ . ชา. ทฺวาทส. ๒๗/ ๓๓๙.
๓๔๐ . ทุฏฺโฐปิ พหุ ภาสยิ.
คนโกรธแล้ว มักพูดมาก.
ขุ . ชา. ทฺวาทส. ๒๗/ ๓๓๙.
๓๔๑ . อนุปาเยน โย อตฺถํ อิจฺฉติ โส วิหญฺญติ.
ผู้มุ่งประโยชน์โดยไร้อุบาย ย่อมลำบาก.
ขุ. ชา.เอก. ๒๗/๑๖
๓๔๒ . น อุชุภูตา วิตถํ ภณนฺติ.
คนตรง ไม่พูดคลาดความจริง.
ขุ . ชา. จตุกฺก. ๒๗/ ๑๒๘.
๓๔๓ . ยถาวาที ตถาการี.
พูดอย่างใด พึงทำอย่างนั้น.
ที . มหา. ๑๐/ ๒๕๕. ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๙๔. ขุ. เถร. ๒๖/ ๔๔๑. ขุ. ชา. จตุตฺก. ๒๗/ ๑๔๖.
๓๔๔. หิรินิเสโธ ปุริโส โกจิ โลกสฺมิ วิชฺชติ.
มีบางคนในโลกที่ยับยั้งด้วยความอาย.
สํ . ส. ๑๕/ ๑๑. ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๔.
๓๔๕ . กวิ คาถานมาสโย.
กวีเป็นที่อาศัยแห่งคาถาทั้งหลาย .
สํ . ส. ๑๕/ ๕๒.
๓๔๖ . พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร.
มารดาบิดา ท่านว่าเป็นพรหม ( ของบุตร).
องฺ . ติก. ๒๐/ ๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/ ๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/ ๓๑๔.
๓๔๗ . ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร.
มารดาบิดา ท่านว่าเป็นบุรพาจารย์ ( ของบุตร).
องฺ . ติก. ๒๐/ ๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/ ๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/ ๓๑๔.
๓๔๘ . อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ.
มารดาบิดา เป็นที่นับถือของบุตร.
องฺ . ติก. ๒๐/ ๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/ ๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/ ๓๑๔.
๓๔๙ . อิตฺถี มลํ พฺรหฺมจริยสฺส.
สตรีเป็นมลทินของพรหมจรรย์ .
สํ . ส. ๑๕/ ๕๒, ๕๙.
๓๕๐ . อิตฺถี ภณฺฑานมุตฺตมํ.
สตรีเป็นสูงสุดแห่งสิ่งของทั้งหลาย .
สํ . ส. ๑๕/ ๖๐.
๓๕๑. ภตฺตญฺจ ครุโน สพฺเพ ปฏิปูเชนฺติ ปณฺฑิตา.
ภริยาผู้ฉลาด ย่อมนับถือสามีและคนควรเคารพทั้งปวง.
องฺ . อฏฺฐก. ๒๓/ ๒๗๓.
๓๕๒ . ภตฺตา ปญฺ าณมิตฺถิยา.
สามีเป็นเครื่องปรากฏของสตรี .
สํ . ส. ๑๕/ ๕๗.
๓๕๓ . สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ.
บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ.
สํ . ส. ๑๕/ ๑๐.
๓๕๔ . โย จ ปุตฺตานมสฺสโว.
บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ.
สํ . ส. ๑๕/ ๑๐.
๓๕๕ . ปุตฺตา วตฺถุ มนุสฺสานํ.
บุตรทั้งหลายเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย .
สํ . ส. ๑๕/ ๕๑.
๓๕๖ . ผาตึ กยิรา อวิเหฐยํ ปรํ.
ควรทำแต่ความเจริญ . อย่าเบียดเบียนเขา.
ขุ . ชา. สตฺตก. ๒๗/ ๒๑๒.
๓๕๘. รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ.
พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง.
ขุ . ชา. จตุกฺก. ๒๗/ ๑๓๖.
อจฺจยํ เทสยนฺตีนํ โย เจ น ปฏิคณฺหติ
โกปนฺตโร โทสครุ ส เวรํ ปฏิมุจฺจติ.
เมื่อเขาขอโทษ ถ้าผู้ใดมีความขุ่นเคือง
โกรธจัด ไม่ยอมรับ ผู้นั้นชื่อว่าหมกเวรไว้.
( เทวดา) สํ. ส. ๑๕/ ๓๔.
อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน
อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ.
ในหมู่มนุษย์ คนที่ถึงฝั่ง ( นิพพาน) มีน้อย,
ส่วนประชานอกนี้ วิ่งอยู่ตามชายฝั่ง.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๖.
อสุภาย จิตฺตํ ภาเวหิ เอกคฺคํ สุสมาหิตํ
สติ กายคตา ตฺยตฺถุ นิพฺพิทาพหุโล ภว.
จงอบรมจิตให้แน่วแน่มั่นคง ด้วยอสุภสัญญา
จงมีสติไปในกาย จงมีความเบื่อหน่ายมาก ( ในสังขารทั้งปวง).
( วงฺคีสเถร) สํ. ส. ๑๕/ ๒๗๗.
อหึสกา เย มุนโย นิจฺจํ กาเยน สํวุตา
เต ยนฺติ อจฺจุตํ ฐานํ ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจเร.
มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมทางกายเป็นนิตย์
มุนีเหล่านั้น ย่อมไปสู่สถานไม่จุติ ที่ไปแล้วไม่ต้องเศร้าโศก.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๕.
เอวํ กิจฺฉาภโต โปโส ปิตุ อปริจารโก
ปิตริ มิจฺฉา จริตฺวาน นิรยํ โส อุปปชฺชติ.
ผู้ที่ ( มารดา) บิดาเลี้ยงมาโดยยากอย่างนี้
ไม่บำรุง ( มารดา) บิดา ประพฤติผิดใน ( มารดา) บิดา ย่อมเข้าถึงนรก.
( โสณโพธิสตฺต) ขุ. ชา. สคฺตติ. ๒๘/ ๖๖.
เอวํ พุทฺธํ สรนฺตานํ ธมฺมํ สงฺฆญฺจ ภิกฺขโว
ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส น เหสฺสติ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม
และพระสงฆ์ อยู่อย่างนี้ ความกล้า ความครั่นคร้าม
ขนพองสยองเกล้า จักไม่มี.
( พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/ ๓๒๓.
เอวํ มนฺทสฺส โปสสฺส พาลสฺส อวิชานโต
สารมฺภา ชายเต โกโธ โสปิ เตเนว ฑยฺหติ.
ความโกรธเกิดขึ้นแก่คนโง่เขลาไม่รู้แจ้ง เพราะความแข่งดี
เขา ย่อมถูกความโกรธนั้นแลเผา.
( โพธิสตฺต) ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/ ๒๘๐.
โอโนทโร โย สหเต ชิฆจฺนํ ทานฺโต ตปสฺสี มิตปานโภชโน
อาหารเหตุ น กโรติ ปาปํ ตํ เว นรํ สมณมาหุ โลเก.
คนใดมีท้องพร่อง ย่อมทนความหิวได้ ผู้ฝึกตนมีความเพียร
กินดื่มพอประมาณ ไม่ทำบาปเพราะอาหาร ท่านเรียกคนนั้นแล
ว่าสมณะในโลก.
ขุ . ชา. ทสก. ๒๗/ ๒๗๔.
กาเม คิทฺธา กามรตา กาเมสุ อธิมุจฺฉิตา
นรา ปาปานิ กตฺวาน อุปปชฺชนฺติ ทุคฺคตึ.
นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นในกาม ทำ
บาปทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงทุคติ.
( ปจฺเจกพุทฺธ) ขุ. ชา สฏฺฐิ. ๒๘/ ๓๓.
คาเม วา ยทิวารญฺเญ นินฺเน วา ยทิวา ถเล
ยตฺถ อรหนฺโต วิหรนฺติ ตํ ภูมิรามเณยฺยกํ.
พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในที่ใด คือบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม
ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นย่อมเป็นภูมิน่ารื่นรมย์.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๘.
โจทิตา เทวทูเตหิ เย ปมชฺชนฺติ มาณวา
เต ทีฆรตฺตํ โสจนฺติ หีนกายูปคา นรา.
คนเหล่าใด อันเทวทูตตักเตือนแล้ว ยังประมาทอยู่,
คนเหล่านั้นเข้าถึงกายอันเลว ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน.
( พุทฺธ) ม. อุป. ๑๔/ ๓๔๖.
โจโร ยถา สนฺธฺมุเข คหีโต สกมฺมุนา หญฺ ติ ปาปธมฺโม
เอวํ ปชา เปจฺจ ปรมฺหิ โลเก สกมฺมุนา หญฺ ติ ปาปธมฺโม.
โจรผู้มีความชั่ว ถูกเขาจับได้ซึ่งหน้า ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรม
ของตนฉันใด ประชาผู้มีความชั่ว ละไปแล้ว ย่อมเดือดร้อน
เพราะกรรมของตนในโลกหน้าฉันนั้น .
( รฏฺฐปาลเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๙.
ชาติถทฺโธ ธนถทฺโธ โคตฺตถทฺโธ จ โย นโร
สญฺญาตึ อติมญฺเญติ ตํ ปราภวโต มุขํ.
คนใด หยิ่งเพราะชาติ หยิ่งเพราะทรัพย์ หยิ่งเพราะสกุล
ย่อมดูหมิ่นญาติของตน ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งความเสื่อมของคนนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๔๗.
ตํ พฺรูมิ อุปสนฺโตติ กาเมสุ อนเปกฺขินํ
คนฺถา ตสฺส น วิชฺชนฺติ อตาริ โส วิสตฺติกํ.
เราเรียกผู้ไม่เยื่อใยในกามทั้งหลายนั้นว่าผู้สงบ ,
เครื่องร้อยรัดของเขาไม่มี เขาจึงข้ามตัณหาว้าวุ่นไปได้.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๐๑. ขุ. มหา. ๒๙/ ๒๙๕, ๒๙๗.
เตชวาปิ หิ นโร วิจกฺขโณ สกฺกโต พหุชนสฺส ปูชิโต
นารีนํ วสงฺคโต น ภาสติ ราหุนา อุปหโตว จนฺทิมา.
ถึงเป็นคนมีเดช มีปัญญาเฉียบแหลม อันคนเป็นอันมากสักการบูชา
อยู่ในอำนาจของสตรีเสียแล้ว ย่อมไม่รุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์
ถูกพระราหูบังฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ชา อสีติ. ๒๘/ ๑๒๗.
ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโตว ปพฺพโต
อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ รตฺติขิตฺตา ยถา สรา.
สัตบุรุษย่อมปรากฏได้ในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์
อสัตบุรุษถึงนั่งอยู่ในที่นี้ก็ไม่ปรากฏ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๕.
ธีโร โภเค อธิคมฺเม สงฺคณฺหาติ จ ญาตเก
เตน โส กิตฺตึ ปปฺโปติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ.
ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ,
เพราะการสงเคราะห์นั้น เขาย่อมได้เกียรติ ละไปแล้ว
ย่อมบันเทิงในสวรรค์.
( โพธิสตฺต) ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/ ๒๐๕.
น ปณฺฑิตา อตฺตสุขสฺส เหตุ ปาปานิ กมฺมานิ สมาจรนฺติ
ทุกฺเขน ผุฏฐา ขลิตาปิ สนฺตา ฉนฺทา จ โทสา น ชหนฺติ ธมฺมํ.
บัณฑิต ย่อมไม่ประพฤติกรรมชั่ว เพราะเหตุแห่งสุขเพื่อตน,
สัตบุรุษอันทุกข์ถูกต้อง แม้พลาดพลั้งไป ก็ไม่ยอมละธรรม
เพราะฉันทาคติและโทสาคติ.
( สรภงฺคโพธิสตฺต) ชาตกฏฺฐกถา. ๗/ ๓๘๘.
น เว อนตฺถกุสเลน อตฺถจริยา สุขาวหา
หาเปติ อตฺถํ ทุมฺเมโธ กปิ อารามิโก ยถา.
การบำเพ็ญประโยชน์โดยไม่ฉลาดในประโยชน์
ก็นำความสุขมาให้ไม่ได้เลย, ผู้มีปัญญาทรามย่อมพร่าประโยชน์
ดุจลิงเฝ้าสวนฉะนั้น.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๕.
น หิ สพฺเพสุ ฐาเนสุ ปุริโส โหติ ปณฺฑิโต
อิตฺถีปิ ปณฺฑิตา โหติ ตตฺถ ตตฺถ วิจกฺขณา.
บุรุษจะเป็นบัณฑิตในที่ทั้งปวงก็หาไม่ , แม้สตรีก็เป็นบัณฑิต
มีปัญญาเฉียบแหลมในที่นั้น ๆ ได้เหมือนกัน.
( เทวดา) ขุ. ชา. อฏฺฐก. ๒๗/ ๒๔๑.
นินฺทาย นปฺปเวเธยฺย น อุณฺณเมยฺย ปสํสิโต ภิกฺขุ
โลกํ สห มจฺฉริเยน โกธํ เปสุณิยญฺจ ปนุเทยฺย.
ภิกษุไม่ควรหวั่นไหวเพราะนินทา ได้รับสรรเสริญ
ก็ไม่ควรเหิมใจ พึงบรรเทาความโลภกับความตระหนี่
ความโกรธ และความส่อเสียดเสีย.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๑๖. ขุ. มหา. ๒๙/ ๔๖๔, ๔๖๖.
ปณฺฑิโต จ วิยตฺโต จ วิภาวี จ วิจกฺขโณ
ขิปฺปํ โมเจติ อตฺตานํ มา ภายิตฺถาคมิสฺสติ.
ผู้ฉลาดเฉียบแหลม แสดงเหตุและไม่ใช่เหตุได้แจ่มแจ้ง
และคาดเห็นผลประจักษ์ ย่อมเปลื้องตน ( จากทุกข์) ได้ฉับพลัน
อย่ากลัวเลย เขาจักกลับมาได้.
( ราช) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๓๔๔.
ปณฺฑิโตติ สมญฺ าโต เอกจริยํ อธิฏฺฐิโต
อถาปิ เมถุเน ยุตฺโต มนฺโทว ปริกิสฺสติ.
ผู้ตั้งใจประพฤติตนเป็นคนโสด เขารู้กันว่าเป็นบัณฑิต,
ส่วนคนโง่ฝักใฝ่ในเมถุน ย่อมเศร้าหมอง.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๙๔. ขุ. มหา. ๒๙/ ๑๘๖.
ปหาย ปญฺจาวรณานิ เจตโส อุปกฺกิเลเส พฺยปนุชฺช สพฺเพ
อนิสฺสิโต เฉตฺวา สิเนหโทสํ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
ผู้ฉลาดและเครื่องกั้นจิต ๕ ประการ กำจัดอุปกิเลสทั้งหมด
ตัดรักและชังแล้ว อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน นอแรดฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๓๘. ขุ. จู. ๓๐/ ๔๑๐.
ปุตฺตา มตฺถิ ธนมตฺถิ อิติ พาโล วิหญฺญติ
อตฺตา หิ อตฺตโน นตฺถิ กุโต ปุตฺตา กุโต ธนํ.
คนเขลาคิดว่า เรามีบุตร เรามีทรัพย์ จึงเดือดร้อน,
ที่แท้ตนของตนก็ไม่มี จะมีบุตร มีทรัพย์ มาแต่ที่ไหนเล่า.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๓.
พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร
อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ ปชาย อนุกมฺปกา.
มารดาบิดา ท่านว่าเป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์
เป็นที่นับถือของบุตร และเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร.
( โสณโพธิสตฺต) ขุ. ชา. สตฺตติ. ๒๗/ ๖๖.
มธุวา มญฺญตี พาโล ยาว ปาปํ น ปจฺจติ,
ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ อถ ทุกขํ นิคจฺฉติ.
ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน,
แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๔.
ยํ อุสฺสุกฺกา สงฺฆรนฺติ อลกฺขิกา พหุํ ธนํ
สิปฺปวนฺโต อสิปฺปา วา ลกฺขิกา ตานิ ภุญฺชเร.
คนไม่มีโชค มีศิลป์หรือไม่มีศิลป์ก็ตาม ขวนขวายรวบรวม
ทรัพย์ใดไว้ได้เป็นอันมาก ส่วนคนมีโชคย่อมบริโภคทรัพย์เหล่านั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ชา. ติก. ๒๗/ ๑๑๗.
ยํ ยํ ชนปทํ ยาติ นิคเม ราชธานิโย
สพฺพตฺถ ปูชิโต โหติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ.
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ไปสู่แว่นแคว้น
ตำบลหรือเมืองหลวงใด ๆ ก็ตาม ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง.
( เตมิยโพธิสตฺต) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๑๕๔.
ยโต จ โหติ ปาปิจฺโฉ อหิริโก อนาทโร
ตโต ปาปํ ปสวติ อปายํ เตน คจฺฉติ.
คนปรารถนาลามก ไม่ละอาย ไม่เอื้อเฟื้อ เพราะเหตุใด,
เขาย่อมสร้างบาปเพราะเหตุนั้น เขาไปสู่อบาย เพราะเหตุนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. อิติ. ๒๕/ ๒๕๖.
ยมฺหา ธมฺมํ วิชาเนยิย สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ
สกฺกจฺจํ นํ นมสฺเสยฺย อคฺคิหุตฺตํว พฺราหฺมโณ.
บุคคลรู้แจ้งธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ
เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๖๘.
ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ กุสเลน ปิถียติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา.
ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ด้วยกรรมดี, ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้
ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น.
( องฺคุลิมาล) ม. ม. ๑๒/ ๔๘๗.
ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย นิสีเทยฺย สเยยฺย วา
น ตสฺส สาขํ ภญฺเชยฺย มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโก.
บุคคลนั้นหรือนอนที่ร่มเงาต้นไม้ใด ไม่ควรหักกิ่งต้นไม้นั้น,
เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม.
( โพธิสตฺต) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๒๖.
เย จ ธมฺมสฺส กุสลา โปราณสฺส ทิสํปติ
จาริตฺเตน จ สมฺปนฺนา น เต คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ.
ชนเหล่าใด ฉลาดในขนบธรรมเนียมโบราณ
และประกอบด้วยจารีตประเพณีดี, ชนเหล่านั้น ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.
( โสณโพธิสตฺต) ขุ. ชา. สตฺตติ. ๒๘/ ๖๓.
เย น กาหนฺติ โอวาทํ นรา พุทฺเธน เทสิตํ
พฺยสนํ เต คมิสฺสนฺติ รกฺขสีหิว วาณิชา.
ผู้ใดจักไม่ทำตามโอวาทที่ผู้รู้แสดงแล้ว , ผู้นั้นจักถึงความย่อยยับ
เหมือนพ่อค้าถึงความย่อยยับเพราะพวกโจรสลัดฉะนั้น .
( พุทฺธ) ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/ ๗๑.
โย จตฺตานํ สมุกฺกํเส ปเร จ อวชานติ
นิหีโน เสน มาเนน ตํ ชญฺญา วสโล อิติ.
ผู้ใดยกย่องตนและดูหมิ่นผู้อื่น ,
เป็นคนเลวเพราะการถือตัวเอง พึงรู้ผู้นั้นว่าเป็นคนเลว.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๕๑.
โย จ สีลญฺจ ปญฺญญฺจ สุตญฺจตฺตนิ ปสฺสติ
อุภินฺนมตฺถํ จรติ อตฺตโน จ ปรสฺส จ.
ผู้ใดเห็นศีล ปัญญา และสุตะ ในตน.
ผู้นั้นย่อมประพฤติประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่าย.
( โพธิสตฺต) ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/ ๒๒๑.
โย จ เมตฺตํ ภาวยติ อปฺปมาณํ ปฏิสฺสโต
ตนู สํโยชนา โหนฺติ ปสฺสโต อุปธิกฺขยํ.
ผู้ใดมีสติเฉพาะหน้า เจริญเมตตาไม่มีประมาณ,
สังโยชน์ ของผู้เห็นความสิ้นแห่งอุปธินั้น ย่อมเบาบาง.
( พุทฺธ) องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/ ๑๕๒.
โย ทนฺธกาเล ตรติ ตรณีเย จ ทนฺธเย
อโยนิโส สํวิธาเนน พาโล ทุกฺขํ นิคจฺฉติ.
ผู้ใดย่อมรีบในกาลที่ควรช้า และช้าในกาลที่ควรรีบ,
ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมถึงทุกข์ เพราะการจัดทำโดยไม่แยบคาย.
( สมฺภูตเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๑๓.
โย ทนฺธกาเล ทนฺเธติ ตรณีเย จ ตารเย
โยนิโส สํวิธาเนน สุขํ ปปฺโปติ ปณฺฑิโต.
ผู้ใดช้าในกาลที่ควรช้า และรีบในกาลที่ควรรีบ ,
ผู้นั้นเป็นผู้ฉลาด ย่อมถึงสุข เพราะการจัดทำโดยแยบคาย.
( สมฺภูตเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๑๓.
โย น หนฺติ น ฆาเตติ น ชินาติ น ชาปเย
เมตฺตโส สพฺพภูตานํ เวรนฺตสฺส น เกนจิ.
ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง ไม่ให้ผู้อื่นชนะ,
ผู้นั้น ชื่อว่ามีเมตตาต่อสัตว์ทั้งปวง และไม่มีเวรกับใคร ๆ.
( พุทฺธ) องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/ ๑๕๒.
โย มาตรํ ปิตรํ วา มจฺโจ ธมฺเมน โปสติ
อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ.
ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้น
ในโลกนี้, เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์.
( สุวรฺณสามโพธิสตฺต) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๑๙๖.
โย เว กตญฺญู กตเวทิ ธีโร กลฺยาณมิตฺโต ทฬฺหภตฺติ จ โหติ
ทุกฺขิตสฺส สกฺกจฺจ กโรติ กิจฺจํ ตถาวิธํ สปฺปุริสํ วทนฺติ.
ผู้มีปรีชาใด เป็นคนกตัญญูกตเวที มีกัลยาณมิตรสนิทสนมกัน
และช่วยทำกิจของมิตรผู้ตกยากโดยเต็มใจ
ท่านเรียกคนอย่างนั้นว่าสัตบุรุษ.
( สรภงฺคโพธิสตฺต) ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/ ๕๔๑.
โย หเว อิณมาทาย ภุญฺชมาโน ปลายติ
น หิ เต อิณมตฺถีติ ตํ ชญฺญา วสโล อิติ.
ผู้ใด กู้หนี้เขามากินมาใช้แล้วหลบหนีไป
ด้วยปฏิเสธว่าหนี้ของท่านไม่มี พึงรู้ผู้นั้นว่าเป็นคนเลว.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๔๐.
โย โหติ พฺยตฺโต จ วิสารโท จ พหุสฺสุโต ธมฺมธโร จ โหติ
ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี ส ตาทิโส วุจฺจติ สงฺฆโสภโณ.
ผู้ใดเป็นคนฉลาด แกล้วกล้า เป็นผู้ฟังมาก ทรงธรรม
และประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม, คนเช่นนั้นท่านเรียกว่า
ยังหมู่ให้งดงาม.
( พุทฺธ) องฺ. จตุกฺก. ๒๑/ ๑๐.
ราคญฺจ โทสญฺจ ปหา โมหํ สนฺทาลยิตฺวาน สํโยชนานิ
อสนฺตสํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
บัณฑิตละราคะ โทสะ และโมหะ ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว
ย่อมไม่หวาดเสียวในสิ้นชีวิต . พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๓๙. ขุ. จู. ๓๐/ ๔๒๖, ๔๒๗.
สเจ อินฺทฺริยสมฺปนฺโน สนฺโต สนฺติปเท รโต
ธาเรติ อนฺติมํ เทหํ เชตฺวา มารํ สวาหนํ.
ถ้าเป็นผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์ สงบและยินดีในทางสงบแล้ว
จึงชื่อว่าชนะมารพร้อมทั้งพาหนะ ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด.
( พุทฺธ) ขุ. อิติ. ๒๕/ ๒๗๑.
สเจ ภายถ ทุกฺขสฺส สเจ โว ทุกฺขมปฺปิยํ
มา กตฺถ ปาปกํ กมฺมํ อาวี วา ยทิ วา รโห.
ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าท่านไม่รักทุกข์,
ก็อย่าทำบาปกรรมทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ.
( พทฺธ) ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๕๐.
สพฺพา ทิสา อนุปริคมฺม เจตสา เนวชฺฌคา ปิยตรมตฺตนา กฺวจิ
เอวํ ปิโย ปุถุ อตฺตา ปเรสํ ตสฺมา น หึเส ปรํ อตฺตกาโม.
เราคิดค้นหาทุกทิศแล้ว ก็ไม่พบผู้อื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตน
ในที่ไหน ๆ , ถึงผู้อื่นก็มีตนเป็นที่รักมากอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น.
( พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/ ๑๐๙.
สลาภํ นาติมญฺเญยฺย นาญฺเญสํ ปิหยญฺจเร
อญฺเญสํ ปิหยํ ภิกฺขุ สมาธึ นาธิคจฺฉติ.
ไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น
ภิกษุปรารถนาลาภของผู้อื่น ย่อมไม่บรรลุสมาธิ.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๖๕.
สาติเยสุ อนสฺสาวี อติมาเน จ โน ยุโต
สณฺโห จ ปฏิภาณวา น สทฺโธ น วิรชฺชติ.
ผู้ไม่ระเริงไปในอารมณ์ที่ชอบใจ ไม่ประกอบในความดูหมิ่น
เป็นผู้ละเอียดเฉียบแหลม ย่อมไม่เชื่อง่าย ไม่หน่ายแหนง.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๐๑. ขุ. มหา. ๒๙/ ๒๗๙, ๒๘๔.
สารตฺตา กามโภเคสุ คิทฺธา กาเมสุ มุจฺฉิตา
อติสารํ น พุชฺฌนฺติ มจฺฉา ขิปฺปํว โอฑฺฑิตํ.
ผู้ติดใจในการบริโภคกาม ยินดีหมกมุ่นในกามทั้งหลาย
ย่อมไม่รู้สึกซึ่งความถลำตัว เหมือนปลาถลันเข้าลอบ
ที่เขาดักไว้ไม่รู้สึกตัวฉะนั้น.
( พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/ ๑๐๘.
สุปิเนน ยถาปิ สงฺคตํ ปฏิพุทฺโธ ปุริโส น ปสฺสติ
เอวมฺปิ ปิยายิตํ ชนํ เปตํ กาลกตํ น ปสฺสติ.
คนผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็นอารมณ์อันประจวบด้วยความฝันฉันใด,
คนผู้อยู่ย่อมไม่เห็นชนอันตนรักทำกาละล่วงไปฉันนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๙๒. ขุ. มหา. ๒๙/ ๑๕๑, ๑๕๒.
เสหิ ทาเรหิ อสนฺตุฏฺโฐ เวสิยาสุ ปทุสฺสติ
ทุสฺสติ ปรทาเรสุ ตํ ปราภวโต มุขํ.
ผู้ไม่สันโดษด้วยภริยาของตน ย่อมซุกซนในหญิงแพศยา
และประทุษร้ายในภริยาของคนอื่น, นั่นเป็นเหตุแห่งความเสื่อม.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๔๘.
อกฺโกธโน อนุปนาหี อมกฺขี สุทฺธตํ คโต
สมฺปนฺนทิฏฺฐิ เมธาวี ตํ ชญฺญา อริโย อิติ.
ผู้ใดไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ถึงความหมดจด
มีทิฏฐิสมบูรณ์ มีปัญญา, พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นอริยะ.
( สารีปุตฺตเถร ) ขุ. ปฏิ. ๓๑/ ๒๔๑.
อกฺโกธสฺส กุโต โกโธ ทนฺตสฺส สมชีวิโน
สมฺมทญฺญา วิมุตฺตสฺส อุปสนฺตสฺส ตาทิโน.
ผู้ไม่โกรธ ฝึกตนแล้ว เป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ
สงบระงับ คงที่ จะมีความโกรธมาแต่ไหน.
( นฺหาตกมุนีเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๓๔.
อจฺฉิทฺทวุตฺตึ เมธาวึ ปญฺญาสีลสมาหิตํ
เนกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว โก ตํ นินฺทิตุมรหติ.
ใครควรจะติคนฉลาดประพฤติไม่ขาด
ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล ประดุจแท่งทองชมพูนุท.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๕.
อนาคตปฺปชปฺปาย อตีตสฺสานุโสจนา
เอเตน พาลา สุสฺสนฺติ นโฬว หริโต ลุโต.
คนเขลาย่อมซูบซีด เพราะคำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง
เพราะเศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกตัด.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๗.
อนุทฺธโต อจปโล นิปโล สํวุตินฺทฺริโย
กลฺยาณมิตฺโต เมธาวี ทุกฺขสฺสนฺตกโร สิยา.
คนฉลาด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คลอนแคลน มีปัญญา
สำรวมอินทรีย์ มีมิตรดี พึงทำที่สุดทุกข์ได้.
( อญฺญาโกณฺฑญฺญเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๖๖.
อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา อิติ วิญฺญาย ปณฺฑิโต
อปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ รตึ โส นาธิคจฺฉติ.
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก,
บัณฑิตรู้ดังนี้แล้วไม่ใยดีในกามแม้เป็นทิพย์.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๐.
อสฺสทฺโธ อกตญฺญู จ สนฺธิจฺเฉโท จ โย นโร
หตาวกาโส วนฺตาโส ส เว อุตฺตมโปริโส.
นรชนใด ไม่เชื่อ ( ตามเขาว่า ) รู้จัดพระนิพพาน อันอะไร ๆ
ทำไม่ได้ ตัดเงื่อนต่อได้ มีโอกาสอันขจัดแล้ว
และคายความหวังแล้ว, ผู้นั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๘.
อโยเค ยุญฺชมตฺตานํ โยคสฺมิญฺจ อโยชยํ
อตฺถํ หิตฺวา ปิยคฺคาหี ปิเหตตฺตานุโยคินํ.
ผู้ประกอบตนในสิ่งที่ไม่ควรประกอบ
และไม่ประกอบตนในสิ่งควรประกอบ ละประโยชน์เสีย
ถือตามชอบใจ ย่อมกระหยิ่มต่อผู้ประกอบตนเนือง ๆ.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๓.
อสตญฺจ สตญฺจ ญตฺวา ธมฺมํ อชฺฌตฺตํ พหิทฺธา จ สพฺพโลเก
เทวมนุสฺเสหิ จ ปูชิโต โย โส สงฺคชาลมติจฺจ โส มุนิ.
ผู้ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและของสัตบุรุษ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก
มีเทวดาและมนุษย์บูชาในโลกทั้งปวง ผู้นั้นจึงล่วงข่าย
คือเครื่องข้องได้ และเป็นมุนี.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๓๒. ขุ. มหา. ๒๙/ ๔๐๖.
อากาเสว ปทํ นตฺถิ สมโณ นตฺถิ พาหิโร
สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ นตฺถิ พุทฺธานมิญฺชิตํ.
สมณะภายนอกไม่มี , สังขารเที่ยงไม่มี,
ความหวั่นไหวของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี,
เหมือนรอยเท้าไม่มีในอากาศ.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๙.
อุฏฺฐานวโต สตีมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน
สญญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ.
เกียรติยศย่อมเจริญแก่ผู้ขยัน มีสติ มีการงานสะอาด
ใคร่ครวญแล้วจึงทำ สำรวมแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๘.
อุตฺตมํ ธมฺมตํ ปตฺโต สพฺพโลเก อนตฺถิโก
อาทิตฺตาว ฆรา มุตฺโต มรณสฺมึ น โสจติ.
ผู้บรรลุธรรมอย่างสุงสุด ไม่มีความต้องการในโลกทั้งปวง
ย่อมไม่เศร้าโศกในเพราะความตาย เหมือนพ้นจากเรือนถูกไฟไหม้.
( ปาราสริยเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๐.
อุยฺยุญฺชนติ สตีมนฺโต น นิเกเต รมนฺติ เต
หํสาว ปลฺลลํ หิตฺวา โอกโมกํ ชหนฺติ เต.
ผู้มีสติย่อมหลีกออก ท่านไม่ยินดีในที่อยู่
ท่านย่อมละที่อยู่ได้ ดุจหงส์ละเปือกตมไปฉะนั้น.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๗.
กายมุนึ วาจามุนึ เจโตมุนิมนาสวํ
มุนึ โมเนยฺยสมฺปนฺนํ อาหุ สพฺพปหายินํ.
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงผู้นิ่งทางกาย นิ่งทางวาจา นิ่งทางใจ
ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยปัญญา ผู้ละสิ่งทั้งปวงได้ ว่าเป็นมุนี.
( พุทฺธ ) องฺ. ติก. ๒๐/ ๓๕๒.
กายสุจึ วาจาสุจึ เจโตสุจิมนาสวํ
สุจึ โสเจยฺยสมฺปนฺนํ อาหุ นินฺหาตปาปกํ.
บัณฑิตกล่าวถึงผู้มีกายสะอาด มีวาจาสะอาด มีใจสะอาด
ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยความสะอาด ล้างบาปแล้ว ว่าเป็นผู้สะอาด.
( พุทฺธ ) องฺ. ติก. ๒๐/ ๓๕๒.
โกธโน อุปนาหี จ ปาปมกฺขี จ โย นโร
วิปนฺนทิฏฺฐิ มายาวี ตํ ชญฺญา วสฺล อิติ.
ผู้ใดมักโกรธ ผูกโกรธไว้ ลบหลู่เขาด้วยความชั่ว
มีความเห็นวิบัติ มีมายา พึงรู้ว่าคนนั้น เป็นคนเลว.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๔๙.
ขตฺติยา พฺราหฺมณา เวสฺสา สุทฺทา จณฺฑาลปุกฺกุสา
สพฺเพว โสรตา ทนฺตา สพฺเพว ปรินิพฺพุตา.
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล และคนงาน
ชั้นต่ำทั้งปวง สงบเสงี่ยมแล้ว ฝึกตนแล้ว
ก็ปรินิพพานเหมือนกันหมด.
( พฺราหฺมณ อุทฺทาลก ) ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/ ๓๗๖.
โจรํ หรนฺตํ วาเรนฺติ หรนฺโต สมโณ ปิโย
สมณํ ปุนปฺปุนายนฺตํ อภินนฺทนฺติ ปณฺฑิตา.
บัณฑิตขัดขวางโจรผู้นำของไป , ส่วนสมณะนำไป
ย่อมเป็นที่รัก, บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับสมณะผู้มาบ่อย ๆ.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๒๕/ ๖๐.
ชยํ เวรํ ปสวติ ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต
อุปสนฺโต สุขํ เสติ หิตฺวา ชยปราชยํ.
ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์
คนละความชนะและความแพ้ได้แล้ว
สงบใจได้ ย่อมนอนเป็นสุข.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๒.
ตสฺมา สตญฺจ อสตญฺจ นานา โหติ อิโต คติ
อสนฺโต นิรยํ ยนฺติ สนฺโต สคฺคปรายนา.
( เพราะธรรมของสัตบุรุษยากที่อสัตบุรุษจะประพฤติตาม )
คติที่ไปจากโลกนี้ของสัตบุรุษและอสัตบุรุษจึงต่างกัน,
คืออสัตบุรุษไปนรก, สัตบุรุษไปสวรรค์.
( พุทฺธ ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๔๓๕.
ตสฺมา หิ ธีโร อิธุปฏฺฐิตาสติ กาเม จ ปาเป จ อเสวมาโน
สหาปิ ทุกฺเขน ชเหยฺย กาเม ปฏิโสตคามีติ ตมาหุ ปุคฺคลํ.
เพราะนักปราชญ์มีสติตั้งมั่นในธรรมวินัยนี้
ไม่เสพกามและบาป พึงละกามพร้อมทั้งทุกข์ได้
ท่านจึงกล่าวบุคคลนั้นว่า ผู้ไปทวนกระแส.
( พุทฺธ ) องฺ. จตุกฺก. ๒๑/ ๗.
ทุทฺททํ ททมานานํ ทุกฺกรํ กมฺมกุพฺพตํ
อสนฺโต นานุกุพฺพนฺติ สตฺ ธมฺโม ทุรนฺวโย.
เมื่อสัตบุรุษให้สิ่งที่ให้ยาก ทำกรรมที่ทำได้ยาก,
อสัตบุรุษย่อมทำตามไม่ได้ เพราะธรรมของสัตบุรุษ
ยากที่อสัตบุรุษจะประพฤติตาม.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/ ๖๓.
น ชจฺจา วสโล โหติ น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ
กมฺมุนา วสโล โหติ กมฺมุนา โหติ พฺรมหฺมโณ.
บุคคลเป็นคนเลวเพราะชาติก็หาไม่ เป็นผู้ประเสริฐเพราะชาติก็หาไม่
( แต่ ) เป็นคนเลวเพราะการกระทำ เป็นผู้ประเสริฐก็เพราะการกระทำ.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๕๒.
นิฏฺฐํ คโต อสนฺตาสี วีตตณฺโห อนงฺคโณ
อจฺฉินฺทิ ภวสลฺลานิ อนฺติโมยํ สมุสฺสโย.
บุคคลถึงความสำเร็จแล้ว ( พราะอรหัตผล ) ไม่สะดุ้ง
ปราศจากตัณหา ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน
ตัดลูกศรอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว ร่างกายนี้จึงชื่อว่า มีในที่สุด.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๖๓.
นิลฺโลลุโป นิกฺกุโห นิปฺปิปาโส นิมฺมกฺโข นิทฺธนฺตกสาวโมโห
นิราสโส สพฺพโลเก ภวิตฺวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
ผู้ไม่ละโมภ ไม่อำพราง ไม่กระหาย ไม่ลบหลู่ ขจัดโมหะ
ดุจน้ำฝาดแล้ว ไม่มีความมุ่งหวัง ครอบงำโลกทั้งหมด
ควรเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๓๖. ขุ. จู. ๓๐/ ๓๗๙.
ปาปํ น กยิรา วจสา มนสา กาเยน วา กิญฺจน สพฺพโลเก
กาเม ปหาย สติมา สมฺปชาโน ทุกฺขํ น เสเวถ อนตฺถสญฺหิตํ.
บุคคลไม่ควรทำบาปซึ่งเป็นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง
ด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจ มีสติสัมปชัญญะ ละกามทั้งหลายได้แล้ว
ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบด้วยสิ่งที่ไร้ประโยชน์ .
( จุลฺลโกกนทา ปชฺชุนฺนธีตา ) สํ. ส. ๑๕/ ๔๒.
มทนิมฺมทนํ โสกนุทํ สํสารปริโมจนํ
สพฺพทุกฺขกฺขยํ มคฺคํ สกฺกจฺจํ ปฏิปชฺชถ.
ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางที่สร่างความเมา
บรรเทาความโศก เปลื้องสงสาร เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวงโดยความเคารพ.
( พุทฺธ ) ขุ. พุ. ๓๓/ ๔๑๕.
มานํ ปหาย สุสมาหิตตฺโต สุเจตโส สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต
เอโก อรญฺเญ วิหรํ อปฺปมตฺโต ส มจฺจุเธยฺยสฺส ตเรยฺย ปารํ.
ผู้ใดละมานะ มีตนตั้งมั่นดีแล้ว มีใจดี หลุดพ้นในที่ทั้งปวง
อยู่ในป่าคนเดียว เป็นผู้ไม่ประมาท, ผู้นั้นพึงข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยู.
( พุทฺธ ) สสํ. ส. ๒๕/ ๖.
โมสวชฺเช น นิยฺเยถ รูเป เสฺนหํ น กุพฺพเย
มานญฺจ ปริชาเชยฺย สาหสา วิรโต จเร.
บุคคลไม่ควรนิยมการกล่าวคำเท็จ ไม่ควรทำความเสน่หา
ในรูปโฉม ควรกำหนดรู้มานะ และประพฤติงดเว้น
จากความผลุนผลัน.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๑๘. ขุ. มหา. ๒๙/ ๕๑๗.
มาเนน วญฺจิตา เส สงฺขาเรสุ สงฺกิลิสฺสมานา เส
ลาภาลาเภน มถิตา สมาธึ นาธิคจฺฉนฺติ.
ผู้ถูกมานะหลอกลวง เศร้าหมองอยู่ในสังขาร
ถูกลาภและความเสื่อมลาภย่ำยี ย่อมไม่ลุถึงสมาธิ.
( เสตุจฺฉเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๒๘๓.
ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สญฺญโม ทโม
ส เว วนฺตมโล ธีโร โส เถโรติ ปวุจฺจติ.
ผู้ใดมีความสัตย์ มีธรรม มีความไม่เบียดเบียน
มีความสำรวม และมีความข่มใจ ผู้นั้นแล ชื่อว่า ผู้มีปัญญา
หมดมลทิน เขาเรียกท่านว่า เถระ.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๐.
ยทา ทุกฺขํ ชรามรณนฺติ ปณฺฑิโต อวิทฺทสู ยตฺถ สิตา ปุถุชฺชนา
ทุกฺขํ ปริญฺญาย สโต ว ฌายติ ตโต รตึ ปรมตรํ น วินฺทติ.
เมื่อใด บัณฑิตรู้ว่า ชราและมรณะเป็นทุกข์ กำหนดรู้ทุกข์ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งปุถุชน มีสติเพ่งพินิจอยู่
เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดีที่ยิ่งกว่านั้น.
( ภูตเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๔๔.
ยสฺส ราโค จ โทโส จ มาโน มกฺโข จ ปาติโต
สาสโปริว อารคฺคา ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
ผู้ใดทำ ราคะ โทสะ มานะ และมักขะ ให้ตกไป
เหมือนทำให้เมล็ดผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม ,
เราเรียกผู้นั้นว่าพราหมณ์.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๖๙.
ยสฺสาลยา น วิชฺชนฺต อญฺญาย อกถงฺกถี
อมโตคธํ อนุปฺปตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
ผู้ใดไม่มีความอาลัย รู้แล้วหาความสงสัยมิได้
เราเรียกผู้หยั่งลงสู่อมตะ บรรลุประโยชน์แล้วนั้นว่าเป็นพราหมณ์.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๗๐.
เย เกจิ กาเมสุ อสญฺญตา ชนา
อวีตราคา อิธ กามโภคิโน
ปุนปฺปุนํ ชาติชรูปคา หิ เต.
ตณฺหาธิปนฺนา อนุโสตคามิโน.
คนบางพวกเหล่าใด ไม่สำรวมในกาม ยังไม่ปราศจากราคะ
เป็นผู้บริโภคกามในโลกนี้ , คนเหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำ
ลอยไปตามกระแส ( ตัณหา ) ต้องเป็นผู้เข้าถึงชาติชราร่ำไป.
( พุทฺธ ) องฺ. จตุกฺก. ๒๑/ ๗.
เย จ โข พาลา ทุมฺเมธา ทุกมฺมนฺตี โมหปารุตา
ตาทิสา ตตฺถ รชฺชนฺติ มารกฺขิตฺตสฺมิ พนฺธเน.
คนเหล่าใดเขลา มีปัญญาทราม มีความคิดเลว
ถูกความหลงปกคลุม, คนเช่นนั้น ย่อมติดเครื่องผูกอันมารทอดไว้นั้น.
( นนฺทกเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๑๒.
เย จ สีเลน สมฺปนฺนา ปญฺญายูปสเม รตา
อารกา วิรตา ธีรา น โหนฺติ ปรปตฺติยา.
ผู้มีปัญญาเหล่าใด ประกอบด้วยศีล ยินดีในความสงบด้วยปัญญา
ผู้มีปัญญาเหล่านั้น เว้นไกลจากความชั่วแล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/ ๑๔๓.
เย ฌานปสุตา ธีรา เนกฺขมฺมูปสเม รตา
เทวาปิ เตสํ ปิหยนฺติ สมฺพุทฺธานํ สตีมตํ.
ผู้มีปัญญาเหล่าใด ขวนขวายในฌาน ยินดีในความสงบอันเกิด
จากเนกขัมมะ เทวดาทั้งหลายก็พอใจต่อผู้มีปัญญา
ผู้รู้ดีแล้ว มีสติเหล่านั้น.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๙.
เสยํ ราโค จ โทโส จ อวิชฺชา จ วิราชิตา
ตาที ตตฺถ น รชฺชนฺติ ฉินฺนสุตฺตา อพนฺธนา.
ราคะ โทสะ และอวิชชา อันผู้ใดหลุดพ้นแล้ว,
ผู้นั้น เป็นผู้คงที่มีสายล่ามขาดแล้ว ไม่มีเครื่องผูก ย่อมไม่ติดในที่นั้น.
( นนฺทเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๑๒.
โย จ คุตฺเตน จิตฺเตน สุณาติ ชินสาสนํ
เขเปตฺวา อาสเว สพฺเพ สจฺฉิกตฺวา อกุปฺปตํ
ปปฺปุยฺย ปรมํ สนฺตึ ปรินิพฺพาติ อนาสโว.
ผู้ใดมีจิตคุ้มครองแล้ว ฟังคำสอนของพระชินเจ้า
ผู้นั้นชื่อว่าให้อาสวะทั้งปวงสิ้นไป ทำให้แจ้งซึ่งอกุปปธรรม,
บรรลุความสงบอย่างยิ่ง ไม่มีอาสวะ ย่อมดับสนิท.
( ยสทตฺตเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๒๓.
โย เตสุ คุตฺโต วิทิตินฺทฺริโย จเร ธมฺเม ฐิโต อชฺชวมทฺทเว รโต
สงฺคาติโค สพฺพทุกฺขปฺปหีโน น ลิมฺปตี ทิฏฺฐสุเตสุ ธีโร.
ผู้ใด ระมัดระวังอินทรีย์เหล่านั้น รู้จักอินทรีย์ ๖
ตั้งอยู่ในธรรมยินดีในความซื่อตรงและความอ่อนโยน
ล่วงกิเลสเครื่องข้องเสียได้ละทุกข์ได้ทั้งหมดเที่ยวไป,
ผู้นั้น เป็นธีรชน ย่อมไม่ติดในสิ่งที่เห็นแล้วและได้ฟังแล้ว.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๗๔.
โรสโก กทริโย จ ปาปิจฺโฉ มจฺฉรี สโฐ
อหิริโก อฺนตฺตปฺปี ตํ ชญฺญา วสฺโล อิติ.
ผู้ใดเป็นคนขัดเคือง เหนียวแน่น ปรารถนาลามก ตระหนี่
โอ้อวด ไม่ละอาย และไม่เกรงกลัวบาป พึงรู้ว่า ผู้นั้นเป็นคนเลว.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๕๑.
ลาภกมฺยา น สิกฺขติ อลาเภ จ น กุปฺปติ
อวิรุทฺโธ จ ตณฺหาย รเส จ นานุคิชฺฌติ.
บัณฑิตไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ, ไม่ขุ่นเคือง
เพราะเสื่อมลาภ, ไม่ยินดียินร้ายเพราะตัณหา และไม่ติดในรส.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๐๑. ขุ. มหา. ๒๙/ ๒๘๔.
สงฺขาย โลกสฺมิ ปโรปรานิ ยสฺสิญฺชตํ ขตฺถิ กุหิญฺจิ โลเก
สนฺโต วิธูโม อนีโฆ นิราโส อตาริ โส ชาติชรนฺติ พฺรูมิ.
ผู้ใดพิจารณาเห็นความยิ่งและหย่อนในโลกแล้ว
ไม่มีความหวั่นไหวในอารมณ์ไหน ๆ ในโลก,
เรากล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้สงบไม่มีกิเลสดุจควันไฟ
ไม่มีทุกข์ ปราศจากตัณหา ข้ามชาติชราได้.
( พุทฺธ ) องฺ. ติก. ๒๐/ ๑๖๙.
สพฺพทา เว สุขํ เสติ พฺราหฺมโณ ปรินิพฺพุโต
โย น ลิมฺปติ กาเมสุ สีติภูโต นิรูปธิ.
ผู้ใดเป็นผู้เยือกเย็น ไม่มีอุปธิ ไม่ติดในกาม,
ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ เป็นผู้ดับแล้ว อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๓๑๒.
สพฺพโส นามรูปสฺมึ ยสฺส นตฺถิ มมายิตํ
อสตา จ น โสจติ ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ.
ผู้ใดไม่มีความยึดถือว่าของเราในนามรูปโดยประการทั้งปวง
และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปที่ไม่มีอยู่ ,
ผู้นั้นแลท่านเรียกว่าภิกษุ.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๖๕.
สพฺพา อาสตฺติโย เฉตฺวา วิเนยฺย หทเย ทรํ
อุปสนฺโต สุขํ เสติ สนฺตึ ปปฺปุยฺย เจตโส.
ผู้ใดตัดความข้องทั้งปวงแล้ว บรรเทาความกระวนกระวายใจได้,
ผู้นั้น ถึงความสงบใจ เป็นผู้สงบระงับอยู่เป็นสุข.
( พุทฺธ ) องฺ. ติก. ๒๐/ ๑๗๕.
สพฺเพสุ กาเมสุ โย วีตราโค อากิญฺจญฺญํ นิสฺสิโต หิตฺวมญฺญํ
สญฺญาวิโมกฺเข ปรเมธิมุตฺโต ติฏฺเฐยฺย โส ตตฺถ อนานุยายี.
ผู้ใดปราศจากความติดในกามทั้งปวง ล่วงฌานอื่นได้แล้ว
อาศัยอากิญจัญญายตนฌาน น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อันประเสริฐ,
ผู้นั้นจะพึงในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ไม่มีเสื่อม.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๓๘. ขุ. จู. ๓๐/ ๑๓๓.
ส วีตราโค ส วิเนยฺย โทสํ เมตฺตจิตฺตํ ภาวเยฺย อปฺปมาณํ
สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ อนินฺทิโต พฺรหฺมมุเปติ ฐานํ.
ผู้ปราศจากราคะ และกำจัดโทสะได้แล้วนั้น พึงเจริญเมตตาจิต
ไม่มีประมาณ . ผู้นั้น งดอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่ถูกติเตียน
ย่อมเข้าถึงสถานอันประเสริฐ .
( สรภงฺคโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/ ๕๔๒.
โส อุภนฺตมภิญฺญาย มชฺเฌ มนฺตา น ลิมฺปติ
ตํ พฺรูมิ มหาปุริโสติ โส อิธ สิพฺพนิมจฺจคา.
ผู้ ( ดับกิเลสได้แล้วหมดความหวั่นไหว ) นั้น รู้ที่สุดทั้ง ๒ แล้ว
ย่อมไม่ติดในท่ามกลางด้วยปัญญา , เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นมหาบุรุษ
ผู้นั้นละตัณหาเครื่องเย็บร้อยใจในโลกนี้ได้แล้ว .
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๓๒. ขุ. จู. ๓๐/ ๓๕.
โสกปริเทวมจฺฉรํ น ชหนฺติ คิทฺธา มมายิเต
ตสฺมา มุนโย ปริคฺคหํ หิตฺวา อจรึสุ เขมทสฺสิโน.
ผู้ติดในสิ่งที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมละความโศกเศร้า
ความรำพัน และความตระหนี่ไม่ได้ เพราะฉะนั้น
มุนีทั้งหลายผู้เห็นความปลอดภัย จึงละความยึดถือไปได้.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๑๙๓. ขุ. มหา. ๒๙/ ๑๕๔.
โสจติ ปุตฺเตหิ ปุตฺติมา โคมิโก โคหิ ตเถว โสจติ
อุปธีหิ นรสฺส โสจนา น หิ โส โสจติ โย นิรูปธิ.
ผู้มีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร , ผู้มีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโค
เหมือนกัน , นรชนมีความเศร้าโศกเพราะอุปธิ, ผู้ใด ไม่มีอุปธิ
ผู้นั้นไม่ต้องเศร้าโศกเลย.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๙.
|